โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) เป็นหนึ่งในชนิดของโรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โรคมะเร็งรังไข่นั้นมีอาการคล้ายกับภาวะผิดปกติอื่นๆ ทำให้สังเกตได้ยากในช่วงแรก และกว่าจะรู้ตัวก็ลุกลามไปถึงระยะท้ายๆ แล้ว ทำให้รักษาได้ยาก
อย่างไรก็ตาม หากรู้ว่า อาการในระยะเริ่มแรกของโรคมะเร็งรังไข่เป็นอย่างไร สามารถสำรวจอาการผิดปกติได้ตัวเอง และไปพบแพทย์ทันทีเมื่อพบอาการผิดปกติ จะช่วยป้องกันไม่ให้มะเร็งรังไข่ลุกลามหนักขึ้นได้
สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่
อาการของโรคมะเร็งรังไข่คล้ายกับความผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ ทำให้สังเกตได้ยาก เช่น
- รู้สึกเบื่ออาหาร
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือแน่นท้องบ่อยๆ
- มีอาการเรอบ่อยขึ้น
- ปัสสาวะบ่อยๆ หรืออาจอั้นปัสสาวะไม่อยู่ จากการที่ก้อนมะเร็งอาจไปเบียดที่กระเพาะปัสสาวะ
- มีเลือดออกเป็นจำนวนมากที่ช่องคลอด โดยไม่ได้เป็นประจำเดือน หรือเกิดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
- มีอาการตกขาว และออกมามีกลิ่นเหม็น
- มีอาการปวดท้อง หรือปวดกระดูกเชิงกราน
- มีอาการขาบวมโดยไร้เหตุผล
- ท้องผูก อาจเกิดจากการที่ก้อนมะเร็งไปเบียดลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่
- คลำเจอก้อนเนื้อที่บริเวณท้องน้อย
- ปวดท้องน้อยมาก
- มีภาวะประจำเดือนผิดปกติ
- มีน้ำในช่องท้อง หรือมีลักษณะท้องมาน
หากคุณมีอาการผิดปกติเหล่านี้ติดต่อกันเกิด 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่ได้
ในปัจจุบัน โปรแกรมการตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงในแต่ละโรงพยาบาล มักรวมการตรวจภายใน ตรวจคัดกรองโรคะมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งไข่ด้วย การเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยป้องกันโรคได้เป็นอย่างดี
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่
นอกจากสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่แล้ว ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ด้วยเช่นกัน ได้แก่
- มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้
- มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่เคยเป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้มาก่อนแล้ว
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน
- ผู้ที่ยังไม่เคยตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีประจำเดือนเร็ว (ก่อนอายุ 12 ปี) หรือผู้ที่หมดประจำเดือนช้า (หลังอายุ 55 ปี)
- ผู้ที่เคยใช้ยากระตุ้นการตกไข่ เพื่อช่วยในการมีบุตร
- ผู้ที่เคยใช้ฮอร์โมนเพศ ประเภทชดเชยช่วงเวลาที่หมดประจำเดือน
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่ มีวิธีอะไรบ้าง?
ปัจจุบัน ยังไม่มีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งไข่โดยเฉพาะ เนื่องจากโรงมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการชัดเจน แต่ก็มีวิธีการตรวจที่ช่วยให้พบรอยโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ได้ เช่น
- การตรวจเลือดเพื่อหารสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ เป็นการตรวจหาสารโปรตีน CA125 ที่ผลิตโดยเซลล์มะเร็งรังไข่บางชนิด
- การตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อดูลักษณะและขนาดของรังไข่
- การตรวจภายในประจำปี
แม้ว่า โรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการแสดงที่แน่ชัด แต่การรู้จักสังเกตตัวเอง และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยให้สามารถป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ หรือตรวจพบรอยโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android