กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ทารกในครรภ์สะอึก ผิดปกติหรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ทารกในครรภ์สะอึก ผิดปกติหรือไม่

การที่ทารกในครรภ์สะอึกเป็นเรื่องปกติมาก ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของกะบังลมทารก คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ก็รู้สึกได้ และอาการดังกล่าวยังสามารถสังเกตพบได้จากการตรวจอัลตราซาวด์

ลูกน้อยอาจเริ่มสะอึกได้ตั้งแต่ช่วงเดือนที่สามหรือสี่ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ตอนนั้นคุณแม่อาจยังแยกแยะไม่ออกว่านั่นคือการสะอึกหรือการเตะถีบของลูกกันแน่ เพราะจะออกมาเป็นอาการกระตุกเบาๆ คล้ายกัน แต่ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่าทารกสะอึกจะเป็นจังหวะมากกว่าการเตะถีบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ไม่ค่อยมีใครทราบว่าเพราะเหตุใดทารกในครรภ์จึงสะอึก มีเพียงทฤษฎีหนึ่งบ่งชี้ว่า การสะอึกอาจเป็นวิธีที่ทารกควบคุมปริมาณของเหลวในถุงน้ำคร่ำ โดยแรงดันจากการสะสมของน้ำคร่ำจะกระตุ้นให้เกิดอาการสะอึก ส่งผลให้ทารกกลืนน้ำคร่ำส่วนเกินลงไป

นอกจากนี้ ทารกแรกเกิดก็สะอึกได้เช่นกัน ดังนั้นคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจหากลูกน้อยสะอึกบ้างเป็นครั้งคราว แต่หากรู้สึกว่าทารกสะอึกมากผิดปกติ ก็ควรมาพบคุณหมอที่ฝากครรภ์เพื่อตรวจเพิ่มเติม 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Christin Perry, When Baby Has the Hiccups in the Womb (https://www.thebump.com/a/does-baby-have-hiccups)
Ashley Marcin, My Baby Hiccups in the Womb: Is This Normal (https://www.healthline.com/hea...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม