โรคงูสวัด (Shingles) เป็นโรคที่มีสาเหตุหลักมาจากภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ จนทำให้เชื้อไวรัสวาริเซลลาร์ ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่เกิดโรคอีสุกอีใส และซ่อนตัวอยู่ในปมประสาทของร่างกายออกมาก่อโรคงูสวัดขึ้น
ดังนั้น หากกำลังป่วยเป็นโรคงูสวัด จึงควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหาร และแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงขึ้น และควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่ทำให้อาการของโรคร้ายแรงขึ้นกว่าเดิมด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เพราะหากอาการของโรคงูสวัดรุนแรงขึ้น ระบบประสาทในร่างกายก็จะเสียหายหนักและอาจทำให้เกิดอาการร้ายแรงตามมา เช่น ตาบอด สูญเสียการได้ยิน เป็นอัมพาตบริเวณใบหน้า อวัยวะภายในเกิดการติดเชื้อ
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างเป็นโรคงูสวัด มีอะไรบ้าง?
อาหารที่ผู้ป่วยโรคงูสวัดควรหลีกเลี่ยงในระหว่างรักษาโรคให้ดีขึ้น มีดังต่อไปนี้
1.อาหารที่มีสารอาร์จีนีนมาก
สารอาร์จีนิน (Arginine) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งมีส่วนทำให้เซลล์เชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสซึ่งทำให้เกิดโรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใสแบ่งตัว และลุกลามออกไปมากขึ้น
โดยอาหารที่พบสารอาร์จีนีนในปริมาณมาก ได้แก่
- ช็อกโกแลต
- ถั่ว เมล็ดพืช
- องุ่น
- จมูกข้าวสาลี
- กะหล่ำปลีเล็ก
- บลูเบอร์รี
- ทูน่ากระป๋อง
- เจลาติน
- มะเขือเทศ
2. อาหารที่มีน้ำตาลสูง
ในระหว่างรักษาโรคงูสวัด ให้หลีกเลี่ยงอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงขนมที่มีน้ำตาลสูง เนื่องจาก น้ำตาล เป็นสารอาหารที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพลงมากกว่าเดิม อีกทั้งยังไปยับยั้งการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการขจัดเชื้อไวรัสให้ออกไปจากร่างกายอีกด้วย
3. คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี
คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี (Refined Carbohydrates) มีส่วนทำให้ดัชนีมวลน้ำตาลในร่างกายคุณสูงขึ้น ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานรวดเร็วกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายมีพลังงานไปขับเคลื่อนภูมิคุ้มกันร่างกายไม่มากพอ
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตัวอย่างอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตซึ่งผ่านการขัดสี และควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
- ขนมปังขาว
- ข้าวขาว
- มักกะโรนี
- เส้นพาสต้า
- ซีเรียลอาหารเช้า
- มันฝรั่งขาว
4. อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
เพราะอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงยังมีแต่ไปสร้างไขมันส่วนเกินอันเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานคือ อีกกลุ่มผู้ป่วยที่มักมีอาการของโรคงูสวัดร้ายแรงกว่าปกติ
อีกทั้งการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หรือไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณที่เหมาะสมแทน จะช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้น และควบคุมเชื้อไวรัส VZV ไม่ให้แพร่กระจายมากเกินไปจนเกิดเป็นโรคงูสวัดได้
โดยตัวอย่างอาหารมีไขมันอิ่มตัวสูงที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่
- เนื้อสัตว์ติดมัน
- ขนมปังที่มีเนย นม ครีม ชีส น้ำตาลสูง
- อาหารทอด
- ซุปครีม
- แฮมเบอร์เกอร์
- พิซซ่า
- ไอศกรีม
5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แอลกออฮอล์เป็นตัวขัดขวางการฟื้นตัวของร่างกายขณะรักษาโรคงูสวัด และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานช้าลง ทำให้อาการของโรคหายช้า
นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังไปรบกวนไมโครไบโอม (Mocrobiome) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีซึ่งมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ทั้งยังไปทำลายเซลล์เนื้อเยื่อบุ (the epithelial cells) ซึ่งมีหน้าที่เรียบเรียงเซลล์ทีเฮลเปอร์ (T helper cell) ซึ่งเป็นเซลล์ในเม็ดเลือดขาวชนิดนึ่ง และเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (Neutrophil) ทำให้การป้องกันเชื้อไวรัสของร่างกายอ่อนแอลง
อาหารเสริมภูมิต้านทานขณะรักษาโรคงูสวัด
อาหารช่วยเสริมภูมิต้านทานให้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้เชื้อโรคมากขึ้น ได้แก่
- อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ เช่น พริกหยวกแดง ไข่ ผักโขม ผักบุ้ง มันฝรั่ง ฟักทอง
- อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 เช่น เนื้อปลา นม ตับ ไข่ ซีเรียลธัญพืช
- อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น ส้ม สัปปะรด มะละกอ
- อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจมูกข้าวสาลี เมล็ดข้าวโพด มันเทศ ส้มโอ
- อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุสังกะสี เช่น เมล็ดทานตะวัน ข้าวกล้อง เนื้อสัตว์
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรระมัดระวังเรื่องการแพ้อาหารด้วย หรือหากคุณเป็นผู้ป่วยโรคงูสวัดที่มีโรคอื่นๆ แทรกซ้อนอยู่ด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ให้ปรึกษาแพทย์ว่า ควรรับประทานอาหารประเภทไหนเพื่อรักษาโรคงูสวัดให้หายเร็วยิ่งขึ้น
หากไม่แน่ใจว่า มีภาวะแพ้อาหาร หรือมีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงหรือไม่ ผู้ป่วยอาจลองสังเกตการรับประทานอาหารแต่ละชนิดของตัวเอง ซึ่งหากรับประทานอาหารชนิดไหนแล้วมีอาการผื่นขึ้น หายใจลำบาก ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย เป็นประจำ อาจพิจารณาตรวจภูมิแพ้อาหาร หรือตรวจภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงดู
เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ตนเองแพ้นั่นเอง
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยงูสวัด
- หลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เนื่องจากขณะที่ป่วย เชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายสู่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อได้ง่าย (ผู้ที่ไม่เคยป่วยเป็นอีสุกอีใส หรือผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน) ดังนั้นผู้ป่วยควรรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าแผลจะหายดี
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้เด็กเล็ก เพราะอาจทำให้เด็กติดเชื้อและป่วยเป็นอีสุกอีใส
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ เพราะหญิงตั้งครรภ์อาจได้รับเชื้อและป่วยเป็นอีสุกอีใสระหว่างตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงการแกะ แคะ เกา แผลที่เกิดจากงูสวัด เพราะจะทำให้แผลหายช้าและยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเติมด้วย
- หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าหนาๆ เพื่อป้องกันการเสียดสีระหว่างผิวหนังที่เป็นผื่นกับเสื้อผ้า เพราะจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดมากขึ้น
- ไม่ควรฉีดพ่น หรือทายาใดๆ ที่ไม่ได้รับการรับรองจากแพทย์ลงบนผื่นตุ่มน้ำงูสวัด เช่น หญ้า สมุนไพรหรือยาสีฟัน เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงยิ่งขึ้น
- หากมีอาการแสบร้อนผื่นงูสวัด ควรประคบรอยผิวหนังด้วยน้ำเกลือสะอาดนานครั้งละ 10 นาที วันละ 3-4 ครั้ง
- หากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้ ทั้งนี้ควรปฏิบัติตัวตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อให้อาการบรรเทาลงโดยเร็วที่สุด
เป็นที่ทราบกันดีว่า การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ถูกวิธีเป็นส่วนสำคัญที่จะเสริมภูมิคุ้มกัน รวมถึงเสริมระบบการทำงานต่างๆ ทุกระบบในร่างกายให้มีประสิทธิภาพ สามารถต่อสู้ และขจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมต่างๆ ได้
ดังนั้นหากคุณเจ็บป่วยเป็นโรคใดก็ตาม การปรับเปลี่ยนเมนูอาหารเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงเป็นยาที่สำคัญอีกประเภทไม่แพ้ยารับประทาน หรือยาฉีดที่ได้รับจากแพทย์ และยังสามารถช่วยบรรเทาอาการป่วยได้
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android