หลายคนอาจเข้าใจว่า โรคงูสวัดเป็นโรคที่เกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอผิดปกติเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ หรือวัยรุ่นที่เป็นวัยซึ่งมักมีสภาพร่างกายแข็งแรงก็สามารถเจ็บป่วยเป็นโรคงูสวัดได้
ความหมายของโรคงูสวัด
โรคงูสวัด (Shingles) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ใครก็ตามที่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้วหายดีแล้ว เชื้อไวรัสชนิดนี้จะยังไม่หายไปจากร่างกาย แต่กลับซ่อนตัวอยู่ในปมประสาท และจะออกมาก่อโรคงูสวัดเมื่อผู้ป่วยมีสภาพร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงเหมือนกัน อายุมากขึ้น
ถึงแม้คุณจะเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสมาแล้วก็ตาม ก็ยังมีความเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคงูสวัดได้อยู่ แต่โอกาสการเกิดจะน้อยลงประมาณ 50% หรือเป็นแล้ว อาการโรคจะไม่ร้ายแรงมาก
ส่วนผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส และไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสด้วย หากติดเชื้อนี้ขึ้นมา ก็จะป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสก่อน แล้วหลังจากหายดีแล้ว เมื่อร่างกายเริ่มไม่แข็งแรงอีกครั้ง ก็จะป่วยเป็นโรคงูสวัดต่อมาในภายหลัง
โรคงูสวัดในเด็กวัยรุ่น
เด็กวัยรุ่นสามารถป่วยเป็นโรคงูสวัดได้ไม่ต่างจากผู้ป่วยวัยอื่น ส่วนปัจจัยทำให้เกิดนั้นจะใกล้เคียงกับผู้ป่วยวัยเด็ก แต่จะมีปัจจัยด้านพฤติกรรมที่เพิ่มเติมเข้ามาด้วย เช่น
- ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสมาก่อน
- มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ
- มีโรคประจำตัวเป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นโรคมะเร็ง โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง
- มีการใช้ยา หรือวิธีรักษาโรคประจำตัวซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกัน การใช้รังสีรักษา หรือการทำเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
- มารดาเคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
- เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสก่อนอายุ 1 ขวบ
- รับประทานอาหารไม่เหมาะสม ทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน
- เริ่มหัดบริโภคแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด
- พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก
- มีภาวะเครียด วิตกกังวล
อาการของโรคงูสวัดในเด็กวัยรุ่น
อาการโรคงูสวัดในเด็กวัยรุ่นมักไม่ร้ายแรง และไม่ค่อยเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคงูสวัดสูงอายุ เด็กที่เป็นงูสวัดบางรายอาจไม่รู้สึกเจ็บปวดบางแผลเลย หรืออาจมีผื่นขึ้นเล็กน้อย และหายจากโรคได้ง่าย
ลำดับอาการทั่วไปของโรคงูสวัดในเด็กวันรุ่น ได้แก่
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ผู้ป่วยรู้สึกชาตามร่างกายบริเวณใดบริเวณหนึ่ง รวมถึงมีอาการปวดแสบผิวหนังเหมือนแผลถูกไฟไหม้ ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย มีไข้
- ผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์ หรืออาจเพียงภายใน 2-3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง โดยอาจมีผื่นเป็นจุดเล็กๆ หรือเป็นแถบผื่นกว้าง และยาว
- หลังจากนั้นผื่นแดงจะเปลี่ยนเป็นตุ่มพุพอง มีน้ำหนองของโรคอีสุกอีใส และมีอาการระคายเคืองผิวหนังมากขึ้น
- ตุ่มพุพองจะเริ่มกระจายตัวไปทั่วบริเวณที่ผื่นแดงขึ้น
- ตุ่มพุพองเริ่มแตก น้ำหนองข้างในจะไหลออกมาแล้วแผลจะเปลี่ยนเป็นแผลแห้งตกสะเก็ดซึ่งผู้ป่วยแค่ดูแลทำความสะอาดแผลอยู่เสมอ แผลก็จะค่อยๆ ดีขึ้น แต่อาการระคายเคืองผิวหนังจะยังคงอยู่กับผู้ป่วยอยู่นาน อาจเป็นเดือน หรือเป็นปี
นอกจากนี้เด็กยังอาจรู้สึกเจ็บตามแนวเส้นประสาทที่เกิดผื่นงูสวัดได้ ซึ่งอาการนี้เรียกว่า “อาการปวดปลายประสาทหลังจากเป็นงูสวัด (Postherpetic neuralgia)”
วิธีรักษาโรคงูสวัดในวัยรุ่น
วิธีรักษาโรคงูสวัดจะไม่แตกต่างไปจากการรักษาโรคงูสวัดในผู้ป่วยวัยอื่นๆ โดยแพทย์จะจ่ายยาต้านไวรัสร่วมกับยาแก้อาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นของโรค เช่น ยาแก้อักเสบ ครีมลดผื่น อย่างยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovoir) และแนะนำวิธีดูแลแผลให้ผู้ป่วย ได้แก่
- หมั่นทำความสะอาดแผลให้สะอาดด้วยสบู่อ่อนๆ หรือน้ำสะอาด
- ไม่เกา หรือแกะแผล เพื่อไม่ให้เสี่ยงติดเชื้อมากกว่าเดิม
- ประคบเย็นที่แผลเพื่อบรรเทาอาการปวด และอักเสบจากผื่น
- ปิดแผลให้มิดชิด เพื่อไม่ให้ผู้อื่นมาสัมผัสจนเสี่ยงติดเชื้อไปด้วย
- ใส่เสื้อผ้าสบายๆ และควรใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าใยธรรมชาติ เพื่อลดความระคายเคืองผิวบริเวณที่มีผื่น
- ทายา หรือครีมรักษา โลชั่นคาลามายน์ ตามแพทย์สั่ง อย่าใช้สมุนไพร หรือยาอื่นๆ ที่แพทย์ไม่ได้สั่งจ่ายทาแผลเอง
- หยุดเรียน กิจกรรม หรือกีฬาที่ต้องสัมผัสตัวผู้อื่น
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้ภูมิคุ้มกันกลับมาแข็งแรง
วิธีป้องกันตนเองจากโรคงูสวัด
ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปรับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสไว้ก่อน และดูแลให้เด็กรักษาสุขภาพ รวมถึงภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หมั่นไปตรวจสุขภาพ
ส่วนวัคซีนป้องกันงูสวัด ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับวัคซีน เพราะเด็กที่เคยรับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสแล้ว แพทย์มักไม่แนะนำให้เข้ารับวัคซีนป้องกันงูสวัดด้วย อีกทั้งวัคซีนป้องกันงูสวัดมักแนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุมากกว่า
สุขภาพจิตของเด็กก็สำคัญ และสามารถส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคงูสวัดได้ ผู้ปกครองควรดูแลสุขภาพจิตของเด็กให้ดี อย่ากดดันให้เด็กมีอาการเครียด หรือวิตกกังวล ควรให้เด็กหากิจกรรมทำ หรือได้ทำงานอดิเรกที่เขาชื่นชอบ
หากเด็กมีเรื่องเครียด หรือมีเรื่องไม่สบายใจ ให้เข้าไปสอบถามเป็นที่ปรึกษาให้เด็กรู้สึกเป็นที่พึ่ง เพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย มีควาสุข ไม่หันไปพึ่งสารเสพติด การสูบบุหรี่ หรือบริโภคแอลกอฮอล์เป็นทางออก ซึ่งเป็นอีกปัจจัยทำให้เกิดโรคงูสวัดได้
เด็กวัยรุ่นเป็นวัยที่มักต่อสู้กับโรคภัยได้ดี เพราะอยู่ในช่วงที่ภูมิคุ้มกันร่างกายใกล้จะเติบโตเต็มที่ อย่างไรก็ตาม วัยนี้ก็เป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง รวมถึงมักพักผ่อนน้อย นอนดุก เริ่มมีแรงกดดันจากการเข้าสังคม รวมถึงการเรียน ทำให้เด็กอาจละเลยการดูแลตนเอง
ผู้ปกครองจึงต้องปลูกฝังให้เด็กรู้จักดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ให้เด็กมีพฤติกรรมรักสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะได้ติดเป็นนิสัย และเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้น้อยลง
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android