อาการของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

ผู้ป่วยมักอธิบายโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าว่าเป็น อาการปวดรุนแรงร้าวไปตามใบหน้าปวดเหมือนกับเข็มแทงหรือไฟช็อตกินระยะเวลาไม่นาน แต่เกิดอย่างฉับพลันเมื่อสัมผัสโดนใบหน้า หรือทำกิจกรรมง่าย ๆ

อาการที่สำคัญของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า คือ อาการปวดรุนแรงอย่างฉับพลันร้าวไปตามใบหน้าปวดเหมือนกับเข็มแทงหรือไฟช็อต ซึ่งกินเวลาไม่นานตั้งแต่ไม่กี่วินาทีไปจนถึงประมาณสองนาทีเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความเจ็บปวดมักถูกอธิบายว่าเป็นความรู้สึกปวดรุนแรงและมีลักษณะเฉพาะคล้ายกับการถูกไฟฟ้าดูด อาการปวดกำเริบอาจรุนแรงมากจนคุณไม่สามารถทำอะไรได้ในระหว่างนั้น และความเจ็บปวดบางครั้งอาจรุนแรงจนทำให้คุณต้องทรุดตัวลงอย่างกระทันหัน

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้ามักจะมีผลต่อด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า น้อยกรณีที่อาจส่งผลต่อทั้งสองด้านของใบหน้าได้ แม้ว่าจะไม่เกิดในเวลาเดียวกันก็ตาม ความเจ็บปวดมักร้าวไปถึงบริเวณตัวฟัน ขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบน บริเวณแก้ม และไม่ค่อยพบอาการปวดบริเวณหน้าผาก หรือรอบดวงตา

ในบางครั้ง คุณอาจรู้สึกได้ว่าจะเกิดอาการปวดกำเริบขึ้นได้แม้ว่าส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการปวดกำเริบขึ้นโดยไม่คาดคิดก็ตาม หลังจากที่อาการปวดอย่างรุนแรงครั้งแรกบรรเทาลง คุณอาจยังรู้สึกปวดเพียงเล็กน้อยหรือรู้สึกแสบร้อน นอกจากนี้ยังสามารถอาจเกิดอาการปวดหน่วง ๆ  ปวดเมื่อย หรือรู้สึกปวดแสบปวดร้อนในระหว่างช่วงอาการกำเริบได้อีกด้วย

คุณอาจเกิดอาการเจ็บปวดกำเริบเป็นประจำเป็นเวลาหลายวัน หลายสัปดาห์หรือหลายเดือน และเป็นไปได้ว่าจะมีช่วงที่อาการปวดจะหายไปอย่างสมบูรณ์และไม่เกิดขึ้นอีกเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปีซึ่งเรียกว่า ช่วงระยะไม่มีอาการ (remission) อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่รุนแรง อาการปวดกำเริบนั้นอาจเกิดขึ้นได้หลายร้อยครั้งต่อวันและอาจไม่มีช่วงเวลาที่ไม่มีอาการเลย

สิ่งกระตุ้นอาการปวดกำเริบ

การปวดกำเริบของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า สามารถเกิดจากการกระทำหรือการเคลื่อนไหวบางอย่าง เช่น:

  • การพูด
  • การยิ้ม
  • การเคี้ยว
  • การแปรงฟัน
  • การล้างหน้าของคุณ
  • การสัมผัสเบา ๆ
  • การโกนหนวด หรือแต่งหน้า
  • การกลืน
  • การจูบ
  • สัมผัสลมเย็นหรือลมจากเครื่องปรับอากาศ
  • การส่ายหัว
  • การสั่นสะเทือนบางอย่าง เช่น จากการเดินหรือนั่งรถยนต์

อย่างไรก็ตาม บางกรณีความเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้นใด ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัญหาของอาการปวดเส้นประสาทใบหน้า

การใช้ชีวิตกับโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าอาจเป็นเรื่องยากมาก และคุณภาพชีวิตของคุณอาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ

คุณอาจอยากจะหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การล้างหน้า การโกนหนวด หรือแม้แต่การรับประทานอาหารเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด และนั่นอาจทำให้คุณต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ไปด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องพยายามใช้ชีวิตตามปกติและต้องตระหนักว่าการขาดสารอาหารหรือขาดน้ำจะทำให้อาการเจ็บปวดแย่ลง

ความเครียดทางอารมณ์ของการมีชีวิตอยู่กับอาการปวดซ้ำซากอาจนำไปสู่ปัญหาทางจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้า ในช่วงที่มีอาการปวดมากบางคนอาจคิดถึงการฆ่าตัวตาย และแม้ในขณะที่ไม่มีความเจ็บปวดคุณก็ยังอยู่ด้วยความวิตกกังวลว่าความเจ็บปวดนั้นจะกลับมาเมื่อใด

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

คุณควรจะไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณ หากคุณพบอาการปวดบ่อยๆ หรือเป็นประจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยาแก้ปวดง่าย ๆ เช่นยาพาราเซตามอลหรือยาไอบูโพรเฟนนั้นไม่บรรเทาอาการและทันตแพทย์ได้ตรวจช่องปากแล้วไม่พบว่าอาการปวดมาจากสาเหตุทางทันตกรรมใด ๆ

แพทย์ประจำตัวของคุณจะพยายามระบุปัญหาด้วยการซักถามเกี่ยวกับอาการของคุณ และตัดภาวะทางการแพทย์อื่นที่อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดของคุณ โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า อาจเป็นโรคที่ยากในการวินิจฉัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรพยายามอธิบายอาการของคุณอย่างถูกต้อง และลงรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/trigeminal-neuralgia#symptoms


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Trigeminal neuralgia: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/160252)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)