การตรวจกรองทางพันธุกรรมด้วยวิธี PGS คืออะไร?
การตรวจกรองทางพันธุกรรมในเอ็มบริโอทำได้หลายวิธี แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีที่ใช้วิเคราะห์จำนวนโครโมโซมเท่านั้น เรียกว่าวิธี Pre-Implantation Genetic Screening ซึ่งเป็นเครื่องมือการวินิจฉัยที่ช่วยระบุว่า เอ็มบริโอใดมีจำนวนโครโมโซมในเซลล์ปกติ และควรนำเข้าสู่มดลูก
จุดเด่นและจุดด้อยของ PGS
สามารถเปรียบได้ตามตารางด้านล่างนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
จุดเด่น – จุดด้อย ของ Pre-Implantation Genetic Screening
จุดเด่น | จุดด้อย |
---|---|
|
|
กระบวนการตรวจทางพันธุกรรมด้วย PGS
การตรวจ PGS จะต้องทำในห้องปฏิบัติการ โดยจะทำการแยกเซลล์ 5 - 7 เซลล์ ออกมาจากเอ็มบริโอระยะบลาสโตซิสต์ และส่งเซลล์ไปเข้าเครื่องตรวจเพื่อวิเคราะห์จำนวนโครโมโซมในเอ็มบริโอ จากนั้นจึงส่งผลกลับมายังคลินิก เพื่อรายงานว่าเอ็มบริโอจัดอยู่ในลักษณะใด ได้แก่
- มีจำนวนโครโมโซมปกติ (Euploid)
- มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ (Aneuploid)
- มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่าง Euploid และ Aneuploid (Mosaic)
หลังจากที่ได้รับผลแล้ว ทางคลินิกจะแจ้งผลแก่ผู้ป่วย และตัดสินใจว่าจะนำเอ็มบริโอใดเข้าสู่มดลูกต่อไป
การเลือกเอ็มบริโอเพื่อนำเข้าสู่มดลูก
การที่เอ็มบริโอจะเจริญเป็นทารกได้ จะต้องมีโครโมโซมครบถ้วน ดังนั้น เอ็มบริโอที่เป็น Euploid มีโอกาสนำไปสู่การคลอดทารกที่สมบูรณ์ได้มากที่สุด จึงควรถูกนำเข้าสู่มดลูกก่อน
ส่วนเอ็มบริโอที่เป็น Mosaic ก็อาจนำไปสู่การคลอดทารกได้เช่นกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ และอาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่เอ็มบริโอที่เป็น Aneuploid แทบทั้งหมด ไม่สามารถนำไปสู่การคลอดทารกที่สมบูรณ์ได้เลย และถึงแม้จะเจริญเป็นทารกได้ เด็กที่คลอดออกมาก็มักมีปัญหาสุขภาพอยู่ดี
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ประโยชน์ของการตรวจทางพันธุกรรมด้วย PGS
ประโยชน์ของการตรวจทางพันธุกรรมด้วย PGS มีประโยชน์ดังนี้
- เอ็มบริโอที่ผ่านการตรวจทางพันธุกรรมด้วย PGS ก่อนนำเข้าสู่มดลูก จะมีโอกาสฝังตัวและคลอดสำเร็จสูงกว่ามาก
- การตรวจ PGS และพบว่าเอ็มบริโอมีโครโมโซมปกติ จะมีโอกาสนำเอ็มบริโอเดี่ยวเข้าสู่มดลูกได้มากกว่า เพราะการนำเอ็มบริโอเดี่ยวเข้าสู่มดลูก โอกาสที่จะเกิดครรภ์แฝดจะมีเพียง 1% เท่านั้น แต่หากนำเอ็มบริโมากกว่าหนึ่งอเข้าสู่มดลูก โอกาสเกิดครรภ์แฝดจะสูงถึง 30% ซึ่งการคลอดทารกแฝดอาจเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และทารกได้
- การตรวจ PGS คือสามารถทราบเพศของเอ็มบริโอได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับคลินิกด้วยว่าจะยินยอมเปิดเผยหรือไม่
ข้อเสียของการตรวจทางพันธุกรรมด้วย PGS
การตรวจพันธุกรรมของเอ็มบริโอด้วย PGS มีข้อเสียดังนี้
- PGS เป็นเพียงวิธีการตรวจทางพันธุกรรม ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงคุณภาพของเอ็มบริโอ การตรวจด้วย PGS จึงไม่ได้ช่วยเพิ่มโอกาสที่เอ็มบริโอจะเจริญเป็นทารกและคลอดออกมาได้สมบูรณ์ รวมถึงไม่ได้เพิ่มโอกาสสำเร็จในการทำ IVF
- ความถูกต้องของผลการตรวจ PGS มีกรณีศึกษาที่พบว่าผู้เข้ารับการตรวจ IVF กลุ่มหนึ่ง (ในช่วงอายุเท่าๆ กัน และรักษาในคลินิกที่ห่างกันเพียง 15 ไมล์) ที่รับการตรวจ PGS จากห้องปฏิบัติการกลางคนละแห่ง กลับได้รับผลตรวจที่แตกต่างกันอย่างมาก (ตามรายละเอียดในภาพด้านล่าง) ทำให้หลายคนกลัวว่าเอ็มบริโอที่มีคุณภาพดี (Euploid) อาจถูกวินิจฉัยว่าเป็นเอ็มบริโอผิดปกติ (Aneuploid) ซึ่งส่งผลเสียต่อผู้เข้ารับการตรวจ IVF ที่มีอายุมาก บางคนอาจท้อแท้จนล้มเลิกความตั้งใจจะมีลูกไปเลย
ที่มาของข้อมูล
PGS Genetic Screening of Embryos (https://www.fertilityiq.com/courses/ivf-in-vitro-fertilization/pgs-genetic-screening-of-embryos#what-is-pgs-genetic-screening)