กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การอาบแดดขณะตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การอาบแดดขณะตั้งครรภ์

การมีผิวสีแทนเคยเป็นหนึ่งในลักษณะที่ถูกมองว่าสุขภาพดี แต่ก็ไม่สามารถปกปิดสีผิวที่แท้จริงไปได้ และเมื่อรวมกับว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ ทำให้การอาบแดดมีอันตรายมากขึ้น ปัญหาก็คือการได้รับแสงแดดเป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้เราได้รับวิตามินดี ซึ่งจำเป็นต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นเราจึงต้องหาวิธีที่จะทำให้ได้รับวิตามินดีตามต้องการโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงจากการโดนแสงแดดมากเกินไป

ความเสี่ยงของการอาบแดดระหว่างตั้งครรภ์

นอกจากความเสี่ยงของการอาบแดดตามปกติแล้ว (เช่นผิวไหม้, เป็นมะเร็งผิวหนังและอื่น ๆ) การอาบแดดระหว่างตั้งครรภ์ยังจะเพิ่มความเสี่ยงดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • การได้รับแสงแดดสามารถเพิ่มระดับอุณหภูมิกายของหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ได้ ทำให้มีการขาดน้ำได้ง่ายขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดอาการของการคลอดก่อนกำหนด และยังทำให้อุณหภูมิของทารกเพิ่มสูงขึ้นซึ่งอาจส่งผลให้มีการทำลายสมองหากอุณหภูมิดังกล่าวสูงเกินไปและคงอยู่นานเพียงพอ
  • ระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายโดยเฉพาะเอสโตรเจนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดกระบนใบหน้าเมื่อโดนแดดและรังสี UV จุดเหล่านี้มักเกิดที่บริเวณหน้าผาก และจมูก และอาจจะหายไปหรือไม่หายหลังจากการตั้งครรภ์ก็ได้
  • การโดนแสดงแดดโดยเฉพาะเมื่อเกิดอาการผิวไหม้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเม็ดสี

การทำให้ผิวเป็นสีแทนแบบเทียม

คำตอบง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการมีผิวสีแทนอาจเป็นการอาบแดดแบบเทียม  เนื่องจากเมื่อพิจารณาแล้วพบว่าการทารองพื้นก่อน และตัวผู้อาบแดดนั้นมักจะอยู่ระยะสั้นและยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดโดยเฉพาะต่อการตั้งครรภ์ ทำให้อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการอาบแดด

แพทย์หลายคนไม่เห็นด้วยกับการใช้วิธีนี้และแนะนำให้หลีกเลี่ยงการอาบแดดเทียมเช่นเดียวกับการอาบแดด

การทารองพื้นก่อนอาบแดดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุณหภูมิที่สูงเกินไปที่เกิดจากการได้รับแสงแดดตามธรรมชาติ แต่อาจจะยังคงทำให้มีความเสี่ยงต่อปัญหาของผิวหนังในหญิงตั้งครรภ์และปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการได้รับแสงแดดเหมือนเดิม รังสี UV ที่ส่งออกมาจากเครื่องอาบแดดเทียมนั้นยังเพิ่มความเสี่ยงในการเพิ่มอายุให้กับผิว ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังตามมา

ทางเลือกอื่นของการอาบแดดมีอะไรบ้าง?

การใช้ครีมทาผิวสีแทนหรือโลชั่นถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในฤดูร้อนและฤดูหนาว สารที่ออกฤทธิ์หลักในครีมเหล่านี้คือ Dihydroxyacetone (DHA) ซึ่งจะถูกดูดซึมทางผิวหนัง การได้รับสารนี้ที่ผิวหนังจะทำให้ร่างกายดูดซึมและผ่านเข้าสู่ทารกได้ โดยปริมาณที่ผ่านเข้าไปนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นกับปริมาณที่ใช้ ความถี่ และผิวหนังมีแผลเปิดหรือไม่ นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังไม่ช่วยป้องกันรังสี Ultraviolet จากแสงแดด ดังนั้นจึงยังต้องมีการใช้ครีมกันแดดร่วมกับการใช้ครีมเหล่านี้เพื่อให้มีการป้องกัน

คำแนะนำที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการถูกแสงแดดในผู้หญิงตั้งครรภ์

คำถามที่ใหญ่ที่สุดในช่วงสุดท้ายก็คือคำถามที่ต้องการคำตอบตามแต่ละบุคคล เพราะแม้ว่าจะมีงานวิจัยและคำเตือนออกมาหลายปีแต่ก็ยังมีคนหลายล้านคนที่ชื่นชอบการอาบแดด และในกลุ่มคนเหล่านี้ก็มักจะพบว่าการตั้งครรภ์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความชอบของพวกเขา ดังนั้นการทำความเข้าใจกับข้อควรระวังและความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

ข้อควรระวังที่สำคัญที่สุดก็คือต้องดื่มน้ำให้เพียงพอและจำกัดการออกแดดให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินไปและใช้ครีมกันแดดที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการทำลายผิวหนังของคุณ

  • หลีกเลี่ยงช่วงกลางวัน
  • ใส่เสื้อผ้าที่เบา สบาย คลุมผิวหนัง
  • สวมหมวกขนาดใหญ่และแว่นกันแดดเพื่อป้องกันตา หู และใบหน้า
  • ทาครีมกันแดดที่เหมาะสมและได้รับอนุมัติให้ใช้ระหว่างการตั้งครรภ์

ปรึกษาแพทย์หรือผดุงครรภ์เกี่ยวกับการรับประทานวิตามินดีเสริม


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
verywellfamily.com, Sun tanning while pregnant (https://www.verywellfamily.com/sunbathing-in-pregnancy-2753106)
americanpregnancy.org, Sun tanning while pregnant (https://americanpregnancy.org/is-it-safe/tanning-during-pregnancy/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม