การทำ IVF หรือ In Vitro Fertilization เป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูง และมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนพอสมควร
ขั้นตอนแรกคือการฉีดฮอร์โมนในผู้หญิงที่เข้ารับการทำ IVF เพื่อกระตุ้นรังไข่ให้เกิดการเจริญของถุงไข่อ่อน (Follicle) จำนวนมาก ซึ่งจะมีไข่ที่เจริญเต็มที่แล้วอยู่ภายใน
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ทำไมจึงต้องกระตุ้นรังไข่?
ในแต่ละขั้นตอนของการทำ IVF จะมีไข่และเอ็มบริโอจำนวนหนึ่งที่ต้องสูญเสียไป (ตามรายละเอียดด้านล่างนี้) ดังนั้น ผู้หญิงจึงจำเป็นต้องมีไข่จำนวนมากในตอนเริ่มแรก
ตามปกติแล้ว ควรจะเก็บไข่ให้ได้ประมาณ 15 - 20 ใบ ถ้าดูจากกราฟที่รวบรวมจากผู้เข้ารับการทำ IVF จำนวน 38,000 คนในยุโรปด้านล่าง จะเห็นว่า โอกาสการทำ IVF สำเร็จ (เส้นสีเขียว) จะสูงขึ้นหากเก็บไข่ได้จำนวนมากขึ้น แต่การเก็บจำนวนมากขนาดนั้นมักทำได้ยาก และถ้าเก็บได้ถึง 15 - 20 ใบ โอกาสความสำเร็จจะไม่สูงขึ้นอีก แต่อัตราการเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน (OHSS) (เส้นสีชมพู) จะพุ่งสูงขึ้นแทน ซึ่งภาวะ OHSS ทำให้ผู้หญิงเกิดความเจ็บปวดรุนแรงจนอาจเป็นอันตรายได้
ด้วยเหตุนี้ แพทย์จึงมักเก็บไข่ให้ได้จำนวน 15 - 20 ใบต่อการทำ IVF หนึ่งรอบ ซึ่งในรอบเดือนปกตินั้น ผู้หญิงจะมีไข่ตกเพียง 1 ใบ เพื่อทำให้มีไข่ที่เจริญมีจำนวนมากขึ้น แพทย์จึงต้องให้ยาเพื่อกระตุ้นให้ฟอลลิเคิลจำนวนมากในรังไข่เจริญในคราวเดียวกัน
การเลือกให้ยาหลายตัวร่วมกัน และปริมาณยาแต่ละตัวที่ให้ จะมีการเรียกว่า “แนวทางการใช้ยา” โดยมี 2 สิ่งที่ต้องพิจารณา ได้แก่
- การใช้โกนาโดโทรปิน (Gonadotropin) ปริมาณมากเท่าไหร่?
- ยาตัวใดบ้างที่จะนำมาใช้ร่วมกับโกนาโดโทรปิน?
ปริมาณโกนาโดโทรปินที่ใช้
โกนาโดโทรปินเป็นฮอร์โมนสำหรับฉีดช่วยกระตุ้นการโตของฟอลลิเคิลจำนวนมากในคราวเดียว รวมถึงไข่ที่อยู่ภายใน
ปริมาณโกนาโดโทรปินมักคำนวณเป็นหน่วย “International Units” ซึ่งอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0 ถึง 900 ผู้ที่เข้ารับการทำ IVF ส่วนมากจะได้รับในปริมาณ 250 - 450 IU ต่อวัน ปริมาณโกนาโดโทรปินมีความสำคัญมาก เพราะถ้าหากใช้น้อยเกินไป ไข่ที่เก็บได้จะมีจำนวนน้อย แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นเกินขนาดในผู้หญิง (OHSS) ได้
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การเลือกแนวทางการใช้ยา
แม้โกนาโดโทรปินจะเป็นตัวยาที่สำคัญที่สุด แต่ตามหลักการแล้ว แพทย์จะให้ยาร่วมกับโกนาโดโทรปินอีก 2 ชนิด เพื่อยับยั้งไม่ให้มีการตกไข่ก่อนเก็บไข่ และเพื่อเหนี่ยวนำให้ไข่เจริญจนสามารถเก็บได้ ตามตารางด้านล่างนี้
การกระตุ้นระบบสืบพันธุ์โดยใช้ยา 3 ประเภท
ประเภทของยา | บทบาท | ตัวเลือก | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
กระตุ้น |
กระตุ้นการโตของฟอลลิเคิลและไข่ |
โกนาโดโทรปิน |
มีประสิทธิภาพดี ใช้วิธีการฉีด ราคาประมาณ 100,000 - 150,000 บาท เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ OHSS จำเป็นต้องให้ทั้ง FSH และ FSH + LH |
FSH |
ยา Gonal-F หรือ Follistim ให้ผลไม่ต่างกัน |
||
FSH + LH |
ยาที่สามารถใช้ได้มีเพียง Menopur |
||
Clomid |
ให้โดยการรับประทาน ราคาถูก แต่ประสิทธิภาพต่ำกว่า |
||
ยับยั้ง |
ยับยั้งการตกไข่ก่อนเก็บไข่ |
Lupron |
ออกฤทธิ์ช้า ใช้ก่อนเริ่มให้โกนาโดโทรปิน |
Ganirelix หรือ Cetrotide |
ออกฤทธิ์เร็ว ใช้หลังจากให้โกนาโดโทรปินไปแล้ว 5 วัน |
||
เหนี่ยวนำ |
ทำให้ไข่เจริญพร้อมต่อการเก็บ |
Lupron |
ออกฤทธิ์ที่ฟอลลิเคิลโดยตรง ลดความเสี่ยงต่อภาวะ OHSS ได้มาก |
ออกฤทธิ์ที่ฟอลลิเคิลโดยตรง |
รายละเอียดของยาแต่ละชนิด มีดังนี้
- ยาที่กระตุ้นการตกไข่|
เป็นตัวยาที่ช่วยกระตุ้นการโตของฟอลลิเคิลจำนวนมากในคราวเดียว รวมถึงการเจริญของไข่ด้วย ซึ่งยากลุ่มนี้ ได้แก่- โกนาโดโทรปิน (Gonadotropin) : ฮอร์โมนโกนาโดโทรปินมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ FSH และ LH จากงานวิจัยส่วนมากระบุว่าผู้ป่วยควรใช้ทั้งสองชนิดในการทำ IVF สำหรับการให้ FSH จะใช้ในรูปของยา Gonal-F หรือ Follistim (มักสามารถใช้แทนกันได้) ส่วนการให้ FSH + LH ผู้หญิงส่วนมากจะได้รับในรูปยา Menopur
- โคลมิด (Clomid) : เป็นยาที่ออกฤทธิ์ทางอ้อม โดยสั่งการให้สมองหลั่งโกนาโดโทรปินมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการโตของฟอลลิเคิลในรังไข่ โคลมิดจึงไม่ได้ออกฤทธิ์กับรังไข่โดยตรง จึงมีความเสี่ยงต่อภาวะ OHSS น้อยกว่า แต่ประสิทธิภาพก็ต่ำกว่าเช่นกัน
- ยาที่ยับยั้งการตกไข่
เมื่อมีฟอลลิเคิลที่โตขึ้นจำนวนมาก จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการตกไข่ก่อนที่จะเก็บไข่ออกมา ตัวยาเหล่านี้จะส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อยับยั้งไม่ให้ไข่ตก ซึ่งตัวยากลุ่มนี้ ได้แก่- Lupron : เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า ต้องใช้ติดต่อกันนานหลายวัน และต้องให้ก่อนเริ่มการกระตุ้นรังไข่
- Ganirelix หรือ Cetrotide : ยาสองตัวนี้จะออกฤทธิ์ได้ทันที และจะเริ่มให้หลังการกระตุ้นรังไข่ไปแล้ว 5 - 6 วัน
- ยาที่เหนี่ยวนำการเจริญของไข่
ตัวยาเหล่านี้ออกฤทธิ์ตรงข้ามกับยายับยั้งการตกไข่ โดยจะส่งสัญญาณให้ไข่ภายในฟอลลิเคิลเจริญเต็มที่พร้อมต่อการเก็บไข่ ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่- hCG : จะออกฤทธิ์ที่ฟอลลิเคิลโดยตรง และอาจทำให้เกิดภาวะ OHSS ได้
- Lupron : จะไปสั่งการให้สมองหลั่ง LH มากขึ้น และส่งสัญญาณให้ไข่เจริญพร้อมต่อการตกไข่ Lupron สามารถลดการเกิดภาวะ OHSS ได้ดีมาก
รูปแบบกลไกของแนวทางการใช้ยาแต่ละแบบ
หลักๆ แล้ว แนวทางการใช้ยาที่แพทย์มักเลือกใช้ มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่
- แนวทางการใช้ยาแบบ Long Agonist
เป็นแนวทางการใช้ยาแบบดั้งเดิมที่สุด และมีประสิทธิภาพมากในการยับยั้งการตกไข่ที่ยังไม่เจริญเต็มที่ อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้มีผลเสียอยู่ 2 ข้อ ได้แก่- ต้องให้ยาโดยการฉีดเป็นระยะเวลานาน (เริ่มตั้งแต่รอบเดือนก่อนหน้า)
- ผู้ป่วยต้องได้รับ hCG เพื่อกระตุ้นการเจริญของไข่ โดยไม่สามารถใช้ Lupron แทนได้ (เนื่องจากได้รับ Lupron เพื่อยับยั้งการตกไข่ไปแล้ว) ซึ่ง Lupron เป็นยาตัวเดียวที่ป้องกันภาวะ OHSS ได้ ดังนั้น ในผู้ป่วยที่อาจเกิดภาวะ OHSS (เช่น ผู้หญิงที่มีถุงน้ำในรังไข่ หรือมี AFC หรือ AMH สูง) ต้องหลีกเลี่ยงแนวทางนี้
- แนวทางการใช้ยาแบบ Antagonist
เป็นแนวทางที่นิยมใช้กันมากที่สุด มีจุดเด่นอยู่ที่ระยะเวลาที่ให้ยาชนิดฉีดสั้นกว่า และมีอัตราการเกิด OHSS ต่ำกว่า เนื่องจากการใช้ Lupron เป็นตัวยากระตุ้นไข่ ด้วยเหตุนี้ แนวทางแบบ Antagonist จึงเหมาะกับผู้หญิงที่มีโอกาสเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน หรือ OHSS ได้ - แนวทางการใช้ยาแบบ Flare
แนวทางนี้ส่วนมากจะใช้เฉพาะในผู้หญิงที่มีการตอบสนองต่อการกระตุ้นต่ำ หรือผู้หญิงที่อาจมีภาวะรังไข่ต่ำ (มีระดับ AMH ต่ำกว่า 0.5 หรือมี AFC ต่ำกว่า 5) แม้ว่าแนวทางนี้จะไม่ใช้ Lupron เพื่อป้องกันภาวะ OHSS แต่เนื่องจากผู้ป่วยส่วนมากมักตอบสนองต่อโกนาโดโทรปินต่ำ โอกาสเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินจึงค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว
การเปรียบเทียบแนวทางการใช้ยา
Long Agonist | Antagonist | Flare | |
---|---|---|---|
อัตราความสำเร็จ |
เท่ากัน |
เท่ากัน |
เท่ากัน |
ความเสี่ยงต่อ OHSS |
สูงสุด |
ต่ำสุด |
ไม่ค่อยใช้ในผู้ป่วยทั่วไป จึงมักไม่นำมาเปรียบเทียบ |
ระยะเวลา |
ยาวที่สุด |
สั้นที่สุด |
ปานกลาง |
ผู้ป่วยที่ควรใช้ |
เคยมีการตกไข่ที่ยังไม่เจริญ |
มีภาวะ PCOS มีระดับ AMH และ AFC สูง เคยมีการสร้างไข่จำนวนมาก ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน |
ผู้มีการตอบสนองต่ำ ใช้แนวทางอื่นแล้วไม่ได้ผล |
การใช้ตัวยาเสริมในการรักษา
มียาหลายชนิดที่แพทย์อาจให้เพิ่มเติมในช่วงเริ่มต้นการทำ IVF เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จ เช่น
- การใช้เทสโทสเทอโรน (Testosterone)
แพทย์บางคนเชื่อว่าก่อนการให้โกนาโดโทรปิน หากผู้หญิงได้รับฮอร์โมนกลุ่มแอนโดรเจน เช่น เทสโทสเทอโรน (มักใช้ในรูปแบบแผ่นแปะหรือเจลทา) จะช่วยให้ฟอลลิเคิลตอบสนองต่อโกนาโดโทรปินได้ดีขึ้น - การใช้โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)
มีการศึกษาค่อนข้างชัดเจนเรื่องการใช้โกรทฮอร์โมนในผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่ำก่อนการให้โกนาโดโทรปิน การวิเคราะห์จาก 6 งานวิจัยในกลุ่มตัวอย่างเล็กๆ พบว่าอัตราการคลอดทารกที่มีชีวิตรอดเพิ่มขึ้น
ที่มาของข้อมูล
Ovarian Stimulation Protocols (https://www.fertilityiq.com/courses/ivf-in-vitro-fertilization/ovarian-stimulation-protocols-an-introduction#why-stimulate-the-ovaries)
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!