การคุยกับเด็ก ๆ เกี่ยวกับความตาย

คำแนะนำเพื่อช่วยให้ลูกของคุณเข้าใจและจัดการกับความเป็นจริงในเรื่องความตายได้
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การคุยกับเด็ก ๆ เกี่ยวกับความตาย

เมื่อถึงเวลาหนึ่ง พ่อแม่หรือผู้ปกครองทุกคนหวังว่าจะมีทางที่สามารถปฏิบัติได้ในการที่จะป้องกันเด็กน้อยจากความเจ็บปวดของชีวิต แต่แม้ว่าเราจะอยากให้เป็นอย่างอื่นมากแค่ไหนก็ตาม แต่ความเป็นจริงของชีวิตและการสูญเสียก็ไม่สามารถถูกเพิกเฉยได้  

พ่อแม่และผู้ปกครองจำนวนมากจึงสงสัยว่าจะพูดคุยในหัวข้อการตายกับเด็กเมื่อจำเป็นได้อย่างไร ไม่ว่าจะเกิดจากการสูญเสียสมาชิกในครอบครัว ญาติสนิท หรือเพื่อนอย่างฉับพลัน  

คุยกับเด็กอย่างซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา

แม้ว่าคุณอาจรู้สึกอยากใช้คำที่ “เบากว่า” กับลูกเมื่ออธิบายหลักการของความตาย คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่นุ่มนวลสละสลวย โดยเฉพาะกับเด็กที่อายุประมาณหกขวบหรือน้อยกว่านั้น 

พ่อแม่คนใดก็ตามที่รู้สึกเสียใจที่ต้องบอกลูกที่นั่งอยู่หลังรถว่าพวกเขาจะไปถึงที่นั่น “เร็วๆนี้” จะได้ยินแค่ว่า “แล้วเราไปถึงที่นั่นกันหรือยัง” ในอีกหกสิบวินาทีถัดมา ต้องเข้าใจว่าเด็กเล็กจะตีความสิ่งที่พวกเขาได้รับคำบอกอย่างตรงตัวเท่านั้น 

ดังนั้นการอธิบายความตายของปู่ย่าโดยการบอกเด็กว่าเขาหรือเธอเพียงแค่ “หลับไป” หรือ “เดินทางไกล” ก็มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้เกิดคำถามอื่นตามมา เช่น “แล้วเขาจะตื่นเมื่อไหร่” หรือ “แล้วเธอจะกลับมาเมื่อไหร่”

ยิ่งไปกว่านั้น การพูดอ้อมค้อมเกี่ยวกับความตายสามารถทำให้การตอบสนองต่อความเศร้าของลูกของคุณยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก โดยการทำให้เกิดความกลัวโดยไม่จำเป็นจากการที่เด็กนำสิ่งที่ได้รับจากคำบอกเล่าไปประมวลต่อ

การใช้ถ้อยคำที่นุ่มนวลดังตัวอย่างเช่น “เราสูญเสียคุณย่าไป” อาจทำให้ลูกชายหรือลูกสาวของคุณกังวลในภายหลังว่าคนที่เขารักจะหายไปทุกครั้งที่เขาหรือเธอได้ยินว่าใครสักคนกำลังไปไหน 

เช่นเดียวกัน การบอกเด็กว่าสมาชิกในครอบครัวที่ตายไปแล้ว “กำลังหลับยาวอยู่” อาจทำให้ลูกของคุณรู้สึกกลัวทุกครั้งที่คุณบอกเขาหรือเธอว่าถึงเวลานอนแล้ว 

ฟังความคิดเห็นของเด็ก แล้วค่อยตอบ

ไม่ว่าผู้เป็นที่รักจะตายหลังจากความเจ็บป่วยที่เป็นมานาน หรืออาจเป็นไปโดยไม่คาดฝันจากอุบัติเหตุจราจร คุณควรถามลูกของคุณก่อนว่าเขาหรือเธอรู้สถานการณ์ในตอนนั้นอย่างไรบ้าง 

เด็กมักรับรู้ได้มากกว่าที่ผู้ใหญ่คิดอย่างน่าประหลาดใจ จากการฟังว่าลูกของคุณรู้อะไรบ้าง หรือคิดว่าเขาหรือเธอรู้อะไรบ้าง หลังจากนั้นคุณสามารถบอกเล่าเรื่องการตายอย่างย่อๆ ที่ให้รายละเอียดมากเท่าที่คุณรู้สึกว่าลูกของคุณต้องการหรือสามารถรับได้ 

ในขณะที่กล่าวถึงคำถามเริ่มต้นหรือความเข้าใจผิดใด ๆ ของเขาหรือเธอในตอนต้นด้วย

ความสามารถของเด็กในการเข้าใจแนวคิดของการตายนั้นมีแตกต่างไปตามอายุ ดังนั้นคุณควรอธิบายความตายในลักษณะที่เหมาะสมกับอายุแต่ทว่าซื่อสัตย์ โดยทั่วไปแล้ว 

การบอกเด็กอายุหกขวบหรือต่ำกว่าว่าร่างกายของคน “หยุดทำงาน” และ “ซ่อมไม่ได้” นั้นได้ผล เด็กหกถึงสิบขวบมักเข้าใจเรื่องการสิ้นสุดของความตายได้บางส่วนแล้ว แต่มักจะยังกลัวว่าความตายเป็น “อสุรกาย” หรือในบางครั้งก็ “ติดต่อได้” ดังนั้นคำอธิบายของคุณควรรวมถึงการรับรองว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นด้วย

เด็กที่อายุใกล้จะเป็นวัยรุ่นหรือวัยรุ่นมักเริ่มเข้าใจธรรมชาติที่เป็นนิรันดร์ของการตาย แต่ยังคงเริ่มถามเกี่ยวกับ “คำถามอันยิ่งใหญ่” เกี่ยวกับความตายและความหมายของชีวิต

หลังจากฟังลูกของคุณและให้คำอธิบายที่ซื่อตรงเกี่ยวกับสถานการณ์แล้ว คุณควรอนุญาตให้ลูกถามคำถามคุณด้วย หากเขาหรือเธออยากถาม เด็กที่อายุน้อยกว่ามักถามคำถามที่ดูจะขึ้นอยู่กับความเป็นจริง เช่น แล้วตอนนี้คนที่เรารักอยู่ที่ไหน หรือสัตว์เลี้ยงจะขึ้นสวรรค์ด้วยหรือไม่ 

คุณควรตอบคำถามเหล่านี้อย่างซื่อตรงและอดทน รวมทั้งเตรียมพร้อมสำหรับการถามคำถามคล้าย ๆ กันของลูกในอีกไม่กี่วันหรือสัปดาห์ถัดไป เด็กที่อายุมากกว่าเช่นวัยก่อนวัยรุ่นและวัยรุ่นอาจไม่ถามคำถามอะไรในตอนแรก แต่คุณควรประกาศให้ชัดว่าคุณพร้อมจะคุยด้วยเมื่อไรก็ตามที่เขาหรือเธอต้องการ 

เป็นพ่อแม่ แต่ปล่อยให้ลูกของคุณยังคงเป็นเด็กต่อไป

สุดท้ายนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ว่าพ่อแม่ หลายคนมักมุ่งประเด็นไปยังความกังวลและความเศร้าของพวกเขามากเกินไป และสามารถสูญเสียการมองความเป็นจริงที่ว่าเด็กไม่ใช่พวกเขาในรูปแบบที่ตัวเล็กกว่า 

พูดอีกอย่างคือ เพียงแค่เพราะคุณคิดอยู่ตลอดเกี่ยวกับการตายของผู้เป็นที่รัก อย่าคิดว่าลูกของคุณจะคิดถึงการสูญเสียอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน เด็กๆ โดยเฉพาะที่อายุยังน้อยมีคุณสมบัติเด่นชัดในการมุ่งความสนใจในสิ่งหนึ่งอย่างจริงจังเพียงหนึ่งนาที และหัวเราะหรือเล่นโดยละทิ้งสิ่งนั้นไปโดยสิ้นเชิงในนาทีถัดไป

ดังนั้น ในฐานะพ่อแม่ คุณควรหลีกเลี่ยงการแสดงความเสียใจของคุณไปยังลูก ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรก็ตาม พยายามประเมินอย่างซื่อสัตย์ว่าข่าวหรือการตายมีผลต่อลูกอย่างไร 

สังเกตการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือพฤติกรรม เช่น การแสดงออก ความต้องการการสัมผัสหรือการกอดที่มากขึ้น ปัญหาในการนอนหลับ การตื่นกลัวที่กำเริบ หรือคำบ่นเกี่ยวกับสุขภาพทางเดินอาหาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณว่าลูกของคุณจัดการกับการสูญเสียอย่างไม่มีประสิทธิภาพ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)