กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

จะลดอาการเสียดท้อง ชายโครง และหัวหน่าวช่วงตั้งครรภ์ได้อย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
จะลดอาการเสียดท้อง ชายโครง และหัวหน่าวช่วงตั้งครรภ์ได้อย่างไร

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หลายคนมักจะเจอกับการเสียดท้องน้อย หรือเสียดชายโครง รวมถึงบางครั้งอาจมีการเจ็บหัวหน่าวหลายครั้งตลอดการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการเจ็บที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อร่างกายของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็ว

ทำไมถึงเจ็บเสียดท้องน้อยและชายโครง

สาเหตุมาจากการที่ร่างกายมีการเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็ว เช่น จากนอนเป็นลุกขึ้นนั่ง หรือจากนั่งเป็นลุกขึ้นยืนทันที รวมถึงการเดินขึ้นบันไดหรือการก้าวเท้าสูง ก็จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็ง รัดตัว เร็วเกินไป จนเกิดอาการเจ็บเสียดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทั้งนี้ตลอดการตั้งครรภ์นั้น คุณแม่ที่ตั้งครรภ์บางรายอาจจะมีการเจ็บเสียดบ่อย ในขณะที่บางคนไม่ค่อยเกิดอาการ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน รวมถึงหากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 หรือมากกว่า (ไม่ใช่ท้องแรก) ก็จะเกิดอาการเจ็บเสียดได้ง่ายกว่าคนที่เพิ่งตั้งครรภ์ครั้งแรก เพราะว่าผนังหน้าท้องจะเริ่มไม่กระชับเหมือนคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก

จะดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเกิดการเจ็บเสียด

หากเกิดอาการ ขอให้คุณแม่นอนพัก โดยอาจจะใช้การนอนในท่างอตัว (เหมือนนอนขดเวลารู้สึกหนาว) เพื่อให้ท้องหย่อน โดยปกติอาการจะหายไปภายใน 10 นาที หากยังเจ็บเสียดต่อเนื่องกันทุกๆ 10 นาที (เป็นๆ หายๆ 4-5 ครั้งติดต่อกัน) ขอให้รีบไปพบคุณหมอเพราะอาจจะเกิดการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนด

วิธีป้องกันและดูแลตัวเองเพื่อลดอาการเสียดท้องน้อยและชายโครง

  • ไม่ควรเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็ว ควรจะค่อยๆ ขยับและเปลี่ยนท่าทางอย่างช้าๆ เช่น การเปลี่ยนท่าจากนั่งพื้นแล้วยืน ควรจะเปลี่ยนท่าเป็นท่าคลาน แล้วใช้แรงแขน 2 ข้างเกาะแล้วดึงตัวขึ้น ไม่ควรทำท่านั่งยองแล้วยกตัวขึ้น เพราะจะล้มได้ง่ายกว่า
  • ไม่ควรเดินหรือก้าวเท้าเร็วเกินไป หากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรขึ้นบันได ก้าวเท้าขึ้นที่สูงมากๆ รวมถึงงานบ้านต่างๆ ที่อาจจะทำให้เกิดแรงดันในช่องท้อง ก็ควรจะงดเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงและระมัดระวังอย่าให้เกิดแรงกระทบมดลูกโดยตรง หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงตั้งครรภ์ขอให้หลีกเลี่ยงท่าที่จะทำให้เกิดการกระทบมดลูก (แนะนำให้ใช้ท่านอนตะแคง)

ทำไมถึงเจ็บหัวหน่าว

สาเหตุการเจ็บหัวหน่าวเกิดขึ้นเพราะทารกในครรภ์มีขนาดตัวโตหรือเป็นการตั้งครรภ์แฝด รวมถึงอาจจะเกิดอาการเจ็บเวลาที่ทารกในครรภ์ดิ้นแรงๆ นอกจากนั้นหากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ขึ้นไป ผนังหน้าท้องจะไม่กระชับ ทำให้ครรภ์หย่อนลงมากดทับบริเวณหัวหน่าวได้เหมือนกัน นอกจากนั้นการก้าวขึ้นหรือลงบันไดก็อาจจะทำให้ครรภ์กดทับ ทำให้เกิดการเจ็บปวดได้เช่นกัน

จะดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเกิดการเจ็บหัวหน่าว

หากเกิดอาการ ขอให้คุณแม่หยุดการทำงานหรือการเคลื่อนไหวต่างๆ ควรนั่งหรือนอนพัก

วิธีป้องกันและดูแลตัวเองเพื่อลดอาการเจ็บหัวหน่าว

  • พยายามอย่าเคลื่อนไหวเร็วๆ ให้ใช้การเคลื่อนไหวแบบช้าๆ
  • หลีกเลี่ยงการขึ้นบันได หรือก้าวเท้าสูง
  • หากใช้ผ้าผยุงครรภ์ก็จะช่วยลดอาการได้ส่วนหนึ่ง
  • ระมัดระวังการเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็ว เช่น การลุกขึ้นนั่งจากการนอน อาจจะทำให้เกิดการเจ็บได้ ควรลุกขึ้นด้วยการเปลี่ยนท่าจากนอนเป็นตะแคงข้างก่อน แล้วใช้มือยันพื้นดันตัวขึ้นมา เป็นต้น

7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pelvic pain in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/pelvic-pain-pregnant-spd/)
Pubic Bone Pain in Pregnancy. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/pubic-bone-pain-in-pregnancy-2760034)
Pregnancy-related symphysis pubis dysfunction management and postpartum rehabilitation: two case reports. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3364059/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม