กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยารักษาโรคองคชาติไม่แข็งตัวและมะเร็งผิวหนัง

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยารักษาโรคองคชาติไม่แข็งตัวและมะเร็งผิวหนัง

งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ชายที่ใช้ยา sildenafil (Viagra) ซึ่งเป็นยารักษาโรคองคชาติไม่แข็งตัวนั้นมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังชนิด melanoma ซึ่งเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่ร้ายแรงที่สุด เพิ่มขึ้น 84% ในเวลา 10 ปี

ถ้าให้คนทั่วไปสรุปจากย่อหน้าด้านบนสั้นๆ ส่วนมากก็จะสรุปว่ายา sildenafil นั้นจะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังที่อันตราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่มี 2 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนที่จะสรุป 1. งานวิจัยนี้ไม่ได้แสดงว่า Viagra นั้นทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง แต่แสดงให้เห็นว่าในผู้ชายกลุ่มใหญ่ๆ นั้น ผู้ที่บอกว่ามีการใช้ยา Viagra นั้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิด melanoma มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยา งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ามันมีความเกี่ยวข้องกัน แต่อาจจะไม่ใช่สาเหตุโดยตรง 2. ถึงแม้ว่ายา Viagra อาจจะทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง melanoma เพิ่มขึ้น แต่จำนวนที่เพิ่มขึ้นที่แท้จริงนั้นก็ค่อนข้างน้อย

ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งผิวหนังชนิด melanoma และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังได้กล่าวว่างานวิจัยดังกล่าวนั้นเป็นงานวิจัยที่ต้องการการแปลผลอย่างระมัดระวังเพราะมีหลายปัจจัยที่ต้องนำเข้ามาคิดร่วมด้วย ดังนั้นถึงแม้ว่างานวิจัยนี้จะน่าสนใจแต่มันก็ยังไม่ได้หมายความว่าผู้ชายที่ใช้ยานี้นั้นจะต้องกังวลในตอนนี้ว่ายานั้นจะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังชนิด melanoma แต่พวกเขาก็ควรต้องกังวลเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

งานวิจัยนี้นั้นเกิดจากการที่มีงานวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการที่พบว่า Viagra นั้นส่งผลต่อการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ซึ่งคล้ายคลึงกับกระบวนการที่ทำให้เซลล์มะเร็ง melanoma นั้นกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเมื่อเกิดการแพร่กระจายแล้วจะสามารถควบคุมได้ยากและทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา

งานวิจัยนี้เลยทำการศึกษาจากข้อมูลที่เคยเก็บไว้จากงานวิจัยหนึ่งตั้งแต่ปี 1986 ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยนั้นจะมีการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ชีวิตทุกๆ 2 ปี และเริ่มมีการถามเกี่ยวกับยารักษาโรคองคชาติไม่แข็งตัวตั้งแต่ปี 2000

จากข้อมูลที่เก็บได้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการเปรียบเทียบอัตราส่วนของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิด melanoma ระหว่างกลุ่มที่มีการใช้ยาและกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ และพบว่ากลุ่มที่ใช้ยานั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิด melanoma เพิ่มขึ้น 84% หรือคิดเป็นตัวเลขจริงๆ คือ 4.3 รายต่อผู้ชาย 1000 คน

ในปัจจุบันยังไม่ทราบความเกี่ยวข้องระหว่างยารักษาโรคองคชาติไม่แข็งตัวชนิดอื่นกับมะเร็ง melanoma เพราะในช่วงที่งานวิจัยนั้นเริ่มเก็บข้อมูล มีเพียงยา Viagra เท่านั้นที่สามารถใช้รักษายาดังกล่าวได้ ยาตัวอื่นนั้นเพิ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้ในปี 2003 และ 2012

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จากงานวิจัยดังกล่าวจะพบว่าตัวเลขความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจริงๆ นั้นค่อนข้างน้อย ซึ่งทำให้ต้องระมัดระวังในการประเมินความสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ และนั่นยังไม่รวมถึงว่าผู้ที่เป็นมะเร็งผิวหนังชนิด Melanoma และรับประทานยา Viagra นั้นยังอาจเกิดมะเร็งผิวหนังจากปัจจัยอื่น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังนี้นั้นเช่นอายุและการได้รับรังสีเหนือม่วง

คุณควรจะต้องกังวลหรือไม่?

แล้วผู้ที่ใช้ยา Viagra อยู่นั้นควรจะกังวลว่าตัวเองจะเป็นมะเร็งผิวหนังหรือไม่? ในปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถบอกได้ ผลจากงานวิจัยนี้อาจเกิดจากความบังเอิญก็ได้ และยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมก่อนที่จะสามารถออกประกาศเตือนในเรื่องดังกล่าว

ในระหว่างนี้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ชายทุกคนนั้นป้องกันผิวหนังจากการโดนแสงแดดและตรวจผิวหนังเป็นประจำเพื่อให้พบมะเร็งผิวหนังตั้งแต่ระยะแรกที่ยังสามารถรักษาได้

โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้นและยังมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงขึ้นอีกด้วย

โดยสรุปแล้วก็คือ คุณควรกังวลแต่ไม่ใช่จากยา Viagra ควรกังวลเกี่ยวกับการโดนแดดที่มากเกินไปหรือถ้าหากเจอไฝที่ผิดปกติที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ อย่าลืมใส่เสื้อคลุมทุกครั้งที่ออกแดดและใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป