กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้านขณะตั้งครรภ์มีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่

มีสัตว์เลี้ยงอยู่แล้วก่อนตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ อ่านวิธีป้องกันและสาเหตุของความเสี่ยงได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้านขณะตั้งครรภ์มีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่

หลายครอบครัวมีการเลี้ยงสัตว์ไว้ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ อาจมีความกังวลว่าการเลี้ยงสัตว์ในบ้าน มีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่

สัตว์เลี้ยงในบ้านทำให้คนในบ้านติดเชื้อไหม?

เนื่องจากสัตว์เลี้ยงสามารถนำมาซึ่งเชื้อโรค หรือเป็นพาหะนำเชื้อโรคบางอย่างมาสู่คนได้ อย่างเช่น แมวเป็นพาหะนำเชื้อโรคท็อกโซพลาสดมซิสมาสู่คน แต่จากงานวิจัยพบว่า หากเลี้ยงแมวเป็นเวลานาน ร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทานเชื้อนี้มากพอจนไม่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สัตว์เลี้ยงในบ้านมีผลต่อทารกในครรภ์ไหม?

บางครั้งสัตว์เลี้ยงของเราสามารถนำเชื้อโรคใหม่ที่ร่างกายยังไม่มีภูมิต้านทานมาให้ด้วย ทำให้อาจเกิดการติดเชื้อและอาจมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นการเลี้ยงสัตว์ในบ้าน ขณะตั้งครรภ์นั้นสามารถทำได้ แต่มีข้อควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

  1. นำสัตว์เลี้ยงในบ้านไปพบสัตวแพทย์ เพื่อทดสอบว่ามีเชื้อโรคอยู่ในตัวหรือไม่ ถ้าพบว่ามีรอยโรคต่างๆ ควรแยกสัตว์เลี้ยงไปพักรักษาจนพ้นระยะนำโรค ถ้าหากไม่มี เราก็ควรป้องกันสัตว์เลี้ยงไม่ให้รับเชื้อเข้ามา เช่น ถ้าเลี้ยงแมวก็อย่าปล่อยให้ล่าหนู หรือให้อาหารที่เป็นเนื้อสดกินในช่วงนี้
  2. หากเราต้องจับต้องตัวสัตว์เลี้ยง ควรใส่ถุงมือป้องกัน หรือล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังสัมผัส
  3. ใส่ถุงมือทุกครั้งที่ต้องจับต้องดินทรายในสวน ซึ่งอาจมีสัตว์เลี้ยงขับถ่ายทิ้งไว้
  4. ล้างผักสวนครัวให้สะอาดทุกกลีบทุกใบ ก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร
  5. ไม่ทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรือดื่มนมที่ไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อมาก่อน

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hsin-Yi Weng, Practices and Perceptions of Animal Contact and Associated Health Outcomes in Pregnant Women and New Mothers (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...), 1 February 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม