การพยาบาลผู้ป่วย ที่ถูกงูพิษกัด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การพยาบาลผู้ป่วย ที่ถูกงูพิษกัด

ในชนบทที่ไม่มีแพทย์ พยาบาลหรือผู้รู้จักการพยาบาลผู้ถูกงูพิษกัด ผู้ป่วยถูกงูพิษกัดมักเสียชีวิตลงในเวลาอันสั้น การรู้จักการพยาบาลผู้ถูกงูพิษกัดจึงมีความสำคัญ เพราะการช่วยเหลือเบื้องต้นนี้สามารถช่วยชีวิต และลดการทุพพลภาพได้

งูพิษในประเทศไทยที่สำคัญมี งูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ และงูทะเล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

a16.gif ลักษณะที่สำคัญของงูพิษ หากไม่รู้จักชนิดของงูพิษ แต่สามารถจับได้ หรือตีงูตัวที่กัดนั้นไว้ให้ใช้ไม้เล็ก ๆ สอดเข้าไปในปาก และกวาดไม้ออกมาโดยให้ไม้นั้นเชิดเพดานปากด้านบน เพื่อดูลักษณะของเขี้ยวบน ถ้าเป็นงูพิษแถวฟันบนจะมี 2 เขี้ยวยาวดังรูป ถ้างูไม่มีพิษ จะมีลักษณะฟันบนเรียบเสมอกันเป็นแถวไม่มีเขี้ยว


ลักษณะของบาดแผลจากงูพิษกัดจะพบมีรอยเขี้ยว 1-2 รอย มีเลือดไหลซึมจากรอยเขี้ยวตลอดเวลา และพบมีอาการปวดบวมแดง มีถุงน้ำเลือดรอบรอยเขี้ยว และลุกลามออกอย่างรวดเร็วอาจพบรอยเขี้ยวและมีอาการชารอบ ๆ รอยเขี้ยว และมีอาการหนังตาตกลืมตาไม่ขึ้นร่วมด้วย

การพยาบาลผู้ป่วยถูกงูพิษกัด

a16.gif การพยาบาลผู้ป่วยถูกงูพิษกัด ในผู้ป่วยที่ไม่รู้จักชนิดของงูและไม่สามารถจะจับหรือตีงูตัวที่กัดมาตรวจดูได้และกรณีที่มีลักษณะแผลไม่บ่งชัดว่างูพิษหรือไม่ ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจะได้รับการพยาบาลเช่นเดียวกับผู้ป่วยถูกงูพิษกัดทุกราย


  1. ใช้สายรัด รัดแขนหรือขา เหนือบริเวณถูกงูกัดราว 6 นิ้ว (ระหว่างแผลกับหัวใจ) รัดไว้นาน 15 นาที และคลายออก 1 นาที สลับกันไปเรื่อย ๆ
  2. ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซที่สะอาด
  3. นำส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล

10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Emergency treatment of a snake bite: Pearls from literature. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2700615/)
Snake Bites Management and Treatment. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15647-snake-bites/management-and-treatment)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป