กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

วิธีแก้อาการปวดหลังของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

ปวดหลังขณะตั้งครรภ์ ปัญหาที่สามารถแก้ไขและป้องกันได้ ด้วยการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันง่ายๆ ในบทความนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีแก้อาการปวดหลังของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดหลัง เนื่องจากต้องรับน้ำหนักที่มากขึ้นกว่าปกติ ทำให้คุณแม่ต้องเดินในท่าที่ต้องแอ่นตัวเพื่อถ่วงดุลน้ำหนัก ส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนหลังตึงและเครียดอยู่ตลอดเวลา วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือการฝึกร่างกายและกล้ามเนื้อส่วนหลังให้สอดคล้องกับภาวะการตั้งครรภ์ โดยต้องฝึกด้วยความระมัดระวังการทรงตัว การฝึกทั้งหมดนี้ควรเริ่มทันทีที่รู้ว่าเริ่มตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนหลังมากเกินไป

การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนหลัง ควรเริ่มจาก

  • ฝึกการเคลื่อนไหวในท่าที่สมดุล
  • บริหารกล้ามเนื้อท้องและเน้นให้กระดูกเชิงกรานทำงานให้ดีขึ้น ด้วยการบริหารง่ายๆ ด้วยท่าแมว (Cat Pose) ซึ่งท่านี้จะเป็นการเลียนแบบท่าของแมวเวลาโก่งตัว

    เริ่มจากคุกเข่าในท่าคลานสี่ขา เหยียดหลังให้ตรงที่สุด จากนั้นหายใจเข้าให้เต็มปอด แล้วค่อยๆ โก่งหลัง แขม่วหน้าท้อง ดันสะโพกไปทางด้านหน้า พร้อมกับหายใจออก โดยพยายามโก่งหลังให้โค้งมากๆ (เท่าที่คุณแม่รู้สึกสบาย ถ้ารู้สึกเกร็งเกินไปแสดงว่าโก่งหลังเยอะเกินไป) เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนหลัง และเป็นการให้กล้ามเนื้อหน้าท้องทำงานได้เต็มที่ จากนั้นค่อยๆ ดันสะโพกกลับไปยังตำแหน่งเดิมและกลับเข้าสู่ท่าคลานสี่ขา ทำสลับไปมา 10 - 15 ครั้ง / รอบ บริหารแบบนี้ประมาณ 3 - 5 รอบต่อวัน

  • บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยฝึกได้ด้วยการขมิบก้น (เหมือนเวลากลั้นอุจจาระ) ขณะเดียวกันก็เกร็งปากช่องคลอด (เหมือนเวลากลั้นปัสสาวะ) ขมิบเกร็งให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วผ่อนคลายกล้ามเนื้อลง ทำสลับกันเช่นนี้ประมาณ 10 - 15 ครั้ง / รอบ ในหนึ่งวันควรฝึกบริหารแบบนี้ประมาณ 5 - 8 รอบต่อวัน
  • ควรควบคุมอาหารให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  • ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป หรือรองเท้าที่ไม่มีส้นเลย เพราะตามหลักการแพทย์แล้ว คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรใส่รองเท้าที่มีส้นประมาณ 1 - 2 นิ้ว เพื่อให้ร่างกายอยู่ในความสมดุลและมีน้ำหนักอยู่ในช่วงกลางลำตัว การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมจะทำให้มีการทรงตัวที่ดี
  • กรณีที่ต้องมีการยกของหนัก ควรฝึกวิธียกของหนักจากพื้น หรืออุ้มเด็กที่ถูกต้อง ไม่ใช่ก้มลงยกจากพื้นขึ้นมาตรงๆ จะทำให้กล้ามเนื้อหลังรับน้ำหนักมากเกินไป วิธีที่ถูกต้องคือ ยืนตัวตรง แยกเท้าออกเท่าช่วงสะโพกโดยให้ปลายเท้าเฉียงออกประมาณ 45 องศา งอเข่าเล็กน้อย แล้วหย่อนตัวลงโดยให้น้ำหนักตัวอยู่ตรงกลางลำตัวและลงที่สะโพกแล้วยกของ โดยใช้แขนและไหล่ แล้วใช้กำลังขายกพยุงตัวขึ้นไม่ใช่ใช้หลัง แต่หากมีอาการปวดหลังอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักหรืออุ้มเด็กจากพื้นและควรหาคนช่วยยกจะดีกว่า
  • หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ ถ้าจำเป็นควรหาเก้าอี้เตี้ยๆ มารองขาข้างหนึ่ง และถ้ายืนอยู่บนพื้นแข็งๆ ควรหาผ้าหรือพรมเช็ดเท้ามารองพื้น
  • ฝึกการนั่งให้ถูกต้อง ซึ่งสามารถฝึกได้โดยการนั่งในเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลังและแขน เบาะไม่นุ่มเกินไป ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง นั่งในท่าเอนนอนเล็กน้อย พิงพนักเก้าอี้ในท่าผ่อนคลายและควรมีเก้าอี้เตี้ยๆ รองรับเท้า และไม่ควรนุ่งนานเกินไป ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก 1 ชั่วโมงโดยประมาณ
  • ฝึกการนอนและลุกจากที่นอนที่ถูกต้อง
  • หากปวดหลังมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้เสื้อพยุงรัดในการช่วยผ่อนแรงกล้ามเนื้อ
  • หลีกเลี่ยงการหยิบของจากที่สูงหรือต้องปีนป่าย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Multiple authors, Pregnancy Yoga Stretches for Back, Hips, and Legs (https://www.healthline.com/hea...), 21 July 2016
Alicia Silva, MSPT, Strengthening Exercises for Back Pain During Pregnancy (https://www.spine-health.com/c...), 21 December 2004

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม