Nutrilite
ชื่อผู้สนับสนุน
Nutrilite

ลดน้ำหนักแบบองค์รวม ด้วย Probiotic หรือจุลินทรีย์มีประโยชน์

ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ด้วยการเลือกกินให้ถูก สร้างสมดุลให้จุลินทรีย์ในลำไส้ ได้ประโยชน์มากกว่าที่คิด
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ก.พ. 2021 อัปเดตล่าสุด 4 ก.พ. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ลดน้ำหนักแบบองค์รวม ด้วย Probiotic หรือจุลินทรีย์มีประโยชน์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • น้ำหนักเยอะเกินไป ไม่ได้มีผลต่อความสวยงามหรือความมั่นใจเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดัน ข้อเข่า ฯลฯ
  • บางคนลดน้ำหนักง่าย บางคนลดยาก สิ่งหนึ่งที่มีผลคือจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือ Probiotic
  • Probiotic เป็นปัจจัยเนื่องที่มีผลต่อการเผาผลาญ การดูดซึมสารอาหาร การขับถ่าย การสะสมของไขมัน ความอยากอาหาร
  • สามารถเพิ่ม Probiotic ได้จากอาหารจำพวกหมักดอง หรือเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสายพันธุ์ Probiotic ที่คัดเลือกมาโดยเฉพาะ

หลายคนมักคิดว่าการลดน้ำหนักหรือการลดความอ้วนให้ได้ผลนั้น ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การลดปริมาณอาหารลง หรือเลือกเว้นแป้ง ไขมัน ซึ่งให้พลังงานสูงและสะสมในร่างกายได้ แต่ความจริงแล้วยังมีสิ่งอื่นที่ช่วยส่งเสริมการลดน้ำหนักหรือการลดความอ้วน ทว่ามักถูกละเลย นั่นก็คือ การสร้างสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งส่งผลต่อความอยากอาหาร รวมถึงช่วยให้การขับถ่ายมีประสิทธิภาพด้วย

ทำไมต้องลดน้ำหนัก?

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการส่งเสริมให้ทุกคนรักและภูมิใจในรูปร่างของตนเอง ไม่จำเป็นของผอมบางตามกระแสนิยม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีน้ำหนักตัวมากเกินไปนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคตับ ข้อเข่าเสื่อม มีปัญหาในการหายใจ ฯลฯ

องค์การอนามัยโลกได้ระบุชัดเจนว่า โรคอ้วน (Obesity) ถือเป็นโรคหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนของคนที่เป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นมากในแต่ละปี และแม้วิทยาการทางการแพทย์จะก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิมมาก จนช่วยบรรเทาอาการให้ผู้ป่วยยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่การรักษาโรคเหล่านี้ก็ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนไม่น้อย ยังไม่นับว่าหากควบคุมโรคประจำตัวได้ไม่ดีก็จะทำให้เป็นโรคอื่นที่ร้ายแรงขึ้นต่อไปได้อีก

กล่าวได้ว่า การแก้ปัญหาสุขภาพที่ต้นเหตุด้วยการควบคุมน้ำหนักนั้นให้ประโยชน์และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ทำไมบางคนอ้วนง่าย ลดน้ำหนักยาก?

อาจจะเคยสังเกตกันว่า บางคนกินอะไรนิดหน่อยก็อ้วนง่าย ในขณะที่อีกคนผอมบางทั้งที่กินเยอะ หรือบางคนที่อ้วนพอๆ กัน ลดน้ำหนักด้วยวิธีเดียวกัน แต่ผลลัพธ์กลับออกมาแตกต่างกัน

สาเหตุที่เป็นเช่นกันเนื่องจากแต่ละคนมีปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อน้ำหนักแตกต่างกัน เช่น

  • พันธุกรรม
  • พฤติกรรมหรือลักษณะการใช้ชีวิต
  • การเลือกรับประทานอาหาร
  • สมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย
  • การได้รับยาฆ่าเชื้อ
  • ความเครียด
  • สารพิษรอบๆ ตัว

สำหรับบทความนี้จะเน้นเรื่อง จุลินทรีย์ในลำไส้ หรือ Probiotic เนื่องจากเป็นสิ่งเล็กๆ ที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ส่งผลต่อหลายระบบในร่างกาย รวมถึงด้านน้ำหนักด้วย ซึ่งหากเข้าใจการทำงานของมันแล้ว อาจช่วยให้การลดน้ำหนักหรือการลดความอ้วนของคุณได้ผลยิ่งขึ้น

Probiotic คืออะไร?

โพรไบโอติก (Probiotic) คือ จุลินทรีย์มีชีวิตที่มีประโยชน์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น

จุลินทรีย์ที่ว่านี้อยู่รวมกันหนาแน่นเป็นชุมชน เรียกว่า ไมโครไบโอม (Microbiome) ณ บริเวณลำไส้ นำมาสู่คำกล่าวที่ว่า “สุขภาพดี เริ่มต้นที่ลำไส้”

ชนิดของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่เกี่ยวข้องกับความอ้วนนั้น พบว่ามีสายพันธุ์ เช่น

ด้วยความที่ร่างกายแต่ละคนมีจุลินทรีย์ได้ร่างกายต่างสายพันธุ์กัน ปริมาณต่างกัน จึงส่งผลต่อการเผาผลาญและการควบคุมน้ำหนักที่แตกต่างกันไปด้วย

Probiotics ช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร?

มีการศึกษาวิจัยที่พบว่า Probiotics หรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ของคนเราทำหน้าที่สำคัญและมีบทบาทมากต่อกระบวนการการเผาผลาญของร่างกาย การดูดซึมสารอาหาร การขับถ่าย การสะสมของไขมัน รวมถึงความอยากอาหาร

ตัวอย่าง Probiotic หรือจุลินทรีย์ที่พบว่ามีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมอาหารและขับถ่าย ที่หลายคนคุ้นชื่อกันดี ได้แก่ Probiotic ตระกูลแล็กโตบาซิลลัส (Lactobacillus family)

คนเราเมื่อรับประทานอาหารเข้าไปแล้ว อาหารจะเดินทางสู่ลำไส้แล้วถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย บริเวณลำไส้นี้มี Probiotic หรือจุลินทรีย์มีประโยชน์ที่จะช่วยย่อยและเปลี่ยนแปลงอาหารเป็นกรดไขมัน (SCFA) ซึ่งมีผลต่อการสร้างพลังงานระดับเซลล์ รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกันของเรา จากนั้นกรดไขมันดังกล่าวจะถูกส่งไปที่ตับ เพื่อสะสมพลังงานในตับและส่วนต่างๆ ของร่างกาย

กลไกลดน้ำหนัก หรือ ลดความอ้วน ด้วย Probiotic แบบที่ค่อนข้างมีผลโดยตรง จะเริ่มตั้งแต่ Probiotic ลดการหลั่งฮอร์โมนจีแอลพี1 (GLP-1) ซึ่งส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการเผาผลาญไขมัน โดยไปเพิ่มกลุ่มของโปรตีนที่จะไปลดการเก็บสะสมไขมัน (ANGPTL4) เป็นต้น

อีกหน้าที่สำคัญของ Probiotic คือ ควบคุมการอักเสบของร่างกาย (Inflammation) เมื่อไม่มีการอักเสบ ระบบต่างๆ ก็จะทำงานได้ดี รวมถึงระบบการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมหรือลดน้ำหนักเช่นกัน

จะหา Probiotic ได้จากที่ไหน?

คุณสามารถเพิ่มปริมาณ Probiotic ในลำไส้ได้ด้วยการรับประทาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว Probiotic มักอยู่ในอาหารประเภทหมักดอง เช่น โยเกิร์ต กิมจิ ผักดอง นมเปรี้ยว มิโสะ เทมเป้ ฯลฯ

อีกทางเลือกสำหรับคนที่ไม่ชอบรสชาติอาหารหมักดอง หรือต้องการเจาะลงประเภทจุลินทรีย์มีประโยชน์ที่จะเข้าสู่ร่างกาย อาจเลือก Probiotic ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยควรศึกษาส่วนประกอบที่แสดงในฉลากผลิตภัณฑ์อย่างถี่ถ้วน และไม่ลืมปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานหากมีโรคประจำตัว เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โพรไบโอติกที่ดีอาจพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้

  • เป็น Probiotic ที่ระบุสายพันธุ์คุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจง
  • เป็น Probiotic ที่ยังมีชีวิต เป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรง สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรงในกระเพาะอาหารได้ ทำให้จุลินทรีย์ไปถึงลำไส้ได้โดยที่ยังมีชีวิต และพร้อมที่จะทำงานให้คุณ
  • เป็น Probiotic สายพันธุ์ที่สามารถยึดเกาะกับผนังลำไส้ได้ดี ทำให้ไม่ถูกขับถ่ายออกไป เพื่อช่วยส่งเสริมการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่ดีเมื่อใช้อย่างต่อเนื่อง
  • มีอินูลินเป็นอาหาร Probiotic เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ดีมีชีวิตอยู่รอดและแข็งแรง

วิธีที่จะทำให้น้ำหนักลดมีหลายวิธี ที่สำคัญคือควรเลือกวิธีที่ไม่ทำร้ายสุขภาพ อาจใช้เวลานานสักหน่อย แต่ปลอดภัยในระยะยาว การลดน้ำหนักแบบองค์รวม ด้วย Probiotic หรือจุลินทรีย์มีประโยชน์ ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง

สนับสนุนข้อมูลโดย สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์
#คิดถึงโพรไบโอติกคิดถึงนิวทริไลท์


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
B;, W. (n.d.). Probiotics for the Treatment of Overweight and Obesity in Humans-A Review of Clinical Trials. Retrieved November 30, 2020, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32751306/
Million M, Angelakis E, Maraninchi M, Henry M, Giorgi R, Valero R, et al. Correlation between body mass index and gut concentrations of Lactobacillus reuteri, Bifidobacterium animalis, Methanobrevibacter smithii and Escherichia coli. International journal of obesity. 2013;37(11):1460–1466. [Europe PMC free article][Abstract] [Google Scholar]
Ley RE, Backhed F, Turnbaugh P, Lozupone CA, Knight RD, Gordon JI. Obesity alters gut microbial ecology. Proc Natl Acad Sci U S A. 2005;102(31):11070–11075.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)