กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

แนะนำคุณแม่ตั้งครรภ์ เกี่ยวกับการทำงานและเดินทางท่องเที่ยวต่างถิ่น

เผยแพร่ครั้งแรก 9 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แนะนำคุณแม่ตั้งครรภ์ เกี่ยวกับการทำงานและเดินทางท่องเที่ยวต่างถิ่น

การจัดการกับงานระหว่างตั้งครรภ์

คุณแม่อาจรู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงสัปดาห์แรกๆ และสัปดาห์ท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ ทั้งนี้แนะนำให้คุณแม่พยายามใช้เวลาพักเที่ยงไปกับการรับประทานอาหารและพักผ่อน เมื่อกลับถึงบ้าน ก็ควรเพลาๆ การจัดงานงานบ้านหรือทำกับข้าวลง หากทำได้ ควรทำงานบ้านให้น้อยที่สุด และรีบเข้านอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การท่องเที่ยวขณะตั้งครรภ์

ผู้หญิงตั้งครรภ์ส่วนมากสามารถท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัยหากระมัดระวังตัวเอง เตรียมข้อมูลให้พร้อม และทำประกันการท่องเที่ยวไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะไปสถานที่ใด ควรหาข้อมูลไว้เสมอว่ามีโรงพยาบาลอยู่ในละแวกที่จะไปหรือไม่ เพื่อที่จะพบแพทย์ได้หากตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนี้ การพกสมุดบันทึกสุขภาพไปด้วยก็เป็นเรื่องดี เพราะแพทย์จะได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณ

การฉีดวัคซีนก่อนเดินทางสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์

วัคซีนบางชนิดมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่จะเป็นอันตราย ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรได้รับ เนื่องจากอาจทำอันตรายต่อลูกในท้องได้ การใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายจะปลอดภัยกว่า

อย่างไรก็ดี หากคุณแม่จะเดินทางไปยังบริเวณที่จำเป็นต้องได้รับวัคซีน ก็ควรให้แพทย์ฉีดวัคซีนก่อนออกเดินทาง แต่มีวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน

ความเสี่ยงของการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มเมื่อเดินทางไปต่างถิ่น

ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยงอาหารและน้ำที่อาจมีเชื้อโรค ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะต่างๆ เช่น ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องร่วง ฯลฯ รวมถึงมียาบางชนิดที่ไม่เหมาะสำหรับใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณไม่แน่ใจว่าน้ำประปาในท้องที่นั้นๆ ปลอดภัย คุณควรดื่มน้ำบรรจุขวดแทน

ในกรณีที่คุณป่วย แม้ว่าคุณไม่ได้รู้สึกหิว แต่คุณควรฝืนดื่มน้ำและรับประทานอาหารต่อไป เพื่อสุขภาพของทารก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ช่วงเดือนไหนที่เหมาะสำหรับการเดินทาง?

ช่วง 12 สัปดาห์หรือ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ผู้หญิงบางคนมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและรู้สึกเหนื่อย อีกทั้งในช่วงนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแท้ง ไม่ว่าคุณจะเดินทางหรือไม่ก็ตาม

ส่วนช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ก็อาจรู้สึกเหนื่อยและไม่สบายตัว ดังนั้นผู้หญิงตั้งครรภ์หลายคนจึงเลือกเดินทางเมื่อตั้งครรภ์ไปได้ในช่วง 4-6 เดือน

ข้อควรปฏิบัติเมื่อจะขึ้นเครื่องบินและเดินทางไกลด้วยรถยนต์
คำแนะนำสำหรับการเดินทางด้วยเครื่องบินและรถยนต์ในช่วงตั้งครรภ์ มีดังนี้

  • การขึ้นเครื่องบิน การขึ้นเครื่องบินไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อคุณหรือเด็กในครรภ์ แต่ให้คุณแม่ก็ควรหารือกับแพทย์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือภาวะแทรกซ้อนก่อนที่จะเดินทาง โดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเจ็บท้องคลอดลูกสูงขึ้นหลังจากที่มีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ หรือหากเป็นลูกแฝดก็ประมาณ 32 สัปดาห์ แต่ละสายการบินจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเดินทางของคุณแม่ตั้งครรภ์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนออกเดินทาง

    หลังจากที่มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ สายการบินอาจขอใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันเกี่ยวกับวันคลอดลูก และเพื่อให้มั่นใจว่าคุณไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

    การเดินทางไกลทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดแข็งตัวเล็กน้อย ดังนั้นเวลาเดินทางด้วยเครื่องบิน คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอ และเคลื่อนไหวร่างกายอย่างน้อยๆ ทุก 30 นาที

    หากเกรงว่าจะมีปัญหาเรื่องอาการขาบวม คุณแม่สามารถซื้อถุงเท้าหรือถุงน่องชนิดรัดกล้ามเนื้อจากร้านขายยามาสวมใส่ได้
  • การเดินทางโดยรถยนต์ เมื่อเดินทางโดยใช้รถ คุณแม่ควรดื่มน้ำเรื่อยๆ รับประทานอาหารแนวธรรมชาติและให้พลังงานอย่างผลไม้และถั่ว และหยุดพักรถอย่างสม่ำเสมอ เพื่อบรรเทาอาการอ่อนเพลียและวิงเวียนศีรษะ

    นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำให้อากาศในรถหมุนเวียน และไม่ลืมคาดเข็มขัดนิรภัย โดยคาดระหว่างหน้าอกกับหน้าตัก และสายเข็มขัดจะต้องไม่ทับท้องที่ยื่นออกมา ทั้งนี้การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัย คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลี่ยงการขับรถทางไกลคนเดียว

การใช้สมุนไพร โฮมิโอพาธีย์ และสุคนธบำบัดขณะตั้งครรภ์

ที่เที่ยวบางแห่งโดยเฉพาะที่เที่ยวแนววิถีชีวิต ชุมชน อาจมีโปรแกรมดูและสุขภาพแบบท้องถิ่นให้นักท่องเที่ยวได้ทดลอง อย่างไรก็ตาม วิธีธรรมชาติทุกชนิดไม่ได้ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ บางผลิตภัณฑ์ที่ใช้อาจไม่ได้มีคุณภาพสูง และอาจมีสารอื่นๆ ปนเปื้อน เช่น สารตะกั่ว ซึ่งสามารถทำให้เกิดอันตราย ดังนั้นหากที่นั้นๆ ไม่ได้มีแพทย์คอยให้คำแนะนำ คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการร่วมกิจกรรมจะดีกว่า


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What to do When a Parent Has to Travel for Work. Parents. (https://www.parents.com/parenting/work/how-to-prepare-kids-when-parents-travel-for-work/)
10 Ways Moms Can Balance Work and Family. Parents. (https://www.parents.com/parenting/work/life-balance/moms-balance-work-family/)
Working Mothers, Breastfeeding, and the Law. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3020209/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม