กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

การอบไอน้ำหรือเข้าเซาว์น่าขณะตั้งครรภ์อาจทำให้แท้งได้

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การอบไอน้ำหรือเข้าเซาว์น่าขณะตั้งครรภ์อาจทำให้แท้งได้

การอาบน้ำร้อน, การอบไอน้ำ หรือการเข้าเซาว์น่า สำหรับสตรีมีครรภ์ สามารถช่วยลดอาการปวดเมื้อยกล้ามเนื้อได้ แต่ควรระมัดระวัง เนื่องจากการอบไอน้ำ หรือการเข้าเซาว์น่านานๆ สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ 

ทำไมการอบไอน้ำจึงอันตรายต่อครรภ์มารดา?

จากข้อมูลของ Organization of Teratology Information Services (OTIS) พบว่าหากอุณหภูมิร่างกายของมารดา สูงกว่า 101 องศาฟาเรนไฮต์สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของระบบประสาทหรือไขสันหลังของทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่หนึ่ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

 American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) ไม่แนะนำให้สตรีที่ตั้งครรภ์อาบน้ำ หรืออบเซาว์น่าในอุณหภูมิที่สูงเกินไป เนื่องจากเซาว์น่ามีหลายชนิด แต่ละชนิดที่การตั้งอุณหภูมิและความชื้นที่แตกต่างกัน สตรีตั้งครรภ์จึงควรได้รับแนะนำจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง

เนื่องจากทารกในครรภ์ยังไม่สามารถปรับอุณหภูมิร่างกายของตนเองได้ หากร่างกายของหญิงตั้งครรภ์มีอุณหภูมิสูงเกิน 38.9 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน จะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ มีรายงานพบว่าในหญิงตั้งครรภ์ที่อาบน้ำร้อนจัดเกิน 38.9 องศาเซลเซียส หรือ 102 องศาฟาเรนไฮต์ สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจผิดแต่กำเนิดเช่น ventricular septal defects หรือpatent ductus arteriosusในทารกได้ หากต้องการอบเซาว์น่าจริงๆ แพทย์แนะนำให้ได้ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีในแต่ละครั้ง

ข้อควรระวังอื่นๆ 

การใช้ผ้าห่มไฟฟ้าในประเทศที่มีอากาศหนาวมากๆ ซึ่งมักจะใช้ผ้าห่มไฟฟ้าก็เช่นกัน แม้ว่าจะไม่มีข้อพิสูจน์ว่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามีอันตรายต่อเด็กในครรภ์ แต่การใช้ผ้าห่มไฟฟ้าเป็นเวลานานตลอดคืนอาจทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งอาจมีผลทำให้เกิดการแท้งได้


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Organization of Teratology Information Services, (https://otispregnancy.org/) Planning Your Pregnancy and Birth Third Ed. The American College of Obstetricians and Gynecologists, CH. 5 Pregnancy, Childbirth, and the Newborn: The Complete Guide. Simkin, Penny P.T., et al, CH. 5.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
เมื่อไหร่จึงสามารถมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยหลังภาวะแท้งบุตร?
เมื่อไหร่จึงสามารถมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยหลังภาวะแท้งบุตร?

ต้องรอนานแค่ไหน และทำไมคุณอาจจะไม่รู้สึกอยากกอดจูบลูบคลำมากนัก?

อ่านเพิ่ม