กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความสำเร็จในการทำ IVF

มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำ IVF ซึ่งบางปัจจัยก็อาจทำให้การทำ IVF ไม่ประสบความสำเร็จเลย ซึ่งก็อาจจะต้องมีการรับบริจาคไข่และอสุจิทดแทนเพื่อให้มีบุตรได้
เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความสำเร็จในการทำ IVF

มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำ IVF ซึ่งบางปัจจัยก็อาจทำให้การทำ IVF ไม่ประสบความสำเร็จเลย ซึ่งก็อาจจะต้องมีการรับบริจาคไข่และอสุจิทดแทนเพื่อให้มีบุตรได้

ความสำเร็จในการทำ IVF (In Vitro Fertilization) หรือการรักษาภาวะมีบุตรยาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างดังต่อไปนี้

  1. ผลกระทบจากอายุของผู้หญิง
    โอกาสที่การทำ IVF ในรอบนั้นจะสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับอายุของผู้หญิงซึ่งเป็นเจ้าของไข่ที่ใช้ทำ IVF จากแผนภูมิด้านล่างนี้ คืออัตราความสำเร็จในการทำ IVF ในคลินิกกว่า 95% ทั่วอเมริกา ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การทำ IVF ในแต่ละรอบมีโอกาสล้มเหลวสูง แม้แต่ในผู้ป่วยที่อายุน้อยและแข็งแรงที่สุด ยิ่งทำเมื่ออายุมาก โอกาสล้มเหลวก็จะยิ่งมากขึ้น เช่น หากตัดสินใจทำ IVF ช้าไปสัก 7 ปี โอกาสสำเร็จที่เคยมีครึ่งต่อครึ่งก็อาจลดลงเหลือแค่ 2 - 4% เท่านั้น

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  2. ผลจากไข่และเชื้ออสุจิที่ได้จากการบริจาค
    หลายคนอาจผิดหวังที่ไม่ได้ใช้ไข่หรืออสุจิของตัวเองในการปฏิสนธิ แต่การทำ IVF โดยใช้ไข่และเชื้ออสุจิจากผู้บริจาค จะช่วยให้อัตราความสำเร็จเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่นเดียวกับการใช้แม่อุ้มบุญ จะช่วยให้อัตราความสำเร็จในการทำ IVF แต่ละรอบสูงถึง 70% (ควรศึกษากฎหมายเรื่องการอุ้มบุญเพิ่มเติมด้วย)

  3. ผลกระทบจากความผิดปกติของผู้ป่วย
    ความผิดปกติทางร่างกายของผู้ป่วย (เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ และปัจจัยจากเพศชาย) อาจมีผลต่อความสำเร็จในการทำ IVF ได้ เพียงแต่ไม่มากอย่างที่คิด ซึ่งข้อมูลด้านล่างนี้รวบรวมมาจากอัตราความสำเร็จในการทำ IVF ในผู้ที่มีความผิดปกติที่ทำให้มีบุตรยากทั้งหมด 8 ภาวะ จะเห็นว่า 6 ใน 8 ภาวะนี้ มีอัตราความสำเร็จต่างกันไม่เกิน 5% เท่านั้นในแต่ละช่วงอายุ

  4. ภาวะสภาพรังไข่ต่ำ (Diminished Ovarian Reserve; DOR): ผู้หญิงที่มีจำนวนไข่ในรังไข่น้อยก็สามารถรักษาด้วยการทำ IVF ได้เช่นกัน แต่อาจจะต้องทำ IVF หลายรอบเพื่อให้สร้างไข่ได้มากพอ และให้มีไข่อย่างน้อย 1 ใบที่เจริญเป็นเอ็มบริโอที่มีโครโมโซมปกติ
  5. ความผิดปกติรุนแรงในระบบสืบพันธุ์เพศชาย: ในกรณีที่ผู้ชายไม่มีเชื้ออสุจิเลย โดยไม่มีการอุดตันของท่ออสุจิ (Non-Obstructive Azoospermia (NOA)) อัตราความสำเร็จในการทำ IVF จะต่ำ ในกรณีนี้ แพทย์อาจทำการผ่าตัดเพื่อเก็บเชื้ออสุจิจากอัณฑะ และใช้การปฏิสนธิแบบวิธี ICSI แม้อัตราความสำเร็จจะต่ำ แต่การทำ IVF ในคู่ที่ผู้ชายมีภาวะ NOA ก็สามารถเกิดการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน
  6. ความผิดปกติภายในมดลูก: การที่ผู้หญิงจะตั้งครรภ์ได้ เอ็มบริโอต้องเข้าไปฝังตัวที่มดลูกเพื่อเจริญเติบโต ถ้าหากเกิดความผิดปกติที่ทำให้เอ็มบริโอฝังตัวที่มดลูกไม่ได้และไม่ได้ทำการรักษา การทำ IVF ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย

เกิดการแท้งบุตรซ้ำ

หากเคยเกิดการแท้งบุตรมาแล้วหลายครั้ง โดยที่ยืนยันได้ว่าเอ็มบริโอนั้นมีโครโมโซมปกติ (เช่น มีการตรวจทางพันธุกรรมในเอ็มบริโอก่อน หรือมีการตรวจพันธุกรรมในตัวอ่อนหลังแท้ง) การทำ IVF ซ้ำก็อาจไม่ได้ผล หากไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดและไม่ได้ทำการรักษาก่อน

ในกรณีนี้แพทย์มักแก้ปัญหาโดยการใช้ไข่และอสุจิจากการบริจาค หรือใช้แม่อุ้มบุญเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ แต่ต้องตรวจสอบข้อกฎหมายเกี่ยวกับการอุ้มบุญในแต่ละประเทศด้วย

ที่มาของข้อมูล

IVF Success Rates (https://www.fertilityiq.com/courses/ivf-in-vitro-fertilization/ivf-success-rates#the-impact-of-female-age)


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Things to Know Before You Start Monitoring During IVF. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/before-you-start-monitoring-during-an-ivf-cycle-2616444)
Understanding the IVF Process Step-by-Step. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/understanding-ivf-treatment-step-by-step-1960200)
What to Expect During Early IVF Pregnancy. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/ivf-pregnancy-1960218)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)