กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Q&A ทำแบบนี้จะตั้งครรภ์หรือไม่?

มีความเชื่อผิดๆ มากมายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ขึ้น หากปฏิบัติตามความเชื่อเหล่านี้
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Q&A ทำแบบนี้จะตั้งครรภ์หรือไม่?

การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร ซึ่งก็อาจนำไปสู่การทำแท้งและปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย ปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ขึ้น คือความเชื่อและความเข้าใจผิดต่างๆ ดังนี้

  1. ผู้หญิงสามารถตั้งครรภ์ในช่วงใดของรอบเดือนก็ได้จริงหรือไม่?
    ไม่จริง : การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่ออสุจิของผู้ชายเข้าไปยังไข่ของผู้หญิง โดยโอกาสที่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น มีเวลาประมาณ 6 วันในแต่ละรอบเดือนเท่านั้น คือห้าวันก่อนการตกไข่ (Ovulation) และหนึ่งวันหลังตกไข่ เมื่อไข่ถูกปล่อยออกจากรังไข่เข้าไปยังท่อนำไข่ (Fallopian Tube) โดยมากจะใช้เวลาประมาณ 13-15 วันก่อนมีประจำเดือน และเมื่อไข่ปล่อยออกมา จะมีช่วงเวลาให้ปฏิสนธิประมาณ 12-24 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนอสุจิจะอยู่ในร่างกายได้ประมาณ 5 วัน หากคุณมีเพศสัมพันธ์แบบการสอดใส่ภายในวันที่กำลังจะเกิดการตกไข่ อสุจิที่ตกค้างภายในก็สามารถเข้าไปปฏิสนธิกับไข่และอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้
  2. การหลั่งภายนอก ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% จริงหรือไม่?
    ไม่จริง : วิธีการหลั่งภายนอก คือการที่ผู้ชายถอนองคชาตออกจากช่องคลอดของผู้หญิง และนำออกไปให้ห่างจากอวัยวะเพศก่อนหลั่งน้ำเชื้อออก โดยทั่วไปแล้ววิธีนี้ไม่นับว่าเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพใด ๆ เพราะพบว่าคู่นอนที่ใช้วิธีหลั่งภายนอกมีโอกาสตั้งครรภ์สูงถึง 27% และในน้ำหล่อลื่นจากองคชาติผู้ชาย (Pre-Ejaculatory Fluid หรือ Pre-Cum) ก็ยังมีอสุจิอยู่บ้างเล็กน้อย
  3. การมีเพศสัมพันธ์ในท่ายืน จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้หรือไม่?
    ไม่ได้ : การศึกษาในปี 2010 พบว่าผู้ชาย 18% ในการศึกษา เชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์ในท่ายืนจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริงเลย
  4. การตั้งครรภ์จะไม่เกิดขึ้น หากมีการทำความสะอาดช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์จริงหรือไม่?
    ไม่จริง : ไม่ว่าจะล้างด้วยน้ำเปล่า หรือเคมีภัณฑ์ใดๆ ก็ตาม ไม่ได้ช่วยทำให้เลี่ยงการตั้งครรภ์ได้ และยังมีงานวิจัยระบุไว้ว่า การสวนล้างช่องคลอดอาจเพิ่มโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียและยีสต์ โรคเชิงกรานอักเสบ โรคมะเร็งมดลูก และเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้น
  5. การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้จริงหรือไม่
    ไม่จริง : อสุจิสามารถอาศัยอยู่ภายในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงได้นาน 3-5 วัน แต่ไม่สามารถอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารได้ ดังนั้นการกลืนน้ำเชื้อลงไปจึงไม่สามารถทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ แต่ถ้าปากไปสัมผัสกับอวัยวะเพศที่มีเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก็อาจทำให้ได้รับเชื้อนั้นๆ ได้
  6. การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักทำให้ตั้งครรภ์ได้หรือไม่?
    มีโอกาสเกิดขึ้นบ้าง แต่น้อยมาก : เพราะระยะห่างระหว่างช่องคลอดกับทวารหนักมีน้อยมาก การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ก็มีโอกาสที่อสุจิจะเข้าไปในช่องคลอดและทำให้ตั้งท้องได้
  7. หากไม่ถึงจุดสุดยอด จะไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจริงหรือไม่?
    ไม่จริง เพราะการตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้แม้ไม่ถึงจุดสุดยอด : วิธีเดียวที่คุณสามารถเข้าถึงจุดสุดยอดโดยไม่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ คือการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง
  8. การใช้ถุงยางอนามัยซ้อนกันสองชิ้นจะได้ผลดีกว่าการใช้เพียงชิ้นเดียวหรือไม่?
    ไม่จริง : หากใช้อย่างถูกต้อง ถุงยางอนามัยเพียงชิ้นเดียวก็สามารถป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อได้ และถ้าหากคุณสวมถุงยางอนามัยพร้อมกันสองชิ้น ก็มีโอกาสที่จะทำให้ถุงยางทั้งสองเสียดสีกัน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการฉีกขาดมากขึ้น

ที่มาของข้อมูล

Jen Bell, Can you get pregnant from that? (https://helloclue.com/articles/sex/can-you-get-pregnant-from-that), 12 ธันวาคม 2017

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
2009 H1N1 Influenza Shots and Pregnant Women: Questions and Answers for Patients. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/h1n1flu/vaccination/pregnant_qa.htm)
How do I know if an ectopic pregnancy is causing my cramps?. WebMD. (https://www.webmd.com/women/qa/how-do-i-know-if-an-ectopic-pregnancy-is-causing-my-cramps)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม