Nutrilite
ชื่อผู้สนับสนุน
Nutrilite

Probiotic ตัวช่วยซ่อมสุขภาพสำหรับคนรุ่นใหม่

รู้จัก Probiotic จุลินทรีย์มีชีวิตในลำไส้ ประโยชน์ และแหล่งอาหารเพิ่ม Probiotic เพื่อให้ประโยชน์แก่สุขภาพ
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ธ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Probiotic ตัวช่วยซ่อมสุขภาพสำหรับคนรุ่นใหม่

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • Probiotic คือจุลินทรีย์มีชีวิต ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ส่วนใหญ่แล้วมักหมายถึงแบคทีเรียชนิดดีที่อยู่ในลำไส้ใหญ่
  • การรักษาสมดุลประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ช่วยส่งเสริมระบบการย่อย การทำงานของสมอง หัวใจ ภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งขึ้น ฯลฯ
  • Probiotic เข้าสู่ร่างกายได้ผ่านการกิน โดยมักอยู่ในรูปแบบอาหารหมักดอง เช่น กิมจิ ชีส นมเปรี้ยว รวมถึงมี Probiotic ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วย

ทำงานหนัก เที่ยวบ่อย กิน-ดื่มเต็มที่โดยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ทางโภชนาการ รวมถึงละเลยการนอนหลับพักผ่อน ดูจะเป็นไลฟ์สไตล์ของรุ่นใหม่จำนวนมาก การใช้ร่างกายอย่างสมบุกสมบันอย่างนี้สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ โดยเฉพาะส่วนหนึ่งของร่างกายที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และหลายคนอาจไม่เคยรู้จักเลยว่ามีความสำคัญแค่ไหน นั่นคือสมดุลประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพเปรียบดั่งอวัยวะที่ถูกลืม

จุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ทำไมต้องมี?

จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ภายในร่างกายมนุษย์ซึ่งมีจำนวนเซลล์มหาศาล กล่าวคือ จำนวนเซลล์จุลินทรีย์ในร่างกายของแต่ละคนมีมากกว่าจำนวนเซลล์มนุษย์ถึง 10 เท่า เฉพาะแค่ในลำไส้ใหญ่ก็มีไม่ต่ำกว่า 1014 ตัว

จุลินทรีย์เหล่านี้อาศัยอยู่ในร่างกายของเราแบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน การที่จุลินทรีย์จะทำงานได้ดี ให้ประโยชน์แก่ร่างกายของเราอย่างที่กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว ก็สอดคล้องกับการที่เราเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม เพราะจะช่วยเลี้ยงดูให้จุลินทรีย์มีชีวิตและเพิ่มจำนวนขึ้น

นอกจากนี้ ในลำไส้ใหญ่ยังมีเม็ดเลือดขาวที่ชื่อว่า Gut-Associated Lymphoid Tissue (GALT) จำนวนมาก เม็ดเลือดขาวเหล่านี้ถือเป็น 70% ของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

สุขภาพที่แข็งแรงจึงเริ่มต้นขึ้นในลำไส้ โดยมีปฏิกิริยาระหว่างประชากรจุลินทรีย์และกองทัพเม็ดเลือดขาวเป็นพื้นฐานสำคัญ

Probiotic จุลินทรีย์มีขีวิต

จุลินทรีย์ในร่างกายมนุษย์มีจำนวนมากอย่างที่บอกไปแล้ว และยังมีหลายชนิด ชนิดที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เรียกกว่า โพรไบโอติก (Probiotic)

ส่วนใหญ่แล้วมักหมายถึงแบคทีเรียชนิดดี แต่จริงๆ แล้วในร่างกายของมนุษย์ยังมีจุลินทรีย์อื่นๆ ที่ทำหน้าที่เป็น Probiotic ได้ด้วย เช่น ยีสต์บางชนิด

ประโยชน์ของ Probiotic

Probiotic จะให้ประโยชน์แก่ร่างกายเมื่อรับประทานเข้าไปในปริมาณเหมาะสม เช่น

  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • ช่วยให้การย่อยดีขึ้น
  • เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยให้ผิวดูเปล่งปลั่งขึ้น
  • ลดความเครียด
  • ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ
  • มีส่วนช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทต่างๆ ที่มีผลต่อการทำงานของสมอง
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางอย่าง

มีงานวิจัยที่ใช้โพรไบโอติกในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมในการรักษาโรค เช่น อาหารเป็นพิษ ท้องเสียจากไม่ย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม ท้องเสียจากการกินยาปฏิชีวนะ ลำไส้แปรปรวน ท้องผูก ภูมิแพ้ เป็นต้น

กินอะไร ถึงจะช่วยเพิ่ม Probiotic ในร่างกาย

โพรไบโอติกมักอยู่ในอาหารหมักดอง สามารถหาได้ใกล้ตัว เช่น โยเกิร์ต กิมจิ ผักดอง ปลาร้า นมเปรี้ยว ข้าวเม่า นัตโตะ มิโสะ เทมเป้ คอมบูชา ชีสบางชนิด

อาหารที่มี Probiotic

สำหรับบางคนที่อยากเพิ่ม Probiotic แต่ไม่ค่อยถูกปากอาหารหมักดองเท่าไรนัก หรือมีภาวะแพ้แลคโตส ทำให้กินพวกโยเกิร์ต นมเปรี้ยว ชีส ไม่ได้ การรับประทาน Probiotic ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

และเพื่อให้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ ควรเจาะจงเลือกผลิตภัณฑ์ที่มั่นใจได้ว่า Probiotic ยังมีชีวิตอยู่ มีปริมาณไม่น้อยกว่า 6.3 billion CFU และเป็นชนิดทนต่อน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เพื่อให้แน่ใจว่าเหล่า Probiotic จะเดินทางไปถึงลำไส้ รวมถึงมีอินูลินซึ่งเป็นอาหารโพรไบโอติก (Synbiotics) ร่วมด้วย เพื่อจะได้เลี้ยงให้จุลินทรีย์มีชีวิต

อีกจุดที่ควรใส่ใจคือ โพรไบโอติกในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นควรจะยึดเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่ได้ ไม่หลุดหรือถูกขับถ่ายออกไปก่อนจะร่างกายจะดูดซึมไปใช้ประโยชน์

ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ทำให้ประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่มีโอกาสเสียสมดุลได้มาก การรับประทานอาหารโพรไบโอติกเสริมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการซ่อมแซมสุขภาพ แต่การซ่อมร่างจะเห็นผลดีและยั่งยืนสุด หากแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ควรปรับสมดุลการใช้ชีวิต ไม่ทำงานมากเกินจนเครียด ดื่มสุราแค่พอประมาณ รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารทอด และหาเวลาให้ร่างกายได้นอนหลับพักผ่อนซ่อมแซมสุขภาพด้วยกลไกทางธรรมชาติอย่างแท้จริง

ข้อมูลโดย พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (หมอผิง)

สนับสนุนข้อมูลโดย สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์

#คิดถึงโพรไบโอติกคิดถึงนิวทริไลท์


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kris Gunnars, Probiotics 101: A Simple Beginner's Guide (https://www.healthline.com/nutrition/probiotics-101), 9 December 2020.
Hrefna Palsdottir, 11 Probiotic Foods That Are Super Healthy (https://www.healthline.com/nutrition/11-super-healthy-probiotic-foods), 28 August 2018.
ร.ศ. วิมล ศรีศุข, 4 ขั้นตอน การเลือกโพรไบโอติคส์ (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/22/การเลือกโพรไบโอติคส์-Probiotics/), 11 August 2553.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)