กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความดันเลือดที่ปกติ

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความดันเลือดที่ปกติ

สถาบันสุขภาพแห่งชาติได้มีการปรับปรุงคู่มือแนวทางการป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง และได้มีการเปลี่ยนแปลงคำนิยามของคำว่าระดับความดันโลหิตที่ปกติซึ่งจะทำให้ผู้ที่เคยมีความดันอยู่ในเกณฑ์ปกตินั้นกลายเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทันที ต่อไปนี้เป็นบทสรุปจากรายงานดังกล่าว

ความดันเท่าไรถึงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

สิ่งที่เคยจัดว่าเป็นความดันปกติ หรือปกติค่อนสูง (ความดันโลหิตตัวบนที่ 120-139 มิลลิเมตรปรอทและความดันตัวล่างที่ 80-89 มิลลิเมตรปรอท) นั้นจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มก่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นี่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเพราะอยู่ๆ ผู้เชี่ยวชาญก็กลับต้องบอกผู้ป่วยหลายล้านคนที่เคยเข้าใจมาตลอดว่าตัวเองนั้นแข็งแรงดีว่าพวกเขาจัดอยู่ในกลุ่มก่อนที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ความคิดที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงนี้ก็คือผู้ป่วยแลพแพทย์จะได้เริ่มการรักษาก่อนที่จะมีความดันโลหิตที่สูงกว่านี้และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบและอื่นๆ

เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรทำอย่างไร?

ผู้ป่วยในกลุ่มนี้อาจจะยังไม่ต้องรับประทานยา แต่จะเน้นที่การออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเช่นเดินเร็ววันละ 30 นาที หลายๆ วันในสัปดาห์ ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิตได้ประมาณ 4-9 มิลลิเมตรปรอท หากคุณมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ การลดน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัมนั้นจะมีค่าเทียบเท่ากับความดันโลหิตตัวบนที่ลดลง 5-20 มิลลิเมตรปรอท การจำกัดการรับประทานโซเดียมให้ไม่เกิน 2.4 กรัมต่อวันก็จะเทียบเท่ากับการลดความดันได้ 2-8 มิลลิเมตรปรอท

  • การรอนั้นไม่ช่วยอะไร คุณไม่ควรรอจนกระทั่งระดับความดันของคุณนั้นสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มความดันโลหิตสูงระดับที่ 1 งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่มีระดับความดันอยู่ที่ 115/75 มิลลิเมตรปรอท ไม่ใช่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท และความเสี่ยงนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทุกๆ ความดันตัวบนที่เพิ่มขึ้น 20 มิลลิเมตรปรอท และตัวล่างที่เพิ่มขึ้น 10 มิลลิเมตรปรอท
  • สังเกตระดับความดันโลหิตตัวบน คู่มือนี้ยังคงเน้นให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีนั้นให้ความสำคัญกับระดับความดันโลหิตตัวบนมากกว่าตัวล่าง และเมื่อคุณสามารถควบคุมให้ตัวบนนั้นอยู่ในช่วงที่เหมาะสมแล้ว ตัวล่างก็มักจะอยู่ในระดับที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน
  • เริ่มรับประทานยาขับปัสสาวะ หากระดับความดันโลหิตของคุณนั้นสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท คู่มือนี้แนะนำให้เริ่มรับประทานยาลดความดัน โดยกลุ่มแรกที่ควรใช้คือยาขับปัสสาวะกลุ่ม thaizide (chlorothiazide, hydrochlorothiazide) ในช่วงแรกๆ คุณจะมีการปัสสาวะที่เพิ่มมากขึ้นแต่หลังจากนั้นร่างกายมักจะปรับตัวและกลับมามีปัสสาวะปกติได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์

การใช้ยาขับปัสสาวะนั้นยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกัน มีผู้เชี่ยวชาญที่ระบุว่าผู้ป่วยบางกลุ่มนั้นจะมีผลลัพธ์ที่ดีกว่าหากเริ่มรับประทานด้วยยากลุ่มอื่นเช่น ACE inhibitors แต่ในความจริงแล้ว ผู้ป่วยส่วนมากมักต้องรับประทานยา 2 ตัว โดยเฉพาะหากมีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่นโรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคหัวใจ

-ยาที่ดีที่สุด? แรงกระตุ้น เนื่องจากมันยากที่จะให้ความสนใจกับโรคความดันโลหิตสูงตลอดเวลา เพราะมันไม่มีอาการ และไม่ได้ทำให้เกิดเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น

คู่มือนี้แนะนำให้แพทย์เริ่มสร้างความเชื่อมั่นในผู้ป่วยด้วยการทำความเข้าใจผู้ป่วย ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรสอบถามแพทย์หากมีข้อสงสัย ลองขอคำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย และผลข้างเคียงหรือปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ยา


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What is blood pressure?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/lifestyle/what-is-blood-pressure/)
Reading the new blood pressure guidelines. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/reading-the-new-blood-pressure-guidelines)
Blood pressure: What is normal?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/270644)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

สำรวจความหมาย และปริมาณดัชนีน้ำตาลในอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่ม