กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การใช้ยา Retin-A (Tretinoin) ในระหว่างตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่?

คุณกำลังรับประทานยา Retin-A แล้วเพิ่งพบว่าตั้งครรภ์ใช่หรือไม่? ถ้าใช่ นี่คือสิ่งที่คุณควรทำ...
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การใช้ยา Retin-A (Tretinoin) ในระหว่างตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่?

คิดภาพว่าคุณกำลังรับประทานยา Retin-A (หรือที่รู้จักกันในชื่อ Tretinoin) เพื่อรักษาสิว คุณพอใจกับผลที่ได้และการรักษา จนกระทั่งวันหนึ่งมีแถบ 2 ขีดขึ้นบนชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์...

ยา Retin-A ปลอดภัยที่จะใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่?

Retin-A ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Category C ขององค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งหมายความว่ายังไม่มีการศึกษาเรื่องการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์ที่มากพอ ดังนั้นถึงแม้ว่า Retin-A จะไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าปลอดภัยแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ปลอดภัยเช่นกัน Retin-A และยาทา Tretinoin อื่นๆ เช่น Retin-A Micro, Renova และ Avita เป็นยาที่เป็นอนุพันธ์ของวิตามิน A ซึ่งการรับประทานวิตามิน A ในปริมาณที่มากนั้นอาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานทางการวิจัยที่กล่าวถึงการได้รับยาดังกล่าวในรูปแบบทา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่ฉันใช้ Retin-A มาตลอดแล้วเพิ่งรู้ว่าตั้งครรภ์นะ!

สิ่งแรกที่ควรทำคือ หยุดการใช้ยา Retin-A และรีบไปพบแพทย์ อย่างที่สองก็คือ อย่าวิตกจนเกินไป เพราะถึงแม้ว่า Retin-A จะไม่แนะนำให้ใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณมีการใช้ยา Retin-A มาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีความเป็นไปได้มากที่ทารกจะไม่ได้รับผลกระทบจากการใช้ยา เพราะในความเป็นจริง Retin-A ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยมาก และด้วยปริมาณดังกล่าวจึงไม่น่ามีผลกระทบต่อทารกที่กำลังเจริญเติบโต

การศึกษาล่าสุดในเรื่องนี้ กล่าวว่า ความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของทารกในกลุ่มมารดาที่ใช้ยา Tretinoin แบบทาในช่วงแรกของการตั้งครรภ์กับกลุ่มมารดาที่ไม่ได้ใช้ยานั้นไม่ได้ต่างกัน สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก็คือ ยา Tretinoin รูปแบบทานั้นแตกต่างจาก Tretinoin และ Isotretinoin ในรูปแบบกินอย่างสิ้นเชิง การรับประทานยา Tretinoin นั้นจะถูกเปลี่ยนไปอยู่ใน Category D ทันที ซึ่งหมายความว่ายาในกลุ่มนี้มีหลักฐานว่าสามารถส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของทารกได้

Isotretinoin หรือที่รู้จักกันในชื่อ Accutane ถูกจัดให้อยู่ใน Category X โดยยานี้สามารถทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกอย่างรุนแรงได้และไม่ควรมีการใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์โดยสิ้นเชิง เห็นได้ชัดว่าคุณต้องเพิ่มความใส่ใจเกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานระหว่างที่คุณตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบกินหรือทาก็ตาม ดังนั้นถ้าคุณพบว่าตั้งครรภ์ขณะที่ใช้ Retin-A ให้หยุดยาและแจ้งให้แพทย์ทราบ

สภาพผิวหนังของคุณขณะนั้นจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการพิจารณาวิธีการรักษาในช่วงถัดไป ผู้หญิงบางคนอาจมีผิวพรรณที่ดีขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ แต่กับบางคนแล้วการตั้งครรภ์ทำให้เป็นสิวมากขึ้นและแย่ลงกว่าเดิม หากคุณเป็นแบบที่สองอาจจะต้องพิจารณารักษาสิวต่อในระหว่างที่ตั้งครรภ์

ทางเลือกที่ดีกว่าในการรักษาสิวสำหรับหญิงตั้งครรภ์

เนื่องจาก Retin-A ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าเป็นวิธีการรักษาสิวที่เหมาะสมในหญิงตั้งครรภ์ แพทย์จึงมักแนะนำให้หยุดการใช้ยานี้ตลอดช่วงการตั้งครรภ์ และถึงแม้ว่าจะไม่ใช้ Retin-A แต่ก็ยังคงมียาอีกหลายตัวที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยระหว่างการตั้งครรภ์ คุณสามารถสอบถามแพทย์เพื่อให้แพทย์แนะนำวิธีการรักษาที่ปลอดภัยแบบอื่นได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Drugs.com. Last updated, Tretinoin (https://www.drugs.com/pro/tretinoin.html), Sep 1, 2019.
Browne H, Mason G, Tang T. Retinoids and pregnancy: an update. The Obstetrician Gynaecologist. 2014;16(1):7-11. doi:10.1111/tog.12075 (https://doi.org/10.1111/tog.12075)
Loureiro KD, Kao KK, Jones KL, et al. Minor malformations characteristic of the retinoic acid embryopathy and other birth outcomes in children of women exposed to topical tretinoin during early pregnancy. American Journal of Medical Genetics Part A. 2005;136A(2):117-121. doi:10.1002/ajmg.a.30744 (https://doi.org/10.1002/ajmg.a.30744)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)