กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การดูแลหลังคลอด (Postpartum care)

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การดูแลหลังคลอด (Postpartum care)

เมื่อคุณกลับถึงบ้านจากโรงพยาบาลแล้วคุณจะจดจ่ออยู่กับการดูแลลูกน้อยใหม่ของคุณเป็นแน่ อย่างไรก็ตาม คุณก็ไม่ควรลืมเกี่ยวกับคนสำคัญอีกคนได้ นั่นคือการดูแลตัวคุณเอง!

ร่างกายของคุณจะยังคงต้องพักฟื้นจากระยะเวลาเก้าเดือนของการแบกอีกหนึ่งชีวิตไปๆ มาๆ บำรุงทารกที่กำลังเติบโตขึ้นทุกวันๆ - ไม่รวมถึงการคลอดที่เหน็ดเหนื่อยนั่นอีก ให้แน่ใจว่าจะสามารถดูแลตัวคุณเองในสัปดาห์หลังคลอดให้ดีที่สุด เพื่อให้คุณสามารถฟื้นคืนร่างกายได้เร็วขึ้น และมีพลังงานเพียงพอที่จะดูแลลูกน้อยของคุณต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รายการสิ่งที่ทำให้ฟื้นฟูได้เร็วขึ้นหลังคลอด

  • จำกัดจำนวนคนมาเยี่ยมคุณและลูก เพื่อให้คุณและลูกน้อยสามารถพักผ่อนได้เพียงพอ
  • หาคนช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องการทำความสะอาดและการทำอาหาร
  • ทำตามคำแนะนำของแพทย์สำหรับการพักฟื้น
  • ยกเท้าขึ้นเหนือศีรษะ เพื่อป้องกันอาการบวมที่ขา
  • แช่ในอ่างน้ำอุ่น เพื่อบรรเทาอาการไม่สบายบริเวณช่องคลอด
  • ใช้ครีมหรือโลชั่นทา เพื่อทำให้รอยแตกบริเวณท้องจางลง
  • กินผลไม้ ผัก และธัญพืชให้มากๆ
  • สวมชุดชั้นในที่กระชับ และมีโครงช่วยพยุงเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก
  • หากให้นมบุตรเอง ลองใช้ครีมหัวนมหากมีอาการเจ็บหัวนม
  • แต่หากไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลองสอบถามแพทย์หรือพยาบาลของคุณเกี่ยวกับการดูแลเต้านม
  • ดื่มน้ำให้มาก และรับประทานอาหารที่มีเส้นใยเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
  • นัดพบแพทย์ติดตามผลหลังคลอดด้วย
  • อย่าพยายามลดน้ำหนักหลังคลอดเร็วเกินไป - ค่อยๆลดไปอย่างช้าๆ
  • ถ้าคุณรู้สึกเศร้า พูดคุยกับเพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวให้มากๆ
  • ถ้าความเศร้านั้นเกิดขึ้นนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ให้โทรไปหาหมอหรือเข้ารับการปรึกษาทันที
  • ดูแลตัวคุณเองให้ดีเพื่อให้คุณมีพลังงานมากขึ้นสำหรับลูกน้อยของคุณ
  • สามารถปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับอาการท้องผูกหรือโรคริดสีดวงทวารซึ่งอาจเกิดขึ้นได้
  • หาเวลาว่างให้กับตัวคุณเอง และขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเมื่อคุณต้องการ

https://www.webmd.com/baby/guide/postpartum-care-checklist


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO recommendations on postnatal care of the mother and newborn. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/maternal_child_adolescent/documents/postnatal-care-recommendations/en/)
Postpartum Care. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/postpartumcare.html)
Postpartum Care: Tips for the Recovery Process. Healthline. (https://www.healthline.com/health/postpartum-care)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม