วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับอาการคันคอ เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

รวมสาเหตุอาการคันคอ วิธีรักษา ป้องกัน การปรับพฤติกรรมเพื่อไม่ให้เกิดอาการคันคอ
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ส.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับอาการคันคอ เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการคันคอ เป็นอาการระคายเคืองที่เกิดได้จากอาการโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะอาการแพ้อาหารและแพ้ยา 
  • โรคติดเชื้อหลายอย่างเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการคันคอได้ เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ ติดเชื้อไวรัสไข้หวัด โรคกรดไหลย้อน 
  • พฤติกรรมการสูบบุหรี่ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก การตะโกน หรือพูดมากๆ อย่างต่อเนื่อง ดื่มน้ำน้อย ก็มีส่วนทำให้เกิดอาการคันคอได้
  • การรักษาอาการคันคอไม่ได้รักษายากมากและยังสามารถทำได้ด้วยตนเอง เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่นในช่วงฤดูกาลเปลี่ยนแปลงฉีดสเปรย์บรรเทาอาการเจ็บคอ จิบน้ำผึ้งผสมมะนาว รับประทานยาปฏิชีวนะที่สั่งจ่ายจากแพทย์
  • เปรียบเทียบราคาตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้

และภาวะแพ้เชื่อว่า หลายคนคงเคยเผชิญกับอาการคันคอ ซึ่งเป็นอาการระคายเคืองอยู่ภายในลำคอ และเป็นตัวการทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง รวมถึงต้องกระแอมเสียงดังออกมาเพื่อลดความรู้สึกระคายเคืองดังกล่าว

อาการคันคอมีสาเหตุที่ทำให้เกิดมากมายหลายอย่าง แต่ก็มีวิธีรักษาซึ่งทำได้ไม่ยากนัก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของอาการคันคอ

อาการคันคอ (Itchy throat) คือ อาการระคายเคืองในลำคอ คล้ายกับอาการคันผิวหนังภายนอก แต่เกิดขึ้นภายในลำคอซึ่งไม่สามารถใช้นิ้ว หรือเล็บเกาให้อาการดีขึ้นได้ 

หากอาการคันคอมีความรุนแรงมากก็จะทำให้ยากต่อการพูดคุย หรือกลืนอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้อาการคันคอยังมีส่วนทำให้เสียงเปลี่ยนไป และทำให้รู้สึกคอแห้งกว่าเดิมด้วย

สาเหตุของอาการคันคอ

อาการคันคอมักเกิดขึ้นจากสาเหตุต่อไปนี้

1. อาการแพ้

อาการคันคอเป็นหนึ่งในอาการของโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้อาหารและภูมิแพ้ยา เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหาร หรือยาที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการแพ้เข้าไป ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะมีปฏิกิริยาออกมาเป็นอาการภูมิแพ้ต่างๆ เช่น

  • ลิ้นบวม
  • ปากบวม
  • คอบวม
  • คันคอ
  • หายใจลำบาก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องเสียอย่างหนัก

อาหารที่มักทำให้เกิดอาการแพ้ และผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ควรระมัดระวังให้มาก ได้แก่ อาการประเภทไข่ นม อาหารทะเล ถั่วเหลือง ธัญพืช

2. การติดเชื้อ

การติดเชื้อภายในลำคอ เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่ ล้วนส่งผลทำให้เกิดอาการคันคอได้ ร่วมกับมีอาการอื่นๆ ของโรคเกิดขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เช่น เป็นไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว แน่นหน้าอก มีน้ำมูก มีเสมหะมาก ผนังลำคอบวมแดง

3. โรคกรดไหลย้อน

น้ำย่อยในกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหารส่วนบน สามารถทำให้เกิดแผลในลำคอได้ อีกทั้งทำให้มีเสมหะมากผิดปกติ จึงส่งผลทำให้เกิดอาการเจ็บแสบ หรือคันระคายเคืองคอได้

นอกจากอาการคันคอ โรคกรดไหลย้อนยังทำให้เกิดอาการหูอื้อ ไอเรื้อรัง เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก รู้สึกแสบร้อนที่หน้าอก และลิ้นปี่ด้วย

4. พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม

พฤติกรรมดื่มน้ำน้อยและสูบบุหรี่ จะส่งผลให้ริมฝีปากและผนังลำคอแห้ง ไม่มีความชุ่มชื้น จึงทำให้เกิดอาการคันคอได้ง่าย รวมถึงทำให้มีพฤติกรรมกระแอมบ่อยๆ จนเสียบุคลิกด้วย

นอกจากนี้การตะโกน การพูดนานๆ ซึ่งเป็นการใช้เส้นเสียงทำงานอย่างหนักจะนำไปสู่อาการเส้นเสียง หรือกล่องเสียงอักเสบ ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการคันคอได้เช่นกัน

5.ผลข้างเคียงจากการรักษา

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัดสามารถส่งให้ผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะน้ำลายแห้ง คอแห้งกว่าปกติ จึงส่งผลให้เกิดอาการคันคอได้ อีกทั้งยังส่งผลให้เสี่ยงเกิดอาการฟันผุมากกว่าเดิม และทำให้เคี้ยวอาหาร หรือออกเสียงพูดลำบากขึ้นด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการแทรกซ้อนที่ควรไปพบแพทย์

ส่วนมากอาการคันคอมักมาพร้อมกับอาการอื่นๆ เกี่ยวกับโรคนั้นๆ แต่หากอาการคันคอมาพร้อมกับอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงมากๆ คุณก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัย ก่อนที่อาการจะลุกลามรุนแรง เช่น

  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ความดันโลหิตต่ำลง
  • อ่อนเพลียมาก
  • หายใจไม่ออก
  • ประสาทการรับรสแย่ลง
  • กลืนอาหารไม่ได้
  • คลำพบก้อนในลำคอ
  • ใบหน้าบวม
  • มีผื่นแดง หรือผื่นลมพิษขึ้นตามตัว
  • ท้องเสีย หรือท้องร่วงอย่างหนัก

วิธีรักษาอาการคันคอ

อาการคันคอสามารถรักษาได้ไม่ยาก โดยสามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้เองที่บ้านตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ โดยควรดื่มเป็นน้ำอุ่น
  • อมลูกอมที่ไม่มีสาร Menthol เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นภายในลำคอ
  • ผสมน้ำผึ้งหนึ่งช้อนชาผสมกับมะนาวและน้ำอุ่น จากนั้นหมั่นจิบบ่อยๆ
  • ฉีดสเปรย์บรรเทาอาการเจ็บคอ โดยอาจเป็นสเปรย์ผสมคาโมไมล์ หรือสารโพรโพลิส

สำหรับยาที่สามารถบรรเทาอาการคันคอได้ จะได้แก่ ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการคัน หรือเจ็บคอ ยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) เพื่อลดอาการอักเสบภายในลำคอ

ส่วนผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยๆ ก็ควรเลิกการบริโภคของเหล่านี้ เพราะมีแต่ก่ออาการคันคอให้แย่ลง และยังส่งผลทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีก

วิธีป้องกันอาการคันคอ

อาการคันคอสามารถป้องกันได้ไม่ยากเช่นกัน เพียงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการนี้ได้แล้ว เช่น

  • ไม่สูบบุหรี่
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มคาเฟอีนและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์บ่อยๆ
  • รักษาสุขอนามัยให้ดี หากเป็นหวัด หรืออยู่ในช่วงฤดูกาลเปลี่ยนแปลง ควรทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ เช่น ใส่เสื้อกันหนาว พันผ้าพันคอ ห่มผ้าห่มอุ่นๆ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สารก่อภูมิแพ้ทุกชนิด ไม่ว่าจะทางอากาศ หรือในรูปแบบอาหาร และยา
  • หากต้องตะโกน หรือพูดนานๆ ให้หาน้ำดื่มติดตัวไว้ และจิบระหว่างพูดบ้าง เพื่อไม่ให้คอแห้ง
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ มีประโยชน์ทั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ อีกทั้งยังช่วยชะลอความรุนแรงของโรคในบางรายที่เกิดการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

อาการคันคอเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งสามารถรักษาและป้องกันได้ไม่ยาก นอกจากจะมีอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่รุนแรง

หากคุณมีอาการคันคอ ลองรักษาตามคำแนะนำที่กล่าวไปข้างต้นก่อน หากอาการยังไม่ดีขึ้นและมีผลข้างเคียงอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่า อาการเหล่านั้นเกิดจากอะไร เพื่อจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Deborah Weatherspoon, Everything you need to know about itchy throat (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317066), 20 August 2020.
Cameron White, Everything You Need To Know About Throat Irritation (https://www.healthline.com/health/itchy-throat), 20 August 2020.
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) (http://www.rcot.org/2016/People/Detail/14), 20 สิงหาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โปรตีน (Protein) คืออะไร?
โปรตีน (Protein) คืออะไร?

เนื้อเยื่อทุกๆส่วนของร่างกายนั้น ล้วนมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ

อ่านเพิ่ม