กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ความผิดปกติของขากรรไกร

ความผิดปกติของขากรรไกรเกิดจากอะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 10 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความผิดปกติของขากรรไกร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ข้อต่อขากรรไกร เป็นข้อต่อเชื่อมต่อขากรรไกรล่างกับฐานของกระโหลกศีรษะ หากเกิดภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องได้
  • สาเหตุของขากรรไกรผิดปกติ หาสาเหตุที่แน่ชัดได้ยาก เพราะอาการเจ็บปวดบริเวณขากรรไกรอาจส่งผลมาจากหลายอย่าง เช่น กรรมพันธุ์ ภาวะข้อเสื่อม การได้รับอุบัติเหตุบริเวณขากรรไกร หรือมีการกัดเค้นฟันทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำให้ข้อต่อขากรรไกรองรับแรงมากขึ้น
  • ภาวะนี้มักเป็นเพียงชั่วคราว และหายได้ด้วยการประคับประคองตนเอง ปรับพฤติกรรม หรือรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด
  • อีกหนึ่งวิธีการรักษานั้น คือ การฉีดยาเข้าไปที่ข้อและการผ่าตัดที่ข้อ หรือการฉีด Botox เข้าไปที่กล้ามเนื้อบดเคี้ยว จะช่วยคลายกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการปวดที่เกิดที่ขากรรไกรได้ และยังทำให้ใบหน้าเปลี่ยนจากการที่กล้ามเนื้อขากรรไกรนั้นเล็กลงอีกด้วย
  • ดูแพ็กเกจผ่าตัดขากรรไกรได้ที่นี่

ข้อต่อขากรรไกร หรือ temporomandibular joint (TMJ) เป็นข้อที่มีการใช้งานมากที่สุดข้อหนึ่งในร่างกาย โดยข้อต่อนี้ทำให้คุณสามารถเปิดและปิดปาก และเยื้องคางไปทางด้านข้างหรือด้านหน้า ซึ่งจะช่วยให้คุณกินหรือพูดได้

ในทางกายวิภาคแล้วข้อต่อนี้เป็นข้อต่อที่มีความซับซ้อนและรวมกล้ามเนื้อหลายมัดที่ต้องทำงานประสานกันกับกระดูกอ่อนเพื่อช่วยให้การเคี้ยวนั้นมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับเวลาที่มีการพูด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การกัดเค้นฟัน (Bruxism)

การกัดเค้นฟัน เป็นความผิดปกติของขากรรไกรที่พบได้บ่อย ที่มักเกิดขึ้นในช่วงขณะนอนหลับ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในเวลากลางวันได้เช่นกัน เนื่องจากส่วนมากมักเกิดในช่วงระหว่างที่เรานอน ทำให้หลายคนไม่เคยสังเกตมาก่อนว่าตัวเองมีอาการดังกล่าว ยกเว้นว่าจะมีคนอื่นที่นอนห้องเดียวกันนั้นบอก 

ผู้ที่มีอาการกัดเค้นฟันนั้นมักจะตื่นมาในตอนเช้าพร้อมกับอาการตึงและเจ็บที่กล้ามเนื้อขากรรไกร ซึ่งหากมีอาการนี้นานๆ อาจทำให้เคลือบฟันนั้นถูกทำลาย ฟันโยก และทำให้ข้อขากรรไกรนั้นถูกทำลายในเวลาต่อมา บางคนอาจจะตรวจพบอาการนี้จากการตรวจฟันแล้วพบว่ามีการสึกของเคลือบฟัน

มีงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่พบว่าการทำงานของขากรรไกรที่ผิดปกตินั้นอาจจะกระตุ้นให้มีอาการปวดหัวได้และหากได้รับการรักษาที่เหมาะสม ก็จะทำให้อาการปวดหัวนั้นลดลง ดังนั้นหากคุณมีอาการปวดหัว แพทย์อาจจะทำการตรวจคลำบริเวณขากรรไกรในขณะที่คุณขยับปากในหลายทิศทาง ซึ่งบางครั้งอาจจะได้ยินเสียงระหว่างขยับได้ เสียงนั้นเกิดจากการที่มีการทำลายหรือมีการเรียงตัวของเส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของขากรรไกร 

หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้ขากรรไกรนั้นเกิดอาการค้างและปวดได้ จนกว่าจะแก้ไขให้เรียงตัวเข้าที่ซึ่งอาจจะต้องใช้การผ่าตัด อาการเหล่านี้สามารถเกิดจากการกัดเค้นฟัน การเคี้ยวอย่างรุนแรง การได้รับบาดเจ็บที่ขากรรไกร หรือในบางครั้งก็อาจจะไม่ทราบสาเหตุ

วิธีการรักษา

หนึ่งในวิธีการรักษาการทำงานของข้อขากรรไกรที่ผิดปกติ คือ การใส่เฝือกสบฟัน (Splint) ในตอนกลางคืนเพื่อป้องกันไม่ให้เคลือบฟันสึก ส่วนมากจะเป็นการใส่ที่ฟันบน เฝือกสบฟันเหล่านี้มีทั้งแบบมาตรฐานและแบบที่ทำขึ้นเฉพาะ ถึงแม้ว่าแบบที่ทำขึ้นเฉพาะนั้นจะแพงกว่าแต่ก็ดีกว่าเช่นกัน เพราะมักจะมีขนาดบางกว่าและใส่แล้วรู้สึกสบายกว่า และเหมาะสมกับฟันทำให้ฟันไม่โยกและไม่ทำให้การบาดเจ็บที่ขากรรไกรนั้นรุนแรงมากขึ้น และถึงแม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้มีปัญหาเรื่องการกัดเค้นฟัน คุณก็สามารถใส่ที่เฝือกสบฟันได้เช่นกันเพื่อป้องกันไม่ให้เคลือบฟันสึกและฟันโยก

อีกหนึ่งวิธีการรักษานั้น คือ การฉีดยาเข้าไปที่ข้อและการผ่าตัดที่ข้อ หรือการฉีดสาร Botox เข้าไปที่กล้ามเนื้อบดเคี้ยวซึ่งสามารถช่วยคลายกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการปวดที่เกิดที่ขากรรไกรได้ และยังทำให้ใบหน้าเปลี่ยนจากการที่กล้ามเนื้อขากรรไกรนั้นเล็กลงอีกด้วย อย่างไรก็ตามการได้รับ Botox ในปริมาณที่มากเกินไปนั้นจะทำให้ขากรรไกรนั้นอ่อนแอลง และส่งผลให้มีปัญหาเวลาเคี้ยวอาหารที่เหนียว เช่น สเต็ก เป็นต้น


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. TEMPOROMANDIBULAR DISORDERS. (http://www.occlusion.dent.chula.ac.th/TMD.pdf)
Gauer RL, Semidey MJ. Diagnosis and treatment of temporomandibular disorders. Am Fam Physician. 2015 Mar 15;91(6):378-86.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม