อวัยวะเพศของเด็กผู้ชายนั้น ควรมีองค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์มาตั้งแต่เกิด แพทย์มักจะแจ้งให้ผู้ปกครองทราบตั้งแต่ช่วงแรกเกิด ว่าอวัยวะเพศรวมไปถึงลูกอัณฑะของทารกนั้นมีความปกติดีหรือไม่ ซึ่งความผิดปกติที่นำมาเสนอในบทความนี้คือ ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง
ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง
ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง (Undescended Testicle) คือการที่ลูกอัณฑะไม่ได้อยู่ในถุงอัณฑะ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ความผิดปกตินี้พบไม่บ่อยนัก แต่ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีโอกาสตกอยู่ในภาวะนี้มากกว่าทารกที่คลอดตามกำหนด
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิดภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงนั้นยังไม่มีการยืนยันใดๆ แต่สิ่งที่สังเกตได้คือความผิดปกตินี้มักจะพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทางการแพทย์ได้ลงความเห็นถึงปัจจัยเสี่ยง 9 ประการที่อาจทำให้ทารกตกอยู่ในภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงได้ ดังนี้
- น้ำหนักแรกเกิดน้อย
- ความไม่สมบูรณ์เต็มที่ของเซลล์ต่างๆในร่างกายเมื่อทารกคลอดก่อนกำหนด
- ภาวะแทรกซ้อนที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ เช่นภาวะดาวน์ซีนโดรม (Down Syndrome) และความผิดพลาดของผนังหน้าท้องด้านใน
- บุคคุลในครอบครัวเคยตกอยู่ในภาวะนี้
- ผู้ปกครองมีการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช
- มารดาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์
- มารดาสูบบุหรี่หรือดมกลิ่นบุหรี่มากในขณะตั้งครรภ์
- มารดาเป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าปกติ
- มารดาเป็นโรคเบาหวาน
การสังเกต
แพทย์หรือแม้แต่ผู้ปกครองเองสามารถสังเกตภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงนี้ได้จากการที่คลำแล้วไม่พบลูกอัณฑะอยู่ในบริเวณถุงอัณฑะเลย แต่หากพบว่าลูกอัณฑะอยู่เหนือบริเวณถุงอัณฑะขึ้นไป หรือใกล้บริเวณหน้าขาก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะการที่ลูกอัณฑะอยู่ผิดที่ในลักษณะนี้จะสามารถย้ายกลับมาอยู่ในถุงอัณฑะตามปกติได้เอง
การรักษา
ในกรณีที่คลำแล้วแพทย์ไม่สามารถระบุตำแหน่งของลูกอัณฑะได้เลย อาจเป็นไปได้ว่าลูกอัณฑะนั้นมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติจึงยังคงฝังตัวอยู่ในท้องของทารก บางครั้งแพทย์จะค่อยๆลองดันบริเวณท้องน้อยของทารกเพื่อให้ลูกอัณฑะลงมาอยู่ในถุงห่อหุ้มตามที่ควรจะเป็น หากไม่สำเร็จ ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะแนะนำให้รอดูไปสักระยะก่อน เพราะประมาณร้อยละ 3 - 5 เปอร์เซ็นต์ของภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงนี้จะหายไปเองได้ภายใน 4 - 6 เดือน
แต่หากความผิดปกตินี้ยังไม่หายไปเองเมื่อเด็กมีอายุครบ 6 เดือน ผู้ปกครองควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อทำการผ่าตัด การผ่าตัดนั้นจะช่วยย้ายลูกอัณฑะจากท้องของเด็กไปอยู่ในถุงอัณฑะและยึดไว้เพื่อไม่ให้ย้ายกลับขึ้นไปที่บริเวณท้องได้อีก