ออกกำลังกายในน้ำช่วงตั้งครรภ์ดีอย่างไร

ประโยชน์และข้อควรระวังของการออกกำลังกายใต้น้ำขณะกำลังตั้งครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ออกกำลังกายในน้ำช่วงตั้งครรภ์ดีอย่างไร

การออกกำลังกายไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดก็ตาม ล้วนมีผลดีต่อสุขภาพร่างกายทั้งสิ้น ทั้งนี้หากเป็นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรเน้นการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และเพิ่มความระมัดระวังให้มาก ควรจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ หรือหาข้อมูลที่มากพอในการออกกำลังกาย แต่มีการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่สามารถทำได้ ปลอดภัย และร่างกายไม่เหนื่อยมากด้วย นั้นคือการออกกำลังกายในน้ำนั่นเอง

ข้อดีของการออกกำลังกายในน้ำ

การออกกำลังกายในน้ำเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในเมืองไทย เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่าง ดังนี้   

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ไม่ทำให้ข้อต่อต่างๆ ได้รับแรงกระแทก เพราะมีน้ำเป็นตัวช่วยรองรับน้ำหนักตัว 
  • การเดินในสระว่ายน้ำ หรือการลอยตัวแล้วตีขาเบาๆ เพื่อพยุงตัว ก็ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี 
  • เป็นผลดีทั้งตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และทารกที่อยู่ในครรภ์
  • ได้ออกกำลังกายหลายส่วนพร้อมกัน
  • รู้สึกผ่อนคลาย 

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายในน้ำ

  1. ควรสอบถามกับคุณหมอที่ไปฝากครรภ์ว่า สภาพร่างกายของคุณแม่นั้นพร้อมที่จะออกกำลังกายในน้ำหรือไม่ เพราะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์บางคนอาจจะมีร่างกายที่อ่อนแอเกินไป
  2. การออกกำลังกายในน้ำ ไม่จำเป็นต้องเป็นการว่ายน้ำเสมอไป แค่การเดินไปเดินมาโดยเกาะขอบสระว่ายน้ำ ก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกายที่ดีแล้ว การว่ายน้ำในขณะที่ยังตั้งครรภ์อยู่อาจมีอันตราย (สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์บางท่านที่มีร่างกายไม่แข็งแรง) ดังนั้นหากอยากว่ายน้ำเหมือนตอนที่ยังไม่ตั้งครรภ์ แนะนำว่าลองสอบถามคุณหมอที่เราไปฝากครรภ์ก่อนดีกว่า
  3. การออกกำลังกายในน้ำทุกครั้งควรมีผู้เชี่ยวชาญ หรือครูฝึก อยู่ด้วยเสมอ เพราะโอกาสเกิดตระคริวขณะอยู่ในน้ำจะมีสูง
  4. อายุครรภ์ที่มากขึ้นก็ส่งผลให้การออกกำลังกายในน้ำต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น
  5. ควรเพิ่มความระมัดระวังในขณะลงหรือขึ้นจากสระให้มาก

ทั้งนี้เวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกายในน้ำก็อยู่ที่ 20-60 นาที หรือหากต้องการเล่นน้ำต่อ เช่น นอนลอยตัวก็สามารถทำได้ เพราะเป็นการพักผ่อนที่สบายตัวมากๆ เช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Daniel Bubnis, Exercise tips for pregnancy (https://www.medicalnewstoday.c...), 26 May 2017
American College of Obstetricians and Gynecologists. Exercise during pregnancy and the postpartum period.
ACOG Technical Bulletin 189. Washington, D.C.: American College of Obstetricians and Gynecologists, 1994.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)