ผู้ที่มีอาการหลับๆ ตื่นๆ ผิดปกติ มักจะนอนหลับได้เพียง 1-4 ชั่วโมงต่อครั้ง และจะมีการหลับหลายครั้งในเวลา 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้ถือว่าอยู่ในกลุ่มพักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะพวกเขาได้หลับเพียงพอต่อวัน เพียงแต่การนอนหลับของพวกเขาจะกระจายไปหลายช่วงในระยะเวลา 24 ชั่วโมงแทนที่จะต่อเนื่องกัน 7-8 ชั่วโมง ซึ่งผู้ที่มีปัญหานี้จะนอนไม่หลับในช่วงที่ต้องนอน และง่วงซึมระหว่างวัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สาเหตุของกลุ่มอาการหลับๆ ตื่นๆ
สาเหตุของการนอนไม่หลับที่ผิดปกตินี้ คือ การสูญเสียนาฬิกาชีวิตที่คุมอยู่ในร่างกายไปเกือบทั้งหมด จึงไม่มีสิ่งช่วยควบคุมช่วงเวลาการตื่นนอน และการนอนหลับ
หากไม่มีการกำหนดกิจวัตรประจำวันให้ชัดเจน หรือทำกิจกรรมเปลี่ยนเวลาสับไปมาตลอด บ่งบอกว่าคุณมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นกลุ่มอาการหลับๆ ตื่นๆ ผิดปกติ
แม้ความชุกของกลุ่มอาการหลับๆ ตื่นๆ จะเพิ่มขึ้นตามอายุ แต่อายุก็ไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญ เพราะสิ่งที่ทำให้เพิ่มขึ้นจริงๆ แล้ว คือโรคประจำตัวทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นตามวัย รวมถึงโรคทางระบบประสาทและโรคทางจิตเวช ก็มีส่วนร่วมในการพัฒนากลุ่มอาการดังกล่าว
มีปัจจัยบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาการนอนไม่หลับ แต่สามารถขัดขวางวงจรการนอนและตื่น หรือนาฬิกาชีวิตได้ โดยปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่
- การทำงานแบบกะ เช่น การสลับการทำงานระหว่างกะกลางวันและกะกลางคืน
- การเดินทางบ่อยครั้งผ่านเขตเวลา (Time Zone) ที่แตกต่างกัน
เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์
การนอนและการตื่นในช่วงเวลาที่ไม่ปกติ รวมถึงการนอนได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เป็นบางครั้งคราวนั้นไม่ใช่เรื่องฉุกเฉินทางการแพทย์ แต่ถ้าเริ่มพบความผิดปกติจากการนอนไม่หลับเป็นประจำ โดยไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าอาจเกิดจากโรคใดบ้าง กรณีนี้เป็นสิ่งที่ควรต้องไปพบแพทย์โดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดผลเสียต่อร่างกายตามมา
การวินิจฉัยกลุ่มอาการหลับๆ ตื่นๆ
แพทย์จะซักถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนหลับช่วงล่าสุด และอาจให้จดบันทึกการนอนหลับ พร้อมกับใช้นาฬิกาจับความเคลื่อนไหว (Actigraph) เพื่อช่วยวินิจฉัยอาการนอนไม่หลับผิดปกติ โดยจะมีการบันทึกการนอนหลับอย่างน้อย 7 วัน เพื่อที่แพทย์จะตรวจสอบว่ามีช่วงนอนหลับแล้วตื่นอย่างน้อยสามรอบภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหรือไม่ เพื่อจะได้วินิจฉัยอาการอย่างแม่นยำต่อไป
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การรักษากลุ่มอาการหลับๆ ตื่นๆ
มีการบำบัดและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลายวิธี ที่สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้นานขึ้นในเวลากลางคืนและเพิ่มความตื่นตัวในระหว่างวัน เช่น
- การควบคุมแสงในห้องนอน ผู้ป่วยควรได้รับแสงจ้านานมากขึ้นเพื่อช่วยให้ตื่นตัวระหว่างวัน ส่วนในเวลากลางคืนให้ป้องกันตนเองจากแสงสีน้ำเงินที่มาจากหน้าจอโทรทัศน์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ และหน้าจอคอมพิวเตอร์
- การได้รับเมลาโทนินเสริม เพื่อช่วยให้ร่างกายเกิดความผ่อนคลาย และนอนหลับได้ดีมากขึ้น
- สร้างกิจวัตรประจำวันที่มีแบบแผนมากขึ้น รวมถึงการกำหนดเวลาการเข้าสังคม การออกกำลังกาย และกิจกรรมอื่น ๆ
- ทำให้สภาพแวดล้อมในห้องนอนผ่อนคลายและสบายที่สุด
- ลดปริมาณเสียงรบกวนในช่วงการนอนหลับ
ที่มาของข้อมูล
Krista O’Connell, Irregular sleep-wake syndrome (https://www.healthline.com/health/irregular-sleep-wake-syndrome), August 31, 2016.