กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความสำคัญของห้องปฏิบัติการ IVF

นอกจากขั้นตอนและการตัดสินใจต่างๆ ในการทำ IVF ที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์แล้ว ห้องปฏิบัติการก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน หากเลือกห้องปฏิบัติการที่ไม่ได้คุณภาพ ก็อาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ
เผยแพร่ครั้งแรก 31 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความสำคัญของห้องปฏิบัติการ IVF

ความสามารถของห้องปฏิบัติการ มีความสำคัญอย่างไร

ขั้นตอนสำคัญต่างๆ ในการทำ IVF มักดำเนินการในห้องปฏิบัติการของคลินิก ซึ่งห้องปฏิบัติการแต่ละแห่งก็มีคุณภาพที่แตกต่างกันไป การเข้ารักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี IVF ในคลินิกที่มีห้องปฏิบัติการที่เป็นมาตรฐานสากล จะสามารถเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการทำ IVF ได้มากขึ้นถึง 2 เท่า

กระบวนการทำงานในขั้นตอนต่างๆ และความสามารถหรือความเชี่ยวชาญของห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพ ควรเป็นไปตามแผนภาพด้านล่างนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถ้าจะให้ดีที่สุด ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากคลินิกที่มีความสามารถของห้องปฏิบัติการ ดังนี้

  • สามารถปฏิสนธิไข่ที่เก็บได้อย่างน้อย 75 - 80% ขึ้นอยู่กับเทคนิคในการปฏิสนธิ (หากใช้เทคนิค ICSI มีอัตราสำเร็จสูงกว่า)
  • สามารถเลี้ยงไข่ที่ปฏิสนธิแล้วให้เป็นเอ็มบริโอในระยะบลาสโตซิสต์ได้ 60% (หรือในระยะแรกของการแบ่งตัวได้ 70%)
  • สามารถแยกเซลล์จากเอ็มบริโอมาตรวจ PGS ได้สำเร็จ และ 95% ของเอ็มบริโอ ต้องมีการเก็บเซลล์ได้อย่างเพียงพอสำหรับการอ่านผลอย่างถูกต้อง
  • สามารถเก็บแช่แข็งเอ็มบริโอได้ โดย 99% ของเอ็มบริโอระยะบลาสโตซิสต์ที่เก็บแช่แข็ง (หรือ 90% ของระยะแรกของการแบ่งเซลล์) สามารถนำมาใช้ใหม่ได้โดยไม่เสียหาย

นอกจากนี้ การที่ห้องปฏิบัติการของคลินิกเปิดทำงานตลอด 7 วันต่อสัปดาห์ และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเพียงพอ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากผู้ป่วยต้องรอห้องปฏิบัติการเปิดทำการในวันจันทร์ อาจส่งผลกระทบทำให้อัตราความสำเร็จในการทำ IVF ลดน้อยลงไป

แนวทางจัดการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และการรับรองคุณภาพของห้องปฏิบัติการ

อีกเรื่องที่ผู้เข้ารับการทำ IVF ไม่ควรมองข้าม คือการรับมือกับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ของห้องปฏิบัติการ เช่น ระบบติดตามแบบเรียลไทม์ที่ช่วยแจ้งเตือนเมื่อเครื่องมือใช้การไม่ได้ หรือระบบพลังงานสำรองในกรณีที่ไฟฟ้าดับ เป็นต้น

ปัจจุบันห้องปฏิบัติการนั้นเปิดดำเนินการได้ง่ายขึ้น จึงอาจพบว่าห้องปฏิบัติการบางแห่งมีการจัดการที่หละหลวม ดังนั้น ควรตรวจสอบด้วยตัวเองว่าคลินิกและห้องปฏิบัติการที่กำลังจะเข้ารับการทำ IVF มีมาตรฐานหรือการรับรองคุณภาพจากองค์กรที่น่าเชื่อถือหรือไม่

สำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในประเทศไทยที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน จะต้องผ่านการรับรอง Laboratory Accreditation (LA) และมาตรฐาน ISO 17025 ซึ่งระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการ การทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ และการจัดการด้านคุณภาพของห้องปฏิบัติการ

ที่มาของข้อมูล

Importance Of The IVF Laboratory (https://www.fertilityiq.com/ivf-in-vitro-fertilization/importance-of-the-lab#disaster-recovery-and-accreditation)


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
[Spermatocyte antibodies in serum and follicular fluid of IVF and GIFT patients]. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2281734)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่มากับมลภาวะ และวิธีการเลือกหน้ากากป้องกัน
รู้จักฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่มากับมลภาวะ และวิธีการเลือกหน้ากากป้องกัน

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร? มาจากไหน? แตกต่างจากฝุ่นละอองทั่วไปในอากาศอย่างไร? อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่?

อ่านเพิ่ม