การตรวจลูกอัณฑะ (Testicular Exams)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตรวจลูกอัณฑะ (Testicular Exams)

หนุ่มๆ อาจเคยสงสัยว่าทำไมแพทย์มักแนะนำให้มีการตรวจลูกอัณฑะ มาดูคำตอบจากบทความต่อไปนี้

เหตุใดต้องมีการตรวจลูกอัณฑะ

การตรวจร่างกายโดยทั่วไปจะเป็นการใช้อุปกรณ์ช่วยในการตรวจ เช่น เครื่องชั่งใช้ชั่งน้ำหนักตัว และเครื่องตรวจฟังใช้เพื่อฟังเสียงหัวใจของผู้ป่วย เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แพทย์จะทำการตรวจด้วยตาเปล่าและการคลำอวัยวะส่วนนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น แพทย์จะกดบริเวณท้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติของตับหรือม้าม นอกจากนี้แพทย์ยังตรวจคลำบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบเพื่อหาความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองหรือมีต่อมน้ำเหลืองโตหรือไม่ ซึ่งจะบอกได้ถึงการติดเชื้อและความผิดปกติอื่นๆ

เช่นเดียวกันกับบริเวณอัณฑะที่แพทย์จำเป็นต้องใช้มือตรวจคลำเพื่อให้แน่ใจว่าอัณฑะมีการเจริญเติบโตปกติดีและไม่พบความผิดปกติหรือก้อนเนื้อใดๆ บริเวณนั้น โดยมี 2 โรคที่อาจเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่น คือ โรคไส้เลื่อนและมะเร็งถุงอัณฑะ ซึ่งมะเร็งถุงอัณฑะยังพบน้อยมากในเด็กวัยรุ่น

โรคไส้เลื่อนคืออะไร

โรคไส้เลื่อนคือคือโรคที่อวัยวะภายในบางส่วนเกิดการเคลื่อนตัวออกจากช่องท้องไปยังบริเวณขาหนีบหรือถุงอัณฑะ สาเหตุของโรคเพราะผนังช่องท้องหย่อนยานไม่แข็งแรง และเมื่อบางส่วนของอวัยวะภายในเลื่อนไปติดอยู่ที่ถุงอัณฑะ มันจะไปปิดกั้นการไหลเวียนของโลหิตซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างรุนแรงได้หากไม่ได้รับการรักษา

แพทย์จะทำการตรวจด้วยการใช้นิ้วคลำบริเวณขาหนีบและอัณฑะ โดยแพทย์จะให้ผู้รับการตรวจไอในขณะที่แพทย์กดบริเวณนั้น หากมีไส้เลื่อนแพทย์จะพบส่วนที่โป่งนูนขึ้นมา และหากพบว่าเป็นโรคไส้เลื่อนจริงๆ แพทย์จะทำการรักษาให้หายเป็นปกติด้วยการผ่าตัด

มะเร็งถุงอัณฑะเป็นอย่างไร

มะเร็งถุงอัณฑะพบได้น้อยมากในวัยรุ่น โดยมะเร็งถุงอัณฑะจะพบได้มากกว่ากับผู้ชายวัย 20-34 ปี นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคุณจึงต้องได้รับการตรวจอัณฑะอยู่เป็นประจำ

การตรวจถุงอัณฑะ

แพทย์จะแนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจอัณฑะอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เมื่อตรวจแพทย์จะทำการตรวจลูกอัณฑะทีละข้าง และตรวจคลำเพื่อหาความผิดปกติ โดยสามารถตรวจได้แม้อัณฑะจะขยายและแข็งตัวขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ แพทย์จะสอนวิธีการตรวจอัณฑะด้วยตัวเองให้กับคุณด้วย เพื่อที่คุณสามารถตรวจเช็คด้วยตัวเองที่บ้านอย่างน้อยเดือนละครั้ง การตรวจเช็คร่างกายของตัวเองอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณสังเกตได้หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นและจะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีก่อนที่ก้อนที่พบจะกลายเป็นมะเร็งหากถูกทิ้งไว้โดยไม่รักษา

แม้การตรวจลูกอัณฑะอาจทำให้คุณรู้สึกแปลกๆ ไปบ้าง แต่มันไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่หรือน่ากังวลแต่อย่างใด และบางครั้งคุณอาจเกิดความรู้สึกทางเพศได้ในขณะที่แพทย์คลำบริเวณลูกอัณฑะซึ่งมันเป็นเรื่องปกติที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกเขินอายหรือเป็นกังวลว่าอาการดังกล่าวจะรบกวนการตรวจของแพทย์

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/testicles.html

 


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Testicular self-exam. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/003909.htm)
Testicular Exam: How To Do a Self-Exam & When To See a Doctor. WebMD. (https://www.webmd.com/men/testicular-exam#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)