ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

เผยแพร่ครั้งแรก 3 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานไม่ได้เกิดจากสาเหตุจำเพาะเจาะจงเพียงอย่างเดียว หากแต่มีหลายปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดเป็นโรคเบาหวาน ทั้งกรรมพันธุ์ และที่สำคัญคือวิถีการใช้ชีวิตของคุณ

โอกาสในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงต่างๆผสมกัน เช่น กรรมพันธุ์ และวิถีการใช้ชีวิตของคุณ แม้ว่าคุณจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น ประวัติทางครอบครัว อายุหรือเชื้อชาติได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือคุณสามารถเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงด้านวิถีชีวิต อันได้ แก่ รูปแบบการรับประทานอาหารการออกกำลังกายและน้ำหนักได้ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเหล่านี้อาจส่งผลต่อโอกาสในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ได้อย่างมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อ่านเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภท 2 ตามรายการด้านล่าง และดูว่าปัจจัยใดที่เกี่ยวข้องกับคุณ การจัดการ และดูแลปัจจัยเหล่านั้นเท่าที่จะทำได้จะช่วยให้คุณสามารถชะลอโอกาสเกิด หรือป้องกันโรคเบาหวานประเภท 2 ได้

ปัจจัยที่อาจทำให้คุณเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 

  • น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
  • มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • มีเชื้อสายชาวเอเชีย ชาวแอฟริกัน หรือชาวเกาะแปซิฟิค
  • มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
  • มีระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) อยู่ในระดับต่ำหรือมีไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในระดับสูงในเลือด
  • มีประวัติโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนัก 9 ปอนด์ขึ้นไป
  • ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือออกกำลังกายน้อย
  • มีประวัติโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง
  • มีภาวะซึมเศร้า
  • มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS - polycystic ovary syndrome)
  • มีอาการคอดำ หรือข้อพับดำ (acanthosis nigricans) - ลักษณะเป็นผิวหนังที่เข้ม หน้า และสัมผัสสากอยู่บริเวณคอหรือซอกรักแร้

คุณสามารถแบบประเมินความเสี่ยงสำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ตามลิงค์ดังกล่าว

แบบประเมินความเสี่ยงโดยกรมบริการด้านสุขภาพและความมั่นคงของมนุษย์ของสหรัฐอเมริกา https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/risk-factors-type-2-diabetes/diabetes-risk-test (ภาษาอังกฤษ)

แบบประเมินความเสี่ยงโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี http://www.dmthai.org/quiz (ภาษาไทย)

หากต้องการทราบว่าน้ำหนักของคุณนั้นทำให้คุณเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 หรือไม่โปรดเทียบกับความสูงของคุณในแผนภูมิดัชนีมวลกาย (BMI) ดังกล่าว ถ้าน้ำหนักของคุณเท่ากับหรือมากกว่าน้ำหนักที่ระบุไว้ สามารถแปลผลได้ว่าคุณมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานมากขึ้น

ความสูง (หน่วยฟุต)

ความสูง (หน่วย ซม.)

น้ำหนัก (หน่วยปอนด์)

น้ำหนัก (หน่วย กก.)

4'10"

147

110

50

4'11"

150

114

52

5'0"

152

118

54

5'1"

155

122

55

5'2"

157

126

57

5'3"

160

130

59

5'4"

163

134

61

5'5"

165

138

63

5'6"

168

142

64

5'7"

170

146

66

5'8"

173

151

68

5'9"

175

155

70

5'10"

178

160

73

5'11"

181

165

75

6'0"

183

169

77

6'1"

186

174

79

6'2"

188

179

81

6'3"

191

184

83

6'4"

194

189

86

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยสำหรับชาวเอเชียนั้นจะมีความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 ดังตารางนี้ หากคุณเทียบกบความสูงในตารางแล้วมีน้ำหนักมากกว่าแสดงว่าคุณเริ่มมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานแล้ว

วิธีป้องกันเบาหวานประเภทที่ 2 

คุณสามารถทำตามวิธีต่างๆเพื่อช่วยป้องกันหรือชะลอโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากมายเช่น การลดน้ำหนักในกรณีที่คุณมีน้ำหนักเกิน การรับประทานให้มีพลังงานแคลอรี่ที่น้อยลง และออกกำลังกาย ขยับตัวในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น พูดคุยกับแพทย์ประจำตัวของคุณเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอื่นๆตามที่ระบุไว้ข้างต้นซึ่งอาจต้องได้รับการรักษาพยาบาล การจัดการปัญหาสุขภาพเหล่านี้อาจช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ นอกจากนี้ อาจถามแพทย์ประจำตัวของคุณว่ายาประจำตัวที่คุณใช้อยู่ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานของคุณได้อีกด้วย

ที่มา https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/risk-factors-type-2-diabetes

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Risk factors and diabetes: Type 1, type 2, and gestational. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317168)
Who's at Risk?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/diabetes/basics/risk-factors.html)
What Causes Type 2 Diabetes? Risk Factors, Lifestyle, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-causes)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)