กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ผิดปกติไหมถ้าน้ำนมไหลระหว่างตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ผิดปกติไหมถ้าน้ำนมไหลระหว่างตั้งครรภ์

หากคุณกำลังตั้งครรภ์ ไม่เพียงเฉพาะหน้าท้องเท่านั้นที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง โปรดเตรียมใจไว้เลยว่าหน้าอกหรือเต้านมของคุณก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าทึ่งเช่นกัน 

โดยคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หลายคนอาจมีภาวะ "น้ำนมเหลือง (Colostrum)" หรืออาจเรียกว่า “น้ำนมแรก (Premilk)” ไหลออกจากเต้านมได้ โดยปกติจะเกิดขึ้นในช่วงสามเดือนสุดท้ายก่อนคลอด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเป็นภาวะปกติของการตั้งครรภ์ เพียงแค่คุณแม่คนใดมีภาวะน้ำนมไหล ก็อาจจำเป็นต้องใช้แผ่นซับน้ำนมบริเวณเต้าของชุดชั้นในเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดคราบเลอะเสื้อผ้า ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา ห้างสรรพสินค้าทั่วไป

น้ำนมเหลืองมีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองข้น มีส่วนประกอบของสารภูมิต้านทาน (Antibodies) ซึ่งช่วยปกป้องทารกแรกเกิดจากการติดเชื้อ ช่วยให้ทางเดินอาหารของลูกน้อยแข็งแรง ป้องกันภาวะตัวเหลืองหลังคลอด ป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ นอกจากนี้มันยังอุดมไปด้วยโปรตีน เกลือ ไขมัน ที่มีประโยชน์ และสามารถย่อยได้ง่าย

หากคุณแม่เลือกให้นมลูกเอง ของเหลวที่มีคุณค่านี้จะช่วยบำรุงลูกน้อย และได้สารอาหารครบถ้วน ในปริมาณที่ลูกน้อยต้องการในช่วง 2-5 วันแรกหลังคลอดจนกว่าน้ำนมปกติจะมา 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Genevieve Howland, Colostrum: The Mind-Blowing Superfood for Your Baby (https://www.mamanatural.com/colostrum/), 31 January 2019
Colostrum – The Superfood For Your Newborn (http://americanpregnancy.org/b...), 5 May 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม