การศึกษาพิเศษเรื่องการไกล่เกลี่ยเกิดขึ้นเมื่อผู้ปกครองและโรงเรียนมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องโปรแกรมการศึกษาพิเศษสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ เนื่องจากการที่จะไปสู่หนทางแก้ปัญหาอาจเป็นเรื่องยากหากเกิดความขัดแย้งเช่นนี้เกิดขึ้น จึงต้องมีการประนีประนอมเสียก่อน
มาสร้างความคุ้นเคยกับกระบวนการไกล่เกลี่ยโดยเรียนรู้ขั้นตอนที่ต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความประนีประนอมในส่วนของการไกล่เกลี่ย และจะทำอย่างไรหากการเจรจาต่อรองประสบความล้มเหลว
ทุกฝ่ายต้องยินยอมที่จะประนีประนอมก่อน
การไกล่เกลี่ยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นด้วยความเต็มใจ นั่นคือทางผู้ปกครองและผู้บริหารโรงเรียนต้องเห็นพ้องต้องกันที่จะเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยนี้
ทางผู้ปกครองหรือผู้บริหารโรงเรียนอาจใช้การประนีประนอมเมื่อพวกเขาอยากหลีกเลี่ยงวิธี due process hearing ที่ดูเป็นปรปักษ์มากกว่า หรือต้องการให้คนกลางที่มีความรู้มาช่วยจัดการเรื่องการสื่อความเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนจะยังคงสุภาพและได้รับการรับฟังอย่างทั่วถึง
พวกเขาอาจเลือกการประนีประนอมเมื่อเจรจาในการประชุมของทีม IEP เกิดข้อขัดแย้ง และพวกเขาต้องการแก้ปัญหาโดยไม่ให้เรื่องไปถึงชั้นศาลหรือต้องใช้วิธีที่เป็นปรปักษ์อื่น ๆ
ความต้องการและการวางแผนไกล่เกลี่ย
ผู้ปกครองหรือโรงเรียนของเขตอาจขอไกล่เกลี่ยโดยติดต่อกับสำนักงานหน่วยงานการศึกษาของรัฐสำหรับเด็กพิเศษ ทางหน่วยงานจะช่วยจัดตารางสำหรับการไกล่เกลี่ยหรือให้ข้อมูลสำหรับติดต่อผู้ไกล่เกลี่ยเมื่อมีผู้ร้องขอ ซึ่งผู้ไกล่เกลี่ยจะทำงานร่วมกับทั้งสองฝ่ายเพื่อจัดหาวัน เวลา และสถานที่ในการประชุม
กรณีส่วนใหญ่ทางผู้ขอไกล่เกลี่ยมักจะเลือกประชุมในสำนักงานเขตของโรงเรียนหรือในสถานที่ที่เป็นกลาง เช่น ห้องประชุมส่วนตัวในห้องสมุดท้องถิ่น หรือสถานที่ของทางราชการหรือทางธุรกิจ
เมื่อการไกล่เกลี่ยเริ่มขึ้น
ผู้ไกล่เกลี่ยส่วนใหญ่จะเริ่มการประชุมโดยให้ทั้งสองฝ่ายอธิบายกฎพื้นฐานว่าการประนีประนอมจะดำเนินไปอย่างไร และกำหนดการสำหรับการประชุม
พวกเขายังให้ผู้เข้าร่วมแต่ละคนเซ็นสัญญาตกลงที่จะไกล่เกลี่ยปัญหานี้ ผู้ไกล่เกลี่ยหรืออาจเป็นคนอื่นจะจดบันทึกความก้าวหน้าของการประชุม เพื่อให้แน่ใจว่ามีการบันทึกข้อสำคัญของการเจรจาไว้เรียบร้อยแล้ว
การระบุเรื่องที่ต้องไกล่เกลี่ย
รูปแบบของการไกล่เกลี่ยอาจมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และการฝึกของผู้ไกล่เกลี่ยแต่ละคน ในกรณีส่วนใหญ่ การไกล่เกลี่ยจะมีสามส่วน อันดับแรกเกี่ยวข้องกับการนิยามประเด็นที่จะไกล่เกลี่ย อาจฟังดูง่าย แต่การตัดสินให้ชัดเจนว่าอะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้ขัดแย้งกันเป็นสิ่งแรก และสำคัญที่สุดสำหรับกระบวนการไกล่เกลี่ย การนิยามปัญหาให้ชัดเจนจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมหาทางแก้ไขปัญหาได้
การเจรจาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา
ส่วนที่สองของกระบวนการไกล่เกลี่ยคือการเจรจาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่ได้ระบุในการอภิปรายไปแล้ว โดยทั่วไปทั้งสองฝ่ายมีโอกาสที่จะแสดงความเห็นว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ซึ่งในขั้นตอนนี้ ทั้งสองฝ่ายอาจประชุมลับกันเป็นการส่วนบุคคลโดยมีผู้ไกล่เกลี่ยอยู่ด้วย
ในการประชุมส่วนบุคคลนี้ ทั้งสองฝ่ายอาจหาทางออก เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิทางกฎหมายและข้อผูกพัน และสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว
ทางผู้ไกล่เกลี่ยจะรักษาความลับของทั้งสองฝ่าย และสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายเห็นสอดคล้องกันเพื่อนำไปสู่หนทางการแก้ปัญหา
การเขียนข้อตกลงที่ประนีประนอมกันแล้ว
ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการไกล่เกลี่ยคือการเขียนข้อตกลงที่ประนีประนอมกันแล้ว ข้อตกลงจะมีทั้งประเด็นความขัดแย้ง การแก้ปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วย และยังมีตารางเวลาในการนำไปปฏิบัติการแก้ปัญหา
ทั้งสองฝ่ายจะเซ็นสัญญาในข้อตกลงและแจกจ่ายสำเนาให้ทั้งสองฝ่าย การไกล่เกลี่ยจะได้รับข้อสรุป และทั้งสองฝ่ายจะมีข้อผูกมัดที่ต้องทำตามข้อตกลง
จะเกิดอะไรขึ้นหากการเจรจาล้มเหลว
ผู้ไกล่เกลี่ยจะได้รับการฝึกมาเพื่อช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้สื่อสารกันและบรรลุข้อตกลง ถึงแม้ว่าการเจรจาจะมีบรรยากาศไม่เป็นมิตร แม้แต่หัวข้อสนทนาที่เป็นไปได้ยากที่สุดก็อาจประสบความสำเร็จได้หากมีผู้ไกล่เกลี่ยที่ดีเป็นผู้ควบคุมกระบวนการ แต่ในบางกรณี การเจรจาก็ล้มเหลว
หากเกิดความล้มเหลวขึ้น ทั้งสองฝ่ายก็ยังมีทางอื่นในการแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการร้องขอกระบวนการ due process hearing อย่างเป็นทางการ หรือทางผู้ปกครองอาจส่งคำร้องเรียน ซึ่งปกติแล้วทั้งสองวิธีจะถูกจัดการโดยสำนักงานการศึกษาพิเศษของรัฐ
รับบริการการไกล่เกลี่ยฟรี
เรียนรู้ว่าจะรับขอรับบริการไกล่เกลี่ยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับประเด็นเรื่องการศึกษาพิเศษในโรงเรียนรัฐได้ที่ไหนและอย่างไร และมีแบบฟอร์มจดหมายสำหรับการดาวน์โหลด เพื่อช่วยในการเริ่มต้นของคุณ