สูตรอาหารสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานที่ต้องการลดน้ำหนักแบบ 2 วัน

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สูตรอาหารสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานที่ต้องการลดน้ำหนักแบบ 2 วัน

อาหารเย็น : เนื้อสอดไส้ผักโขม

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หนึ่งในวิธีการรักษาที่แพทย์มักจะพูดถึงก็คือการลดน้ำหนัก มีงานวิจัยที่พบกว่าการลดน้ำหนักแม้เพียงไม่กี่กิโลกรัมนั้นก็เป็นวิธีที่ทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ที่ยากก็คือการลดน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้นเมื่อคุณเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เหตุผลนั้นไม่ได้เกิดจากการที่คนไม่อยากลดน้ำหนักแต่มักจะเกิดจากการที่สูตรอาหารที่รับประทานนั้นไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากโรคนั้นจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นตามมาจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และทำให้อยากอาหารเพิ่มขึ้น เผาผลาญไขมันช้าลงและกระตุ้นให้มีการสะสมไขมัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

งานวิจัยล่าสุดได้พบว่าวิธีที่จะช่วยให้ลดน้ำหนักและลดการดื้ออินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานนั้นคือวิธีการที่เรียกว่าอดอาหารเป็นช่วงๆ

นักวิจัยได้มีการออกแบบสูตรอาหารแบบใหม่ที่ทำการจำกัดปริมาณพลังงานที่ได้รับภายใน 2 วันต่อสัปดาห์อย่างเข้มงวด แต่ในวันอื่นๆ สามารถรับประทานอาหารมากกว่านั้นได้ ผู้หญิงที่ปฏิบัติตามสูตรอาหารนี้สามารถลดไขมันได้เกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่จำกัดพลังงานที่ได้รับในทุกๆ วัน ภายใน 3 เดือน ผู้เข้าร่วมงานวิจัยก็ลดภาวะดื้ออินซูลินได้ 25% ในวันที่ไม่จำกัดปริมาณอาหารและลดการอักเสบได้มากกว่าผู้ที่คุมอาหารทุกวันต่อเนื่องถึง 8%

ทำไมสูตรอาหารนี้จึงได้ผล?

สูตรอาหารนี้ทำงานตรงกันข้ามกับโรคเบาหวานซึ่งมีปัญหาในเรื่องของระดับน้ำตาลในเลือดและมีไขมันส่วนเกิน การที่มีน้ำหนักเกินแม้เพียงเล็กน้อยร่วมกับพันธุกรรมจะกระตุ้นให้เกิดปัญหาทางสุขภาพหลายๆ อย่างตามมา เช่นไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง มีปัญหาในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันและฮอร์โมนไม่สมดุล

ทำไมการจำกัดอาหารเฉพาะช่วงจึงดีกว่า?

ปัญหาทางสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตในปัจจุบันนั้นไม่เป็นไปตามพันธุกรรมที่เราได้รับมา นักวิจัยมีการตั้งทฤษฎีว่าเนื่องจากมนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการผ่านช่วงที่รุ่งเรืองและยากลำบาก ทำให้คนส่วนใหญ่นั้นได้รับพันธุกรรมที่ทำให้มีการเก็บพลังงานเมื่อได้รับพลังงานน้อยและมีการใช้ไขมันมากขึ้นในเวลาที่มีอาหารมาก เมื่อหลายพันปีก่อนมนุษย์ที่มีพันธุกรรมลักษณะนี้อาจมีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่าและทำให้ส่งผ่านพันธุกรรมเหล่านี้มาสู่ลูกหลาน

แต่ในปัจจุบันพันธุกรรมเหล่านี้ต้องเผชิญกับภาวะที่มีอาหารจำนวนมากตลอดเวลาและไม่มีช่วงที่ต้องอด ทำให้มันร่างกายมีน้ำหนักที่เหมาะสมได้ยาก ดังนั้นเมื่อเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มเพียงเล็กน้อยก็เหมือนเป็นการกระตุ้นปัญหาอื่นๆ ให้ตามมาและทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนยากที่จะหยุด

ไขมันส่วนเกินนี้ยังทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง เนื้อเยื่อไขมันนั้นมีสารทางภูมิคุ้มกันที่ชื่อว่า cytokine อยู่จำนวนมากซึ่งจะตอบสนองต่อไขมันเหมือนกับเวลาที่ร่างกายมีการติดเชื้อ ส่งผลให้ร่างกายไวต่อฮอร์โมนต่างๆ เช่นอินซูลิน (ทำหน้าที่ให้เซลล์นำน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เซลล์), cortisol (ฮอร์โมนแห่งความเครียด) leptin และ ghrelin (ควบคุมความอยากอาหารและความหิว) ลดลง

นักวิจัยเชื่อว่าการจำกัดอาหารเป็นช่วงๆ นั้นจะช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นและทำให้การทำงานของฮอร์โมนเหล่านี้เป็นปกติ และสูตรอาหารนี้น่าจะทำให้สามารถควบคุมหรือป้องกันโรคเบาหวานได้ดีกว่าสูตรอาหารอื่นๆ

และคุณก็ไม่จำเป็นต้องนับคาร์โบไฮเดรต พลังงาน ไขมัน ที่รับประทานเข้าไปอีก


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Type 2 Diabetes: 8 Steps to Weight-Loss Success. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/type-2-diabetes/diet/secrets-of-weight-control/)
7-day diabetes meal plan: Meals and planning methods. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318277)
The Right Way to Lose Weight When You Have Diabetes. WebMD. (https://www.webmd.com/diabetes/features/diabetes-weight-loss-diet-plan#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)