เคล็ดลับ 4 ประการในการป้องกันอาการตาล้าและโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เคล็ดลับ 4 ประการในการป้องกันอาการตาล้าและโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

หากคุณรู้สึกเหนื่อยล้าขณะทำงานโดยการจ้องมองคอมพิวเตอร์ โปรดทำตามเคล็ดลับง่ายๆอันนี้ หากคุณใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน คุณอาจได้รับผลกระทบจากโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (CVS) มันเป็นโรคที่มีอาการอันเกิดมาจากการนั่งจ้องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ 

อาการหลักๆ ที่พบได้บ่อยได้แก่ สายตาล้า ตาแห้ง การระคายเคืองตา อาการเหนื่อยล้าหรือปวดหัว นี่คือเคล็ดลับในการช่วยลดอาการตาล้ามีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. กระพริบตาบ่อยๆ

เมื่อคุณจ้องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดิจิตอล มักพบว่าคุณจะกระพริบตาน้อยกว่าเวลาปกติ 2-3 เท่า จึงเป็นสาเหตุของอาการตาแห้ง การกระพริบตาจะช่วยให้ตาชุ่มชื่นซึ่งเป็นวิธีการรักษาตาโดยธรรมชาติ

2. จงทำตามกฎ 20/20/20

เมื่อเราใช้เวลานานๆอยู่หน้าอุปกรณ์ดิจิตอล ทุกๆ 20 นาที ขอให้ใช้เวลา 20 วินาทีในการจ้องมองสิ่งของรอบข้างที่ห่างออกไป 20 ฟุต เพื่อเป็นการพักผ่อนสายตา

3. การใช้แสงในปริมาณที่เหมาะสม

เพื่อที่จะทำให้ผ่อนคลายอาการตาล้า การที่มีแสงสว่างส่องอยู่เหนือหัวบนบริเวณโต๊ะทำงานเป็นเรื่องสำคัญ และตำแหน่งของจอคอมพิวเตอร์ก็ไม่ควรที่จะสะท้อนแสงไฟ

4. การจัดวางจอคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม

การจัดวางจอคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดคือการวาง 15 -20 องศาต่ำกว่าบริเวณระดับสายตา(ประมาณ 4-5 นิ้ว)และระยะระหว่างตรงกลางของจอควรห่างจากสายตา 20-28 นิ้ว


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Computer Eye Strain: How to Prevent Eye Strain From Screen Time. WebMD. (https://www.webmd.com/eye-health/prevent-digital-eyestrain)
10 tips for computer eye strain relief. All About Vision. (https://www.allaboutvision.com/cvs/irritated.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)