ดอกเข็ม (Ixora)

ดอกเข็ม นอกจากความสวยงามและความหมายที่มักนิยมใช้ในพิธีมงคลแล้ว ยังเป็นหนึ่งในดอกไม้ที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายในหลากหลายด้าน
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ดอกเข็ม (Ixora)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ดอกเข็มหรือต้นเข็ม (Ixora) นิยมนำมาไหว้ครูเพื่อสื่อถึงสติปัญญาที่เฉียบคม
  • ต้นเข็มปลูกง่ายในประเทศไทย ชอบแดดจัด มีความสูงได้ตั้งแต่ 0.3-5 เมตร มีใบเดี่ยวก้านสั้น และมีดอกเป็นช่อ
  • รากของต้นเข็มช่วยขับเสมหะ ลดไข้ ใบต้นเข็มช่วยถ่ายพยาธิ และดอกเข็มสามารถรักษาโรคตาได้ วิธีการบริโภคคือการนำมาประกอบอาหาร เช่น นำดอกเข็มมาชุบแป้งทอด
  • แต่ดอกเข็มจากตลาดบางแห่งปลูกขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการตกแต่งเท่านั้น อาจมีสารพิษเคลือบดอกอยู่ หากต้องการบริโภคควรปลูกด้วยตัวเอง

หากสงสัยว่าตนเองแพ้อากาศหรือเกสรดอกไม้ สามารถลองตรวจหาภูมิแพ้อากาศได้ (ดูแพ็กเกจ ตรวจภูมิแพ้อากาศและอาหารได้ ที่นี่)

ดอกเข็ม จัดเป็นไม้ดอกไม้ประดับมงคลตามความเชื่อของชาวไทย โดยส่วนมากนิยมนำมาใช้ในพิธีไหว้ครู เพื่อสื่อถึงปัญญาที่เฉียบแหลม ตลอดจนใช้จัดแต่งดอกไม้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ แต่นอกจากความสวยงาม และคุณค่าทางความเชื่อแล้ว ดอกเข็มยังเป็นหนึ่งในดอกไม้ที่ซ่อนสรรพคุณและประโยชน์เอาไว้มากมาย

รู้จักดอกเข็ม

ดอกเข็ม หรือต้นเข็ม (Ixora) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกได้ง่ายมากในประเทศไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัด ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ทั้งยังทนต่อความแห้งแล้ง

ต้นเข็มมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดังนี้

  • ลำต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็กถึงปานกลาง มีความสูงประมาณ 0.3-5 เมตร
  • ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีรูปทรงคล้ายหอก ปลายใบแหลม เนื้อใบหนาและแข็ง ก้านใบสั้นหรืออาจไม่มีก้านใบ
  • ดอก มีลักษณะเป็นช่อ ออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ที่ปลายยอดหรือกิ่งข้าง กลีบดอกกันเป็นหลอดยาว โดยเกสรเพศผู้สีเหลือง 4 อัน ติดอยู่ที่หลอดดอกด้านบนและอยู่สลับกับกลีบ ในขณะที่เกสรเพศเมียจะยื่นเลยหลอดดอก
  • ผล ผลกลมสีออกดำ เนื้อนุ่ม ภายในมีเมล็ด

สรรพคุณของต้นเข็ม

ตามตำราแพทย์แผนไทย กล่าวว่า ดอกเข็มมีสรรพคุณทางยาทั้งในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค โดยแต่ละส่วนของต้นจะให้สรรพคุณที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • ราก ช่วยขับเสมหะ บำรุงกำลัง แก้อักเสบ ลดอาการบวม ช่วยลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร ลดความดันโลหิต ช่วยถ่ายพยาธิ ตลอดจนเสริมสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบ มีสรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ
  • ดอก รักษาโรคตา แก้ไอเรื้อรัง แก้ท้องเสีย ช่วยเจริญอาหาร

ดอกเข็ม บริโภคอย่างไร?

ดอกเข็ม นับเป็นหนึ่งในดอกไม้ที่นิยมนำมารังสรรค์เมนูอาหารหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ยำดอกเข็ม ไข่ตุ๋นดอกเข็ม ตลอดจนเมนูยอดฮิตอย่างการนำดอกเข็มมาชุบแป้งทอด รับประทานกับน้ำพริก

ส่วนของรากและใบของต้นแข็มที่มีสรรพคุณเพื่อสุขภาพนั้น โดยทั่วไปไม่นิยมนำมาทำอาหาร เนื่องจากถ้ารับประทานสดๆ จะมีรสฝาด และอาจทำเกิดการอาเจียนได้ จึงถูกนำไปแปรรูปเป็นยาเสียมากกว่า

ข้อควรระวังในการบริโภคดอกเข็ม

ถึงแม้ว่าดอกเข็มจะเต็มไปด้วยประโยชน์และสรรพคุณมากมาย แต่ข้อสำคัญในการบริโภคดอกเข็ม คือไม่ควรซื้อดอกเข็มตามท้องตลาดทั่วไปมารับประทาน

เพราะดอกเข็มที่ขายตามท้องตลาดส่วนมากมีจุดประสงค์เพื่อใช้จัดแต่งดอกไม้ในโอกาสต่างๆ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการใช้สารเคมีพ่นหรือเคลือบเพื่อรักษาสภาพดอกไม้ไว้ หากนำมารับประทานอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัย ควรใช้ดอกเข็มที่ปลูกเอง หรือนำมาจากแหล่งที่มั่นใจว่าไร้สารเคมี

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ ตรวจหัวใจ ตรวจสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สมุนไพรไทย, เข็มแดง (http://www.สมุนไพร-ไทย.com/เข็มแดง/).
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา, ดอกไม้กินได้แต่ต้องไร้สารเคมี (http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1504).
มหาวิทยาลัยมหิดล, เข็มแดง (https://il.mahidol.ac.th/e-media/plants/webcontent3/interactive_key/key/describ/kemdaeng.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)