หากผู้ป่วยยังตัดสินใจเองได้โดยมีสติสัมปชัญญะครบสมบูรณ์ แน่นอนว่าคนที่ควรเป็นคนตัดสินใจในเรื่องแผนการรักษาควรจะเป็นตัวผู้ป่วยเอง แต่หากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจเองได้แล้ว แพทย์อาจจะต้องถามคนที่มีอำนาจการตัดสินใจแทน ซึ่งความจริงแล้วจะเป็นคนในครอบครัวหรือนอกครอบครัวก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยรู้สึกว่าใครจะสามารถตัดสินใจให้ตนได้ใกล้เคียงกับที่ตนเองจะตัดสินใจมากที่สุด
การเลือกคนมาตัดสินใจแทน หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Power of Attorney: POA จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกๆ คนควรมีโอกาสเลือกเอาไว้ก่อนที่ตนเองจะไม่สามารถตัดสินใจได้ บางครั้ง POA อาจเป็นคนนอกครอบครัวก็ได้ หากผู้ป่วยรู้สึกว่าคนๆ นั้นตัดสินใจให้กับตัวเองได้ดีกว่า ในหลายๆ ประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา หรือแคนาดา การเลือก POA ต้องทำต่อหน้าทนายความ และมีการลงบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร POA แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1) ผู้ตัดสินใจแทนเรื่องเกี่ยวกับการเงิน สำหรับของเมืองไทยเราโดยทั่วไปจะใช้วิธี “บอกกันเอาไว้” หรือ “รู้กันเอง” มากกว่า และ
2) ผู้ตัดสินใจแทนเรื่องสุขภาพ บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องเลือกคนๆ เดียวเป็นผู้ตัดสินใจแทน แต่อาจเลือกสมาชิกหลายๆ คนให้มาร่วมกันเป็นผู้ตัดสินใจ กรณีผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้แล้ว
ที่มา: ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หมอเป้ พญ.ดาริน จตุรภัทรพร
ผู้แต่งหนังสือ สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต | Facebook Page: รักก่อนกำเนิด เกิดก่อนกำหนด | @Lynlanara