กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Skin Nodule (ตุ่มนูนบนผิวหนัง)

เผยแพร่ครั้งแรก 4 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ตุ่มนูนบนผิวหนัง คือการโตขึ้นอย่างผิดปกติของเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง สามารถเกิดขึ้นในส่วนของเนื้อเยื่อผิวหนังที่ลึกลงไป หรือเกิดขึ้นบนอวัยวะภายในร่างกายก็ได้ เช่น บนต่อมไทรอยด์หรือต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น 

การเกิดก้อนนูนบนผิวหนังอาจทำให้ผู้ที่เป็นเข้าใจผิดคิดว่าตนเองมีภาวะอื่นๆ เช่น ก้อนซีสต์ เป็นโรคพุพอง หรือเป็นหนอง บริเวณที่มักเกิดตุ่มนูนขึ้นบ่อยๆ ได้แก่ รักแร้ ขาหนีบ ศีรษะ ลำคอ เส้นเสียง ต่อมไทรอยด์ และปอด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตุ่มนูนบนผิวหนัง แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ดังนี้

  • ตุ่มนูนที่ต่อมน้ำเหลือง (Lymph nodules) ต่อมน้ำเหลืองเป็นตำแหน่งที่มักจะเกิดตุ่มนูนขึ้นมา โดยเฉพาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ และศีรษะกับส่วนของลำคอ
  • ตุ่มนูนที่เส้นเสียง (Vocal nodules) เป็นเนื้องอกประเภทหนึ่งที่มักเกิดจากการเปล่งเสียงไม่ถูกวิธีหรือมากไป บางครั้งอาจเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนขึ้นไปสร้างความระคายเคืองให้กับกล่องเสียงก็ได้ด้วย
  • ตุ่มนูนที่ปอด (Lungs nodules) มักจะมีขนาดตั้งแต่ 0.5-3 เซนติเมตร แต่ก็อาจมีขนาดใหญ่กว่านั้นก็ได้ ตุ่มนูนเหล่านี้มักเกิดขึ้นจากการอักเสบภายในปอด ซึ่งอาจเกิดจากโรคหรือการติดเชื้อก็ได้ ตุ่มนูนที่ปอดมักจะไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หากมีขนาดใหญ่กว่า 3 เซนติเมตรอาจต้องเฝ้าระวังอาการหรือจัดให้มีการเจาะตรวจชิ้นเนื้อตามความจำเป็น
  • ตุ่มนูนที่ไทรอยด์ (Thyroid nodules) เกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้
    • ตุ่มนูนที่คอลลอยด์ (Colloid nodules) เกิดจากการขาดไอโอดีนที่เป็นแร่ธาตุสำคัญต่อการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ตุ่มนูนประเภทนี้ไม่ใช่เนื้อร้าย แต่ก็อาจมีขนาดใหญ่มาก
    • ก้อนซีสต์ไทรอยด์ (Thyroid cysts) คือตุ่มหรือก้อนที่เต็มไปด้วยของเหลวหรืออัดแน่นด้วยของเหลวกับเนื้อเยื่อแข็ง
    • ตุ่มนูนที่เกิดจากการทำงานมากไปของไทรอยด์ (Hyperfunctioning thyroid nodules) หรือตุ่มนูนที่ทำให้เกิดภาวะไทรอยด์มากเกิน (Hyperthyroidism)
    • ภาวะคอพอกจากต่อมไทรอยด์โตหลายก้อน (Multinodular goiter) เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์มีตุ่มนูนเกิดขึ้นหลายตุ่ม ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ภาวะอาจเป็นผลจากภาวะขาดไอโอดีนก็ได้ แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะคอพอก (Goiters) มักจะมีต่อมไทรอยด์ที่ใช้การได้ตามปกติอยู่
    • มะเร็งไทรอยด์ (Thyroid cancer) คืออีกหนึ่งสาเหตุของตุ่มนูนไทรอยด์ แต่สำหรับตุ่มนูนที่ไทรอยด์ส่วนมากจะไม่เป็นเนื้อร้าย มีข้อมูลว่าผู้ที่มีตุ่มนูนที่ไทรอยด์น้อยกว่า 5% เท่านั้นที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง

สาเหตุที่ทำให้เกิดตุ่มนูนบนผิวหนัง

สาเหตุของตุ่มนูนที่พบเห็นได้ทั่วไป มีดังนี้

  • การบาดเจ็บ ตุ่มนูนบางประเภทจะเกิดขึ้นบนเนื้อเยื่อแผลเป็น เช่น คีลอยด์ ซึ่งเป็นแผลนูนที่เกิดจากการซ่อมแซมทับกันของเนื้อเยื่อแผลเป็นที่มากจนเกินไป
  • การติดเชื้อ ตุ่มนูนสามารถเกิดขึ้นบนอวัยวะภายในร่างกายได้ เช่น แกรนูโลมา (Granuloma) ซึ่งเป็นก้อนของเซลล์ขนาดเล็กที่ก่อตัวขึ้นเมื่อเนื้อเยื่ออักเสบ โดยการอักเสบส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ หรือจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อของตนเอง แกรนูโลมามักจะก่อตัวขึ้นบนปอด แต่ก็สามารถเกิดกับตำแหน่งอื่นก็ได้เช่นกัน
  • ฮอร์โมน ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมระบบเผาผลาญและการเจริญเติบโตของร่างกาย หากมีภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperthyroidism) ก็อาจเป็นผลมาจากการที่มีตุ่มนูนเกิดขึ้นก็ได้
  • ภาวะขาดไอโอดีน ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุสำคัญต่อกระบวนการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ เมื่อร่างกายมีไอโอดีนไม่เพียงพอจะทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

ตุ่มนูนส่วนมากมักจะเป็นเนื้องอกทั่วไป แต่ก็อาจร้ายแรงจนกลายเป็นมะเร็งได้ หากสังเกตว่ามีตุ่มนูนที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วหรือเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนาน รวมถึงมีความผิดปกติในร่างกายดังต่อไปนี้ร่วมอยู่ด้วย ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการประเมินต่างๆ ทันที 

  • กลืน หรือหายใจลำบาก
  • มีปัญหาการมองเห็น
  • หัวใจเต้นแรง
  • ทนความร้อนไม่ได้
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปวดคอ
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • นอนหลับยาก
  • ตื่นเต้น
  • ฉุนเฉียว หรือโมโหง่าย

การรักษาตุ่มนูน

หากเป็นตุ่มนูนบนผิวหนังที่ไม่ใช่เนื้อร้าย ก็อาจไม่ต้องรับการรักษาใดๆ เพราะส่วนมากแล้วตุ่มนูนมักจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและอาจจะหายไปเอง แต่หากสาเหตุการเกิดตุ่มนูนของคุณเป็นผลมาจากการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไป แพทย์อาจจ่ายยากดฮอร์โมนเหล่านั้นเพื่อลดขนาดตุ่มนูนแทน

แต่บางกรณีอาจต้องมีการกำจัดตุ่มนูนออก โดยเฉพาะตุ่มนูนที่กลายเป็นเนื้อร้าย ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด บำบัดรังสี หรือทำเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดตุ่มนูนขึ้น และขนาดของตุ่มนูน


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hard lump under the skin: Causes and pictures. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324903)
Skin nodule (Concept Id: C0037287). National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/medgen/52367)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ไทรอยด์เป็นพิษต้องผ่าทุกเคสหรือเปล่าค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
ไทรอยเป็นพิษสามารถหายขาดได้ไหม และยุบไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ไทรอยเป็นพิษ รักษาหายได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำมีโอกาสหายขาดมั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตัดต่อมไทรอยด์ไป 1ข้าง มีผลต่อร่างกายแบบไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคไทรอยด์ เกิดขึ้นเองโดยไม่ใช่กรรมพันธุ์ได้หรีอไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)