โรคมะเร็งรังไข่เป็นอีกโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิงไปเป็นจำนวนมาก ทั้งยังเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่อยู่เหนือการควบคุมหลายอย่าง ผู้หญิงหลายคนที่มีสุขภาพแข็งแรงก็สามารถเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้ แล้วเรามีวิธีป้องกัน หรือลดความเสี่ยงโรคมะเร็งชนิดนี้อย่างไรบ้าง
ความหมายของโรคมะเร็งรังไข่
โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) คือ โรคมะเร็งซึ่งเกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ในรังไข่ หรือท่อรังไข่ ทำให้ขนาดรังไข่มีการขยายใหญ่ขึ้นจากก้อนเซลล์ที่เติบโตจนกลายเป็นก้อนมะเร็ง และแพร่กระจายไปทั่วอวัยวะในร่างกาย และทางกระแสเลือด
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งไข่มากกว่าปกติ จะได้แก่
- ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งมาก่อน
- ผู้หญิงที่เคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็งส่วนอื่นๆ มาก่อน เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม
- ผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรืออายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่ทำฮอร์โมนบำบัดเพื่อรักษาอาการประจำเดือนหมด
- ไม่เคยมีบุตร
- มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง
- ผู้หญิงที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์
- ผู้หญิงที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่จัด
ดังนั้นผู้หญิงที่เคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อน และรักษาโรคหายดีแล้ว ก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ แต่ก็ยังควรต้องไปตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วย รวมไปถึงตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำดีเช่นเดิมด้วย
อาการของโรคมะเร็งรังไข่
อาการเบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้ว่า ตนเองเป็นโรคมะเร็งรังไข่หรือไม่ ได้แก่
- อ่อนเพลียมากขึ้น
- แสบร้อนที่หน้าอก
- ปวดหลัง
- ไม่อยากอาหาร
- อาหารไม่ย่อย
- ปวดเจ็บท้องน้อยร่วมกับมีอาการท้องอืดบวม
- รู้สึกอยากปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- รู้สึกเจ็บปวดช่องคลอด รวมถึงภายในช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์
- ท้องผูก
วิธีป้องกันโรคมะเร็งรังไข่
โรคมะเร็งรังไข่ไม่มีวิธีป้องกันได้เต็มที่ 100% แต่ก็ยังมีวิธีลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้อีก
1. รับประทานยาคุมกำเนิด
การรับประทานยาคุมกำเนิดมีทั้งข้อดี และข้อเสียที่ตามมาได้หลายอย่าง แต่หนึ่งในข้อดีของมันก็คือ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้
ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดมามากกว่า 3-5 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้น้อยกว่า และกลับกัน ผู้หญิงที่มีไข่ตกตลอดทุกเดือนกลับมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้มากกว่า
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
2. การตั้งครรภ์
มันฟังดูเหมือนเป็นวิธีแก้ที่ไม่เข้าท่า เพราะผู้หญิงหลายคนไม่ได้มีความต้องการที่จะมีบุตร แต่การตั้งครรภ์นั้นสามารถมีส่วนลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุน้อยกว่า 30 ปี
3. ให้น้ำนมบุตรเอง
ผู้หญิงที่ให้นมบุตรเองจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้น้อยกว่า
หรือหากสรุปได้ง่ายๆ ก็คือ ผู้หญิงที่เคยผ่านการมีบุตร และเลี้ยงดูให้นมบุตรเองมาก่อนย่อมมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้น้อยกว่าผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร หรือมีบุตรยาก
4. เข้ารับการผ่าตัด
นี่อาจเป็นผลพลอยได้ในผู้หญิงที่เคยผ่านการผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy) หรือผ่าตัดมดลูกเพื่อนำท่อนำไข่ และปีกมดลูกออกไปทั้งหมด (bilateral salpingo-oophorectomy) หรือทำหมันมาก่อน เพราะผู้หญิงกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้น้อย
5. ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
เป็นอีกวิธีการป้องกันโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ ได้อีกแทบจะทุกโรค โดยเราทุกคนควรออกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที โดยเฉพาะในผู้ที่กำลังน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือมีภาวะอ้วน
นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้ โดยเฉพาะอาหารประเภทถั่ว ไข่ อาหารที่มีวิตามินดี เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ตับ อาหารที่มีนม หอยนางรม อาหารที่มีวิตามินเอ เช่น แครอท มันเทศ ผักใบเขียว
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
6. เข้ารับการตรวจคัดกรองบ่อยๆ
หากรู้ตัวว่า ตนเองมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้ ก็ควรไปเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคนี้ โดยวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่จะเป็นการตรวจวิธีเดียวกับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค ได้แก่
- การตรวจเลือดเพื่อหาระดับของสารโปรตีน CA125
- การตรวจด้วยคลื่นความเสี่ยงสูง หรือการสแกนอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ทางช่องคลอด เพื่อดูขนาดของรังไข่ รวมถึงหาความเสี่ยงของการมีถุงน้ำในรังไข่ด้วย
จากวิธีป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ข้างต้น หลายๆ ข้อถือเป็นวิธีที่ยาก เนื่องจากการมีบุตรไม่ใช่เป้าหมายของผู้หญิงหลายคน และไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่มีความผิดปกติจนต้องผ่าตัดมดลูก
ดังนั้นทางที่ดีคุณจึงควรไปตรวจสุขภาพทุกปี และหากเกิดความผิดปกติใดๆ ขึ้น หรือมีอาการที่รู้สึกว่า จะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งรังไข่ ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อจะได้รับตรวจคัดกรอง หรือตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด และจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android