การดูแลเด็ก บุตรหลาน ภายในครอบครัว

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การดูแลเด็ก บุตรหลาน ภายในครอบครัว

การดูแลเด็กๆ ภายในบ้านมักมีความยากลำบากเพิ่มมากขึ้นเมื่อคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็ง

คุณอาจเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็ง หรืออาจเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งซึ่งเป็นคนในครอบครัวของคุณเอง ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม คุณจะพบว่ามันเป็นยากขึ้นที่จะดูแลเด็ก ๆ ภายในครอบครัวอย่างที่คุณต้องการ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เรื่องนี้อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ แต่อย่ากังวลที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ครอบครัวและเพื่อนของคุณมักมีความสุขที่ได้ช่วยพาบุตรหลาน เด็ก ๆ ในครอบครัวของคุณไปโรงเรียน หรือพาไปทำกิจกรรมประจำวัน เช่น การช็อปปิ้ง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้คุณมีพลังงานมากขึ้นในการทำกิจกรรมที่สนุกๆ กับบุตรหลานของคุณ

คุณควรเริ่มพูดคุยกับนายจ้าง หรือบริษัท ที่คุณทำงานเกี่ยวกับตารางเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้นขณะที่คุณป่วยเป็นโรคมะเร็ง หลายๆ นายจ้างอาจเสนอให้คุณทำงานที่บ้าน หรือมีเวลาในการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ในบางชุมชนคุณสามารถขอรับการสนับสนุนในการดูแลเด็กได้จากองค์กรอาสาสมัครต่าง ๆ  ซึ่งจะมีอาสาสมัครคอยให้ความช่วยเหลือในการดูแลเด็กให้กับคุณ

นอกจากนี้ควรแจ้งให้โรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก บุตรหลานของคุณให้ทราบ เพื่อให้พวกเขาให้การสนับสนุนในการดูแลบุตรหลานของคุณเช่นกัน แต่เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เด็กๆ ส่วนใหญ่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี เด็กๆ มักเรียนรู้ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งเมื่อพวกเขาต้องการ

การหาผู้ดูแลเด็กแทนคุณ

บริการดูแลเด็ก อาจให้บริการโดย:

  • ผู้มีอาชีพรับเลี้ยงเด็กที่มีประสบการณ์ หรือ childminders เป็นอาชีพรับเลี้ยงเด็กที่จะต้องนำบุตรหลานของคุณไปฝากไว้ที่บ้านของพี่เลี้ยงเด็กที่เป็นลักษณะของครอบครัว เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมและเล่นกับลูกของพี่เลี้ยง
  • การจ้างพี่เลี้ยงเด็กมาอาศัยอยู่ที่บ้าน ซึ่งพวกเขาจะให้การดูแลเด็กและอาจมีการทำงานบ้านร่วมด้วย
  • นำเด็กไปฝากไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็กในช่วงกลางวัน ซึ่งจะเป็นการดูแลอย่างมืออาชีพสำหรับเด็กอายุ 0 - 5 ปี ซึ่งอาจเป็นลักษณะของการนำเด็กไปฝากทั้งวัน ทุกวัน หรือนำไปฝากเป็นบางวันก็ได้
  • คลับสำหรับเด็ก (kids clubs) 

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Children’s Provision of Family Caregiving: Benefit or Burden?. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3842133/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)