วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

ยาทำแท้งถูกกฎหมายในประเทศไทยมีอะไรบ้าง?

ข้อมูลยาทำแท้งถูกกฎหมายในประเทศไทย พร้อมผลข้างเคียง และผลกระทบต่อร่างกาย
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 11 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ยาทำแท้งถูกกฎหมายในประเทศไทยมีอะไรบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การทำแท้งในประเทศไทยยังไม่ใช่เรื่องที่ได้รับการยอมรับกันอย่างเต็มที่ อีกทั้งกฎหมายไทยยังไม่อำนวยให้ผู้หญิงทุกคนสามารถทำแท้งได้อย่างเสรีด้วย โดยข้อกฎหมายเดียวที่หญิงไทยสามารถทำแท้งได้คือ การตั้งครรภ์นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของหญิงที่อุ้มครรภ์
  • ยาทำแท้งที่ถูกกฎหมายในประเทศไทยมีอยู่ 2 ตัวคือ ยามิฟิพริสโตน (Mifepristone) และยาไมโซพรอสตอล (Misoprostol)
  • การทำแท้งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การทำแท้งด้วยการใช้ยาและการทำแท้งด้วยการศัลยกรรม
  • การทำแท้งควรจะอยู่ในระหว่างที่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ มิฉะนั้นจะเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนต่อหญิงที่ทำแท้งได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร

การตั้งครรภ์อาจเป็นเป้าหมายและความฝันของคู่รักหลายๆ คน แต่ขณะเดียวกัน การตั้งครรภ์ก็เป็นสิ่งที่คู่รักอีกหลายคู่ไม่คาดคิด และไม่ต้องการให้เกิดขึ้นเช่นกัน เนื่องจากความไม่พร้อมหลายอย่าง เช่น ยังเรียนไม่จบ ฐานะทางการเงินไม่อำนวย มีปัญหาภายในครอบครัว การตั้งครรภ์จากอาชญากรรมทางเพศ

กรณีที่การตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้ขึ้น หลายคนจึงเลือกที่จะยุติการตั้งครรภ์ หรือที่เรียกทั่วไปว่า “การทำแท้ง” นั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของการทำแท้ง

การทำแท้ง (Induced abortion) คือ การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง ผ่านกระบวนการทางการแพทย์เพื่อให้ทารกหยุดการเจริญเติบโต และหยุดมีชีวิตก่อนที่จะคลอดออกมา

หลายคนอาจคิดว่า การทำแท้งเป็นเรื่องผิดกฎหมายและผิดศีลธรรม แต่ความจริงแล้วในหลายๆ ประเทศได้เล็งเห็นเหตุผลและความจำเป็นของผู้ต้้งครรภ์ ที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์จึงมีกฎหมายอนุญาตให้สามารถทำแท้งได้อย่างเสรี เช่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ สเปน เนปาล

ส่วนกฎหมายในประเทศไทยนั้นยังไม่เปิดให้ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้อย่างเสรี และการทำแท้งเองถือเป็นเรื่องผิดจารีต ประเพณี รวมถึงไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม

อย่างไรก็ตาม หากหญิงตั้งครรภ์คนใดที่ประสงค์จะทำแท้ง จะต้องยื่นเรื่องให้แพทย์พิจารณาถึงสาเหตุที่ต้องการทำแท้ง ปัจจุบันเหตุผลเดียวที่สามารถให้หญิงตั้งครรภ์สามารถทำแท้งได้ก็คือ การตั้งครรภ์นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของหญิงที่อุ้มครรภ์

หลายคนอาจสงสัยอีกว่า แล้วหากผู้หญิงตั้งครรภ์ต้องการทำแท้งเพราะกังวลเรื่องสุขภาพของทารกในครรภ์ว่า อาจเกิดมาพิการ หรือการเจริญเติบโตผิดปกติ จะสามารถทำได้หรือไม่?

คำตอบคือ แพทย์จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไปว่า จะทำแท้งได้หรือไม่นั้น แล้วแต่ผลการตรวจสุขภาพทั้งแม่และเด็ก รวมถึงการวินิจฉัยการตั้งครรภ์อย่างละเอียดแล้ว เช่น หากการเจริญเติบโตของทารกไม่สมบูรณ์ หรือการตั้งครรภ์เสี่ยงส่งผลเสียต่อสุขภาพของแม่ ก็อาจพิจารณาให้ทำแท้งได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ประเภทของการทำแท้ง

การทำแท้งแบ่งออกได้หลักๆ 2 วิธี ได้แก่

  • การทำแท้งด้วยการใช้ยา (Medical abortion) เป็นการทำแท้งผ่านการใช้ยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 9 สัปดาห์ แต่หากอายุครรภ์มากกว่านั้นก็สามารถใช้ได้ แต่โอกาสยุติการตั้งครรภ์สำเร็จจะต่ำลง และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น
  • การทำแท้งด้วยการศัลยกรรม (Surgical abortion) เป็นการทำแท้งผ่านการทำหัตถการกับแพทย์เพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 14 สัปดาห์ โดยปกติมักเป็นการใช้กระบอกสุญญากาศดูดเอาเนื้อเยื่อซึ่งหมายถึงตัวทารกออกมาจากมดลูก

ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการทำแท้งด้วยยาว่า มียาทำแท้งชนิดใดที่ถูกกฎหมายประเทศไทยบ้าง รวมถึงข้อควรระวังที่ควรรู้

ยาทำแท้งที่ถูกกฎหมาย

ยาทำแท้งถูกกฎหมายในประเทศไทยจะต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น โดยยาทำแท้งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายแล้ว จะได้แก่

1. ยามิฟิพริสโตน

ยามิฟิพริสโตน (Mifepristone) เป็นยายับยั้งการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Anti-progesterone) ทำให้ผนังมดลูกไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน และทำให้ปากมดลูกเปิดขยายตัว โดยปกติเป็นยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน

2. ยาไมโซพรอสตอล

ยาไมโซพรอสตอล (Misoprostol) เป็นยาเพิ่มการหดรัด และบีบตัวของมดลูก ทำให้ปากมดลูกนิ่ม และขับตัวอ่อนออกมา ยามี 3 รูปแบบ คือ แบบสอดช่องคลอด แบบอมเม็ดยาไว้ใต้ลิ้น และแบบอมเม็ดยาไว้ที่กระพุ้งแก้ม

การทำแท้งด้วยยามักจะเป็นการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลควบคู่กัน โดยยามิฟิพริสโตนจะทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตไม่ได้และทำให้ปากมดลูกขยายตัว ส่วนยาไมโซพรอสตอลจะช่วยทำให้ปากมดลูกนิ่มขึ้นและมดลูกบีบตัวกว่าเดิม จนขับตัวอ่อนออกมาได้ง่าย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การทำแท้งด้วยยาทั้ง 2 ตัวนี้ควรจะอยู่ภายในอายุครรภ์ไม่เกิน 9-12 สัปดาห์ โอกาสการทำแท้งจึงจะประสบความสำเร็จสูง และไม่เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน

การใช้ยาทำแท้งเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์

การใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลเพื่อยุติการตั้งครรภ์จะต้องใช้ผ่านคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น โดยทางโรงพยาบาลอาจให้หญิงตั้งครรภ์เริ่มใช้ยาเบื้องต้นก่อนที่โรงพยาบาลและจะจ่ายยาส่วนหนึ่งกลับไปใช้ที่บ้าน

นอกจากนี้แพทย์จะให้ข้อมูลการใช้ยาที่เหมาะสม อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงนัดหมายให้กลับมาตรวจสุขภาพ และผลของการทำแท้งในภายหลัง

การใช้ยาทำแท้งเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่เกิน 12 สัปดาห์

การทำแท้งจะมีโอกาสประสบความสำเร็จและปลอดภัยสูงหากอายุครรภ์ยังน้อย อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ก็ยังสามารถรับประทานยาทำแท้งได้ แต่เสี่ยงต่ออาการปวดท้องและอาจเกิดอาการแทรกซ้อนหลังจากใช้ยาได้มากกว่า ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาทำแท้ง

ในระหว่างใช้ยา หรือหลังจากยุติการตั้งครรภ์สำเร็จแล้ว อาจมีผลข้างเคียงบางอย่างจากการใช้ยา โดยจะมีอาการแสดงดังนี้

  • มีไข้ ตัวหนาวสั่น สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาลดไข้ หากรักษาด้วยตนเองแล้วไข้ยังไม่ลด แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์

  • คลื่นไส้อาเจียน แต่โดยปกติอาการจะดีขึ้นเอง หรือหากรู้สึกอ่อนเพลีย อาเจียนบ่อยๆ ก็สามารถใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนได้

  • ปวดท้องน้อย เป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดอย่างยาไอบูโพรเฟน หรือพาราเซตามอล

  • มีเลือดออกจากช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้ในระยะ 1 สัปดาห์แรกหลังยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีเลือดออกกะปริบกะปรอยออกมาบ้าง อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลอาจพิจารณาให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด และตรวจหาความผิดปกติ

    หากเลือดยังไหลอย่างต่อเนื่องจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยมากกว่า 2 แผ่นต่อชั่วโมง

  • รู้สึกเจ็บที่มดลูก หรือปีกมดลูก ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ สามารถรักษาได้ด้วยการจ่ายยาปฏิชีวนะที่สั่งจ่ายโดยแพทย์

  • ท้องเสีย เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้จากการใช้ยาไมโซพรอสตอล ซึ่งโดยปกติอาการจะดีขึ้นเองเมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน แต่หากรู้สึกอ่อนเพลีย ก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อขอให้น้ำเกลือ และจ่ายยาแก้ท้องเสียให้ได้

นอกจากผลข้างเคียงทางร่างกาย ผู้หญิงที่เพิ่งยุติการตั้งครรภ์หลายคนมักจะมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และเครียดจากการทำแท้ง หลายคนอาจรู้สึกว่า เพิ่งฆ่าลูกของตัวเองไป รู้สึกผิดบาป รับตัวเองไม่ได้ที่จะกลับไปใช้ชีวิตต่อในสังคม

กรณีเช่นนี้อาจลองปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้น หรือแนะนำวิธีบำบัดความเครียด

ในส่วนผู้ใกล้ชิดจะต้องคอยอยู่เป็นเพื่อน พูดคุยให้กำลังใจ ทั้งนี้อาจลองปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการสื่อสารกับผู้หญิงที่จะต้องเข้ากระบวนการทำแท้งอย่างเหมาะสม 

ผู้ที่ห้ามในการใช้ยาทำแท้งอย่างเด็ดขาด

  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์แฝด
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์นอกมดลูก 
  • หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคไต
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคพอร์ฟิเรียทางพันธุกรรม (โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของเอนไซม์ที่ใช้สร้างสารพอร์ไฟริน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อระบบประสาท และผิวหนังของทารก) 

ข้อควรระวังในการใช้ยาทำแท้ง

ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติดังต่อไปนี้ ต้องแจ้งโรคประจำตัวและความผิดปกติให้แพทย์ทราบเสียก่อนจะตัดสินใช้ยาทำแท้ง เพราะมีความเสี่ยงจะเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้มาก ได้แก่

  • เป็นโรคหัวใจ หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด
  • มีภาวะโลหิตจาง
  • มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
  • เคยใช้ยากลุ่มที่มีสารสเตียรอยด์ (Steroid) มานาน
  • มีแผลเป็นที่มดลูก
  • มีห่วงอนามัยอยู่ในมดลูก

ข้อได้เปรียบและข้อด้อยของการใช้ยาทำแท้งเพื่อยุติการตั้งครรภ์

การใช้ยายุติการตั้งครรภ์มีข้อได้เปรียบบางอย่างที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการทำแท้งด้วยการศัลยกรรม เช่น

  • ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่ต้องเข้าห้องผ่าตัด
  • เสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยกว่า
  • ดูเป็นการแท้งโดยธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้หญิงตั้งครรภ์บางรายที่ประสงค์จะทำแท้งรู้สึกสบายใจกว่าการเข้าห้องทำหัตถการที่โรงพยาบาล
  • รู้สึกเจ็บน้อยกว่า ไม่มีแผล

อย่างไรก็ตาม การทำแท้งด้วยยาก็มีจุดด้อยคือ ตรวจสอบได้ยากกว่าว่า ยุติการตั้งครรภ์สำเร็จแล้ว และไม่มีเนื้อเยื่อตัวอ่อนค้างอยู่ในมดลูก

ถึงแม้จะมียาทำแท้งที่ถูกกฎหมาย และมีแพทย์ที่พร้อมจะดูแลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ แต่ด้วยค่านิยมของคนไทยที่มองว่า การทำแท้งเป็นเรื่องผิดศีลธรรม เป็นบาป จึงทำให้เกิดปัญหาการเปิดคลินิกทำแท้ง และการขายยาทำแท้งเถื่อนขึ้น

ทุกคนจึงควรตีความและพยายามทำความเข้าใจนิยามของการทำแท้งเสียใหม่ว่า ความจริงแล้ว การทำแท้งนับเป็นอีกทางออกที่จำเป็นของผู้หญิงหลายคน เพื่อจะได้สามารถดำเนินชีวิตในแนวทางที่ดีกว่า รวมทั้งเพื่อให้เด็กทุกคนที่เกิดมาได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม และมีคุณภาพต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นางสาวอวิภารัตน์ นิยมไทย, กฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้ง (https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S่ub_Jun/10reform/reform16.pdf), 28 ธันวาคม 2563.
นพ. เลอเกียรติ คำประดิษฐ์, Induced abortion (https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1539:induced-abortion-n&catid=45&Itemid=561), 28 December 2020.
โครงการสายปรึกษาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน เพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวม (http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0001/00001468.PDF), 28 ธันวาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม