ลดความดันโลหิตด้วยวิธี “ดนตรีบำบัด”

เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ลดความดันโลหิตด้วยวิธี “ดนตรีบำบัด”

โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่และคนสูงอายุ ซึ่งการคอยหมั่นไปตรวจสุขภาพ ติดตามความดันโลหิต และทานยาก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบด้วยว่า ดนตรีบำบัด หรือที่เรียกว่า Music Therapy นั้นสามารถช่วยลดความดันโลหิต เราลองมาดูกันดีกว่าว่าดนตรีมีส่วนช่วยควบคุมความดันโลหิตได้อย่างไร

ดนตรีช่วยลดความดันโลหิตได้อย่างไร?

มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า ดนตรีบางประเภทสามารถช่วยควบคุม และมีผลต่อความดันโลหิตซีสโตลิคและความดันโลหิตไดแอสโตลิค ด้วยเหตุนี้ มันจึงช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยเฉพาะเมื่อมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ความโกรธ และอารมณ์อื่นๆ  นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า การฟังดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ และดนตรีประเภทฮาร์มอนิกสามารถช่วยให้หลอดเลือดขยายเพิ่มขึ้นประมาณ 26% อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ดนตรีทุกชนิดที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเราต้องลองสาธิตด้วยตัวเอง โดยลองฟังดนตรีให้ได้หลากหลายจังหวะและประเภท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ดนตรีคลาสสิกมีผลดีต่อเรา

จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ มีการพิสูจน์ถึงผลกระทบของดนตรีคลาสสิกที่มีต่อการตีบของหลอดเลือด ซึ่งมีหลายการทดลองพบว่า ดนตรีคลาสสิกสามารถช่วยควบคุมความตึงของหลอดเลือดได้ดีที่สุด ในขณะที่ดนตรีประเภทอื่นก็มีประโยชน์ต่อระบบไหลเวียนโลหิตเช่นกัน

เราสามารถสัมผัสกับผลที่ได้จากวิธีดนตรีบำบัดด้วยตัวเอง

มีการค้นพบว่า สิ่งกระตุ้นอย่างการหัวเราะ สิ่งแวดล้อม หรือดนตรี ล้วนแต่มีบทบาทในการกำหนดสภาวะอารมณ์ และส่งผลต่อความดันโลหิตของเรา เพียงแค่ฟังเพลงที่คุณชอบก็สามารถสร้างสิ่งกระตุ้นทางอารมณ์ได้แล้ว นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงเวลาที่คุณใส่เฮดโฟน แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ดนตรีทุกประเภทที่ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน ถ้าจะให้เทียบก็คงเหมือนกับตอนที่เราฟังวิธีทำสมาธิหรือวิธีผ่อนคลายที่มักใช้เสียงที่นุ่มนวลและมีเสียงธรรมชาติที่ทำให้เรารู้สึกราวกับได้อยู่ในสถานที่ๆ สงบและน่ารื่นรมย์ หากเราฟังเพลงร็อคหรือเพลงแนวเต้น ผลลัพธ์ที่ได้นั้นก็มีแนวโน้มว่าเป็นตรงกันข้าม

ดนตรีกับการช่วยทำให้ผ่อนคลาย

การปลดปล่อยตัวเองจากความเครียด และอารมณ์เชิงลบอื่นๆ สามารถช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิต ซึ่งดนตรีบำบัดมีความสามารถที่ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย  อย่างไรก็ตาม ดนตรีอาจไม่ใช่วิธีเดียวที่ทำให้เกิดผลดังกล่าว  การหายใจลึกๆ การไปท่องเที่ยว หรือการนอนแผ่บนโซฟาก็ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน  นอกจากนี้นักวิจัยยังเชื่อด้วยว่า การทำตัวเองให้ผ่อนคลายคือวิธีที่ช่วยลดความดันโลหิตได้อย่างเป็นธรรมชาติเร็วที่สุด และแทบไม่ต้องพึ่งยาใดๆ เลยด้วยซ้ำ

ถ้าช่วงนี้คุณรู้สึกท่วมท้นไปด้วยอารมณ์ที่รุนแรง หรือมีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ ให้คุณลองเปิดเพลงที่นุ่มนวลที่มีจังหวะช้าๆ โดยให้คุณนอนอยู่ในสถานที่ๆ ทำให้รู้สึกสบาย หายใจเข้าออกลึกๆ ในขณะที่ฟังเพลง และให้คุณค่อยๆ ลดความรุนแรงของการหายใจ ซึ่งการใช้ดนตรีบำบัดไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณไม่ต้องเจอกับผลข้างเคียงที่เกิดจากการทานยาลดความดันโลหิตเท่านั้น แต่มันยังช่วยต่อสู้กับความเครียดหรือความเหนื่อยล้าโดยไม่ต้องเสียเงินมากมายอีกด้วย

ที่มา: https://steptohealth.com/music...


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Effect of music therapy on blood pressure of individuals with hypertension: A systematic review and Meta-analysis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27096963)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)