กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การรับประทานยาลดความดันโลหิตก่อนนอนนั้นอาจจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจขาดเลือดได้มากกว่า

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การรับประทานยาลดความดันโลหิตก่อนนอนนั้นอาจจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจขาดเลือดได้มากกว่า

ร่างกายมนุษย์มีช่วงเวลาต่างๆ เป็นของตนเอง ดังนั้นการรับประทานยาบางชนิดให้จำเพาะต่อบางช่วงเวลาจึงอาจทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น มีการศึกษาบางชิ้นที่พบว่าการรับประทานยาลดความดันโลหิตในช่วงเวลากลางคืนนั้นอาจจะช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้นและป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดและเส้นเลือดสมองได้มากกว่าการรับประทานยาดังกล่าวในเวลากลางวัน

งานวิจัยชิ้นหนึ่งในประเทศสเปนได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในผู้ป่วยชายและหญิงจำนวน 661 คนที่เริ่มมีภาวะไตเสื่อม และมีการรับประทานยาความดันโลหิตอย่างน้อย 1 ชนิด ผู้เข้าร่วมงานวิจัยครึ่งหนึ่งนั้นจะรับประทานยาในช่วงกลางวัน ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งนั้นจะรับประทานยาลดความดันอย่างน้อย 1 ตัวก่อนเข้านอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การศึกษานี้ใช้เวลาติดตามผู้ป่วยประมาณ 5.5 ปี พบว่ากลุ่มที่รับประทานยาความดันโลหิตอย่างน้อย 1 ชนิดในช่วงก่อนนอนนั้นสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีกว่า และยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมอง หรือหัวใจวายลดลงประมาณ 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาในช่วงกลางวัน

ในคนส่วนใหญ่ ความดันโลหิตนั้นจะเริ่มสูงขึ้นในช่วงก่อนที่จะลุกออกจากที่นอนในตอนเช้าและสูงที่สุดในช่วงกลางวัน ก่อนที่จะลดต่ำลงในช่วงเวลานอน และต่ำที่สุดในช่วงเที่ยงคืนถึงประมาณ 3.00 – 4.00 นาฬิกา แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้นพบว่ามักจะไม่มีความดันลดต่ำลงในช่วงเวลาดึงกล่าว ซึ่งอาจเกิดจากการที่ยาซึ่งรับประทานในตอนเช้านั้นหมดฤทธิ์

ดังนั้นการรับประทานยาลดความดันจึงอาจจะต้องรับประทานในช่วงเวลาอื่นที่ไม่ใช่ตอนเช้าเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

ในการเลือกช่วงเวลาที่จะรับประทานยานั้น คุณควรจะเลือกช่วงเวลาที่คุณจะสามารถรับประทานยาได้สม่ำเสมอในทุกๆ วัน

หากคุณรับประทานยาเพียง 1 ชนิด ควรสอบถามแพทย์ว่าสามารถรับประทานยาในช่วงก่อนนอนได้หรือไม่ หรือถ้าหากรับประทานยามากกว่า 1 ชนิด เป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับประทานยาอย่างน้อยชนิดหนึ่งในช่วงก่อนนอน

อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรปรับเปลี่ยนการรับประทานยาดังกล่าวด้วยตัวคุณเอง เนื่องจากแพทย์อาจมีเหตุผลในการเลือกช่วงเวลาต่างๆ ในการรับประทานยาของคุณ เช่นในผู้สูงอายุ จำเป็นจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการรับประทานยาในช่วงก่อนนอนเพราะหากมีการลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็วในกลางดึกนั้นอาจจะทำให้ความดันลดต่ำลงอย่างรวดเร็วและหกล้มได้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Taking blood pressure pills at bedtime may prevent more heart attacks, strokes. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/taking-blood-pressure-pills-at-bedtime-may-prevent-more-heart-attacks-strokes-201110253668)
Could blood pressure tablets be more effective if taken at bedtime?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/medication/could-blood-pressure-tablets-be-more-effective-if-taken-bedtime/)
Best Time of Day to Take Blood Pressure Medications. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/the-best-time-of-day-to-take-blood-pressure-medications-1764094)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้

ยา Dopamine (โดปามีน) ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นในขณะที่หัวใจล้มเหลว ช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตได้

อ่านเพิ่ม
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

หากอยากรู้ว่า อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นไหน ทำงานอย่างไร ต้องไม่พลาดบทความนี้

อ่านเพิ่ม