การพยาบาลเพื่อป้องกันการรั่วของยาเคมีบำบัดออกนอกหลอดเลือด

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การพยาบาลเพื่อป้องกันการรั่วของยาเคมีบำบัดออกนอกหลอดเลือด
  1. สังเกตและประเมินอาการที่เกิดจากยารั่วออกนอกหลอดเลือดหลังจากให้ยาเคมีบำบัดแยกความแตกต่างระหว่างปฏิกิริยาที่เกิดจากการได้รับยาตามปกติ เช่น จากการบวมแดงเกิดเกือบทันที (ภายในไม่กี่นาที) มักจะเกิดตามเส้นเลือดและหายไปใน 60-90 นาที ผู้ป่วยจะรู้สึกคันเล็กน้อยและไม่มีอาการปวดใดๆ
  2. ตำแหน่งที่ให้ยาและเนื้อเยื่อโดยรอบ ควรเปิดให้เห็นได้ตลอดเวลา เพื่อการสังเกตได้ง่าย
  3. การพยาบาลเพื่อป้องกันการรั่วของยาเคมีบำบัด มีดังนี้
  • เลือกตำแหน่งที่ดีที่สุดของหลอดเลือดดำที่จะให้ยา โดยเป็นหลอดเลือดดำบริเวณต้นแขน มีการไหลเวียนกลับของเลือดดี ไม่ควรเป็นตำแหน่งที่เคยให้อยู่เดิม และหลีกเลี่ยงหลอดเลือดดำเล็กบริเวณหลังมือ
  • หลีกเลี่ยงการแทงเข็มหลายๆ ครั้งในหลอดเลือดดำเดิม เพื่อป้องกันการรั่วของยา
  • หลังจากแทงเข็มแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าหลอดเลือด ควรทดสอบโดยการฉีดน้ำเกลือ 5 มิลลิลิตรเข้าหลอดเลือดก่อนให้ยาเคมีบำบัด และทดสอบการไหลย้อนกลับของเลือด เมื่อให้ยาเคมีบำบัดทุก 3-4 มิลลิลิตร เพื่อให้แน่ใจว่าตัวยาอยู่ภายในหลอดเลือด ในระยะที่ให้ยาเคมีบำบัดด้วยการฉีดเข้าหลอดเลือด (Push) และสังเกตหลอดเลือดบริเวณที่ให้ยาเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ
  • ป้องกันการระคายเคืองต่อผนังหลอดเลือดจากยาเคมีบำบัด โดยการเจือจางยาตามที่ระบุไว้ข้างกล่อง และอัตราการให้เป็นไปตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด
  • ควรหยุดยาทันทีหากพบว่าอาจมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น ทดสอบแล้วไม่มีเลือดไหลย้อนกลับ ผู้ป่วยบ่นปวดบริเวณที่แทงเข็ม เป็นต้น
  • เมื่อการให้ยาสิ้นสุดลง ควรตามด้วยน้ำเกลือ 30 มิลลิลิตร จากนั้นกดตำแหน่งที่เอาเข็มออกไว้ประมาณ 4 นาที เพื่อป้องกันการรั่วซึม
  1. หากมีอาการหรืออาการแสดงว่าตัวยารั่วออกนอกหลอดเลือด ควรปฏิบัติ ดังนี้
  • หยุดการให้ยาทันที
  • ให้ทายาบริเวณที่แทงเข็มตามแผนการรักษา
  • ให้คำอธิบายและปลอบใจผู้ป่วยและครอบครัว
  • ประเมินตำแหน่งที่ให้ยา เพื่อดูการอักเสบและการเน่าตายของเนื้อเยื้อ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากหนังสือ "คู่มือโรค" โดยปราณี ทู้ไพเราะ จากจากโรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Extravasation Symptoms and Prevention. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/what-is-extravasation-2252331)
After chemotherapy - discharge. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000012.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)