สิวหิน เกิดจากอะไร รวมข้อมูลเกี่ยวกับสิวหินที่หลายคนยังไม่รู้

สิวหิน ปัญหาสิวที่พบได้บ่อย ไม่มีอันตราย แต่อาจทำให้บางคนรู้สึกไม่มั่นใจได้ ปัจจุบันมีหลากหลายวิธีรักษาและกำจัดสิวหินที่ปลอดภัย ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการรักษา
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
สิวหิน เกิดจากอะไร รวมข้อมูลเกี่ยวกับสิวหินที่หลายคนยังไม่รู้

สิวหิน (Syringoma) เป็นเนื้องอกของต่อมเหงื่อ เกิดจากเซลล์จากต่อมเหงื่อที่เจริญมากกว่าปกติ มักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า แก้ม โดยเฉพาะบริเวณใต้ตา หรืออาจพบบริเวณรักแร้ คอ อก หน้าท้อง อวัยวะเพศ

สิวหินเป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่อันตราย ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือคัน และไม่กลายเป็นมะเร็ง แต่อาจมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนทำให้เกิดความกังวลใจ ทั้งด้านสุขภาพและความงาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาสิว ลดรอยสิววันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 93%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สิวหินมักพบในชาวเอเชีย สามารถเกิดได้กับทุกเพศและช่วงอายุ แต่จะพบมากในอายุประมาณ 25-40 ปี

ลักษณะของสิวหิน

สิวหิน เป็นตุ่มเล็กๆ สีขาวหรือสีเนื้อ ขนาดประมาณ 1-3 มิลลิเมตร มักเกิดขึ้นทั้งสองซีกของร่างกาย เช่น บริเวณใต้ตา และแก้มทั้งสองข้าง ซึ่งจะเรียงตัวเป็นกลุ่มในลักษณะคล้าย ๆ กัน

สาเหตุของสิวหิน

ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าสิวหินเกิดจากสาเหตุอะไร อาจมาจากพฤติกรรมต่างๆ ที่กระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อ มีการสร้างเซลล์ซึ่งนำไปสู่การเกิดเป็นเนื้องอก

นอกจากนี้ อาจมีปัจจัยด้านพฤติกรรมมาเกี่ยวข้อง เช่น พันธุกรรมในครอบครัว ภาวะดาวน์ซินโดรม เบาหวาน กลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan’s syndrome) โรคหนังยืดผิดปกติ (Ehlers-Danlos syndrome)

การรักษาสิวหิน

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า สิวหินไม่มีอันตราย ดังนั้นอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่ผู้ที่มีสิวหินเกิดบริเวณใบหน้า อาจทำให้ขาดความมั่นใจ มักต้องการรักษาด้วยเหตุผลด้านความงาม ซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • ใช้ไตรคลอแอซิติก 50% (50% Trichloroacetic acid) หยดลงบนสิวหิน ทำทุก 2-3 สัปดาห์ กรดจะทำให้ตุ่มแบนราบลงได้
  • รับประทานยาไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) แต่ยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงที่รุนแรงหากใช้ผิดวิธี จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้นจึงจะสามารถใช้ได้
  • รักษาด้วยเลเซอร์ วิธีนี้แพทย์ส่วนใหญ่มักแนะนำให้ใช้ เนื่องจากได้ประสิทธิภาพสูง และมีความเสี่ยงน้อย
  • บำบัดด้วยความเย็นจัด (Cryotherapy) เป็นการใช้ความเย็นจากไนโตรเจนเหลว เพื่อยับยั้งการเจริญของรอยโรค
  • รักษาด้วยการกรอผิวหนัง (Dermabrasion) เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมที่ผิวหนังชั้นบน
  • ใช้ไฟฟ้าจี้ (Electric cauterization)
  • ใช้ไฟฟ้าจี้และถูบริเวณรอยโรค (Electrodesiccation with curettage)
  • รักษาด้วยการผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม สิวหิน นั้น เมื่อรักษาแล้วก็ยังสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ การปรับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เช่น ป้องกันผิวจากสารเคมี ป้องกันรังสี UV รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีแลอีสูง จะสามารถป้องกันการเกิดสิวหินใหม่

สำหรับผู้ที่มีสิวหินเกิดขึ้น ทำให้เกิดความกังวล ขาดความมั่นใจ ต้องการกำจัดสิวหินอย่างปลอดภัยที่สุด ควรปรึกษาแพทย์


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศ. ดร. นพ. ธัมม์ทิวัตถ์ นรารัตน์วันชัย, สิวหิน (http://anti-aging.mfu.ac.th/admin/uploadCMS/research/AzWed10325.pdf\).
คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ยารักษาสิว Isotretinoin อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/13/ยารักษาสิว-isotretinoin-อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม/?fbclid=IwAR24zecKOhRb0UUfwzsGgezTKbagzBdvn-aJLbtovLKV9L2Hr92A-43OAVY), 26 มีนาคม 2553.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)