กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ควรเลือกเอ็มบริโอใดเพื่อนำเข้าสู่มดลูก?

การเลือกเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูก ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในกระบวนการทำ IVF ซึ่งแพทย์ก็มีหลักเกณฑ์ในการเลือกเอ็มบริโอที่เหมาะสมที่สุด 3 เกณฑ์ด้วยกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 31 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ควรเลือกเอ็มบริโอใดเพื่อนำเข้าสู่มดลูก?

เกณฑ์ในการประเมินและเลือกเอ็มบริโอ

คลินิกส่วนใหญ่ มักมีเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเอ็มบริโอใดดีที่สุด และควรนำเข้าสู่มดลูกเป็นอันดับแรก ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าว ได้แก่

  • ความเร็วในการแบ่งตัวของเอ็มบริโอ : โดยดูว่าเอ็มบริโอสามารถเจริญไปถึงระยะหนึ่งๆ (เช่น ระยะแรกของการแบ่งตัว หรือระยะบลาสโตซิสต์) ได้เร็วแค่ไหน
  • ลักษณะรูปร่างของเอ็มบริโอ: ผู้เชี่ยวชาญจะแปรผล โดยดูจากลักษณะจำเพาะบางอย่างของเอ็มบริโอ
  • ผลการตรวจทางพันธุกรรม (PGS): เป็นผลจากห้องปฏิบัติการกลาง ว่าเอ็มบริโอมีจำนวนโครโมโซมปกติหรือไม่

ความเร็วในการแบ่งตัวของเอ็มบริโอ

มีการศึกษาระบุว่า ความเร็วในการเจริญของเอ็มบริโอไปสู่ระยะหนึ่งๆ (เช่น ระยะบลาสโตซิสต์) จะสัมพันธ์กับโอกาสสำเร็จในการทำ IVF จากภาพด้านล่างนี้ คือข้อมูลจากการนำเอ็มบริโอที่เก็บแช่แข็งเข้าสู่มดลูกกว่า 1,000 ครั้ง โดยแบ่งตามระยะเวลา (วัน) ที่เอ็มบริโอเจริญถึงระยะบลาสโตซิสต์ จะเห็นว่าเอ็มบริโอที่สามารถเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ได้ในวันที่ 5 มีแนวโน้มที่จะเจริญเป็นทารกได้สูงกว่า เอ็มบริโอที่เข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ในวันที่ 6

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ส่วนเอ็มบริโอที่เข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ในวันที่ 7 จะมีโอกาสเจริญเป็นทารกได้ต่ำกว่าเอ็มบริโอที่เข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ในวันที่ 5 และ 6 ดังนั้น คลินิกส่วนใหญ่จึงมักหลีกเลี่ยงการใช้เอ็มบริโอที่เข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ช้ากว่าวันที่ 6 เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจตามมา

ลักษณะรูปร่างของเอ็มบริโอ

การประเมินลักษณะรูปร่างของเอ็มบริโอจะถูกแปรผลเป็นคะแนนที่มีตัวเลขตามด้วยตัวอักษร 2 ตัว (เช่น 4AB) ซึ่งตัวเลขและตัวอักษรเหล่านี้จะบ่งบอกว่า เอ็มบริโอมีการขยายขนาดมากขึ้นแค่ไหน มีเซลล์ที่อยู่ภายในที่เจริญเป็นฟีตัส) และเซลล์เยื่อหุ้มภายนอก (Trophectoderm) ที่จะเจริญเป็นรกมากเท่าใด

แม้ตัวเลขการขยายขนาดจะอยู่หน้าสุด แต่ส่วนสำคัญที่สุดคือเซลล์ที่อยู่ภายในหรือส่วนที่จะเจริญเป็นฟีตัส จากการศึกษาพบว่า เอ็มบริโอที่มีลักษณะรูปร่างดีกว่า มีโอกาสที่จะเจริญไปเป็นทารกและคลอดออกมาได้มากกว่า แต่ถึงอย่างนั้น ลักษณะรูปร่างของเอ็มบริโอก็ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกสำเร็จได้เสมอไป

ผลการตรวจกรองทางพันธุกรรม (PGS)

การตรวจกรองทางพันธุกรรมในเอ็มบริโอ เป็นวิธีที่ช่วยคัดเอ็มบริโอที่ไม่สมบูรณ์ออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีหลักฐานที่พบว่าเอ็มบริโอที่มีโครโมโซมผิดปกติก็สามารถเจริญไปเป็นทารกได้ แต่ก็พบน้อยมาก แต่หลักเกณฑ์ข้อนี้สามารถใช้ได้กับผู้เข้ารับการตรวจ IVF ที่ได้ทำ PGS เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จะทำอย่างไร หากผลการตรวจ PGS และผลการประเมินลักษณะรูปร่างของเอ็มบริโอขัดแย้งกัน?

เป็นไปได้ที่เอ็มบริโอซึ่งมีความผิดปกติตามผลตรวจ PGS จะสามารถเจริญได้ไว และมีลักษณะดีมาก ในทางกลับกัน เอ็มบริโอที่ผ่านการตรวจ PGS แล้วพบว่าปกติ ก็อาจมีลักษณะรูปร่างที่ไม่ดีได้เช่นกัน ในกรณีนี้ แพทย์จะยึดตามผลตรวจ PGS เป็นหลัก และถือว่าเอ็มบริโอที่เป็น Euploid นั้นมีความสำคัญมากที่สุด

ที่มาของข้อมูล

Which Embryo To Transfer? (https://www.fertilityiq.com/ivf-in-vitro-fertilization/which-embryo-to-transfer#criteria-for-evaluating-an-embryo)


27 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ART Success Rates. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/art/artdata/index.html)
Mayo Clinic Staff. (2018). In vitro fertilization (IVF). (https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/in-vitro-fertilization/about/pac-20384716)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การตรวจกรองทางพันธุกรรมในเอ็มบริโอด้วยวิธี PGS
การตรวจกรองทางพันธุกรรมในเอ็มบริโอด้วยวิธี PGS

การตรวจพันธุกรรมในเอ็มบริโอ ก่อนนำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูกตามกระบวนการทำ IVF คืออะไร มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง ตรวจหรือไม่ตรวจดีกว่ากัน?

อ่านเพิ่ม