กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ตู้ยาสามัญประจำบ้าน

ประโยชน์ของตู้ยาสามัญประจำบ้าน ลักษณะของตู้ยาที่ดี รายการยาที่ควรมีไว้ในตู้ยา การจัดยา การใช้และดูแลรักษาตู้ยา
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตู้ยาสามัญประจำบ้าน

 

ปวดหัวเป็นไข้ไปโรงพยาบาลกลางดึก แต่ถูกไล่กลับบ้านไปกินยาพาราแล้วค่อยมาใหม่ตอนเช้า หมอทำอย่างนี้ก็ได้เหรอ!

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รู้สึกอ่อนเพลีย กินอะไรไม่ได้เลย แล้วก็อาเจียน พอไปโรงพยาบาล หมอที่ห้องฉุกเฉินก็บ่นว่าทำไมไม่รอมาตรวจตอนเช้า เอ๊า...ถ้าไม่อยากตรวจคนไข้ทำไมไม่ปิดโรงพยาบาลไปเลยล่ะ!

ปวดฟันมากจนนอนไม่หลับ ก็รู้ว่าดึกแล้วแต่มันทนไม่ไหว เลยต้องไปโรงพยาบาล หมอให้ยาพารามาแผงนึง เสียเวลาไปตั้งเยอะ ได้แต่พารามาเนี่ยนะ!

ปวดท้องตอนกลางคืน หาซื้อยาไม่ได้เพราะร้านยาปิดหมดแล้ว เลยต้องไปโรงพยาบาล แต่ต้องรอหมอตั้งหลายชั่วโมง ทีคนที่มาทีหลังกลับได้ตรวจก่อน คือไร?!? จะให้ปวดท้องจนตายก่อนหรือไงนะ!  

        นี่เป็นตัวอย่างเสียงบ่นเบา ๆ (แต่ดราม่าเร้าใจ ฮ่า...) ในโซเชียล เกี่ยวกับการรับบริการในแผนกฉุกเฉินจากโรงพยาบาลรัฐค่ะ ก่อนที่คุณผู้อ่านจะเบ้ปาก มองบน หรือก่นด่า ขอความกรุณาเปิดใจรับฟังข้อชี้แจงสักนิดเถิดนะคะ

                แผนกตรวจผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลรัฐก็เหมือนหน่วยงานราชการทั่วไปแหละค่ะ มีเวลาทำงาน 08.00 – 16.00 น. หรือ 08.30 – 16.30 น. แม้จะมีโรงพยาบาลบางแห่งที่สามารถจัดสรรกำลังคนได้ อาจขยายเวลาเพิ่มเป็น “ห้องตรวจนอกเวลา” อีก 2 - 4 ชั่วโมงเพื่อรองรับผู้ป่วยนอกที่มาใช้บริการเป็นจำนวนมากจนมักไม่สามารถตรวจรักษาได้หมดในเวลาราชการ แต่โรงพยาบาลรัฐส่วนใหญ่ทำไม่ได้ค่ะ เพราะขาดแคลนอัตรากำลังอย่างมาก

                นอกเวลาราชการ แม้จะมีเจ้าหน้าที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาปฏิบัติงาน แต่ก็มีจำนวนน้อยกว่าเวลาปกติหลายเท่านะคะ จึงดูแลรักษาได้แค่ผู้ป่วยในและผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไหน ๆ ก็มีเจ้าหน้าที่มาทำงานอยู่แล้ว ตรวจคนไข้นอกทั่วไปเพิ่มอีกไม่ได้เหรอ คนไข้ก็มีไม่เยอะซะหน่อย จะมาบอกว่าอาการไม่หนักไม่ฉุกเฉินได้ยังไง ถ้าไม่ป่วยหนักจริงใครเค้าจะอยากไปโรงพยาบาล?!? 

                โธ่... คนไข้ในกับคนไข้ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นในเวลาหรือนอกเวลาราชการก็มีจำนวนพอ ๆ กันนะคะ แต่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจำจุดนั้น ๆ นอกเวลาราชการอาจมีน้อยกว่าในเวลาราชการด้วยซ้ำไป แค่นี้ก็ “อ่วม” แล้วค่ะ ถ้าต้องแบกรับผู้ป่วยนอกที่ไม่ฉุกเฉินด้วย ก็คง “อาน” จน “อ้วก” แน่ ๆ (ฮ่า...)

                ที่สำคัญกว่านั้น คนไข้ฉุกเฉินและคนไข้ใน คือผู้ป่วยที่มีอาการหนักหรือโรคมีความซับซ้อนมากกว่าปกตินะคะ จึงต้องใช้เวลามากในการดูแลรักษาและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด หากต้องแบ่งความสนใจไปดูผู้ป่วยรายอื่นที่ไม่ฉุกเฉิน อาจเป็นอันตรายต่อคนไข้ที่ฉุกเฉินจริง ๆ ได้ค่ะ 

ขอความเห็นใจนะคะ บุคลากรทางการแพทย์ของภาครัฐมีน้อย กรุณาใช้สอยอย่างประหยัดค่ะ (ฮ่า...) 

                 จากที่กล่าวมาน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง (ฮ่า...) ก็เพราะอยากจะบอกว่า “ตู้ยาสามัญประจำบ้าน” เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับครอบครัวค่ะ เมื่อเกิดเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เราไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลทุกครั้งไป เนื่องจากโรคหรืออาการเจ็บป่วยบางอย่าง เราสามารถรักษาตนเองเบื้องต้นได้ค่ะ  

ตู้ยาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

                ตู้ยาที่ดีจะต้องกันแสงหรือเป็นตู้ทึบ แต่นิยมทำข้างหน้าเป็นบานกระจกหรือวัสดุโปร่งใสเพื่อให้มองเห็นข้างในได้ง่าย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

                ตู้ยาควรแบ่งเป็นช่องชัดเจนสำหรับจัดแยกยาภายใน ยาภายนอก เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ

                ส่วนขนาดนั้นควรเลือกให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัวและจำนวนยาที่จะเก็บ 

ตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสม ควรจะ...

  1. "ไม่ร้อน ไม่ชื้น แสงแดดไม่ส่อง" เพื่อไม่ให้ยาเสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุ
  2. "เป็นสัดส่วน" เพื่อให้คนในครอบครัวสามารถหยิบใช้ได้ง่ายเมื่อต้องการ ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นหา
  3. "พ้นมือเด็ก(และสัตว์เลี้ยง)" เพื่อความปลอดภัยจากการรับประทานหรือนำไปใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ยาที่ควรมีไว้ประจำตู้ยา

  1. ยาใช้ภายใน / ยาใช้รับประทาน (ฉลากจะมีตัวอักษรสีน้ำเงิน) ได้แก่ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล, ยาลดน้ำมูก แก้แพ้ แก้คัน คลอร์เฟนิรามีน, ยาแก้ไอน้ำดำ, ผงน้ำตาลเกลือแร่แก้ท้องเสีย, ยาธาตุน้ำแดงแก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ, ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เช่นยาอะลูมิน่า-แมกนีเซีย
  1. ยาใช้ภายนอก (ฉลากยาจะมีตัวอักษรสีแดงว่า “ยาใช้ภายนอก” หรือ “ยาใช้เฉพาะที่ ห้ามรับประทาน”) เช่น ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์โลชั่น, ขี้ผึ้งแก้ปวดบวมหรือยาหม่อง, ทิงเจอร์ใส่แผลสดหรือทิงเจอร์ไอโอดีน, ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก, เหล้าแอมโมเนียหอมแก้วิงเวียน

การจัดยา มีหลักการจัดดังนี้

  1. แบ่งช่องของยาใช้ภายใน-ภายนอก ออกจากกันอย่างเป็นสัดส่วน
  2. ยาแต่ละชนิดต้องมีฉลากปิดขวดให้เรียบร้อยครบถ้วน
  3. ยาทุกชนิดต้องมีภาชนะบรรจุเรียบร้อย ฝาปิดสนิทแน่น
  4. ควรมีถ้วย ช้อนตวงยา และเวชภัณฑ์อื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น สำลี ผ้าพันแผล พลาสเตอร์ ปรอทวัดไข้ กรรไกรเล็ก ๆ จัดเก็บแยกต่างหาก

                ยาบางชนิดที่แจ้งไว้ว่าให้เก็บในที่เย็นก็ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น แต่ห้ามแช่แข็ง 

หากยาที่จัดเก็บเป็นยาที่แบ่งซื้อมา ควรจัดทำฉลากติดไว้ด้วยว่าเป็นยาอะไร มีส่วนประกอบอะไร มีขนาดการใช้เท่าไร แจ้งวันที่ผลิตหรือหมดอายุเมื่อใดและซื้อมาเมื่อไร   

การใช้และดูแลรักษาตู้ยา

  1. ก่อนใช้ยาควรศึกษาวิธีใช้ คำเตือน ข้อห้ามใช้ของยานั้น ๆ ให้เข้าใจก่อนโดยอ่านจากฉลากยาที่ติดบนกล่อง ขวดยา แผงยา หรือเอกสารกำกับยาให้ละเอียด
  2. หมั่นดูฉลากยาทุกชนิดในตู้ยา หากลบเลือนควรรีบแก้ไขให้ชัดเจน อย่าปล่อยทิ้งไว้ ยาที่ไม่มีฉลากหรือฉลากลบเลือนไป หากไม่แน่ใจไม่ควรนำมาใช้
  3. ตรวจดูยาที่หมดอายุ-เสื่อมสภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบอย่าเสียดาย ให้ทำลายหรือทิ้งไป 

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Your medicine cabinet. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/your-medicine-cabinet/)
Pilot Study on the Utility and Feasibility of a House-Call Checkup of the Medicine Cabinet. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6164397/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)