ติ่งเนื้อในลำไส้ (Bowel polyps) เป็นติ่งที่โตขนาดเล็กขึ้นมาบนผนังเยื่อบุชั้นในของลำไส้ใหญ่ (colon หรือ large bowel) หรือลำไส้ตรง (rectum) ภาวะนี้พบได้บ่อยมากและมักจะเป็นภาวะที่ไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ
ติ่งเนื้อมักจะมีขนาดเล็กกว่า 1cm แต่ก็สามารถโตขึ้นจนมีขนาดหลายเซนติเมตรก็ได้ อีกทั้งยังมีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป: บ้างเป็นตุ่มขนาดเล็ก เรียกกันว่าติ่งเนื้อชนิดไม่มีก้าน (sessile polyp) บ้างก็ดูคล้ายกับลูกองุ่นบนก้าน เรียกกันว่าติ่งเนื้อชนิดมีก้าน (pedunculated polyp) บ้างก็อาจมีรูปร่างเหมือนกระจุกตุ่มที่รวมตัวเข้าด้วยกัน
ติ่งเนื้อในลำไส้ไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หากแพทย์ตรวจพบติ่งเหล่านี้ พวกเขาจะแนะนำให้คุณผ่าออกเพราะในบางกรณีติ่งที่ไม่ได้รับการรักษาก็สามารถกลายไปเป็นเนื้อร้ายได้
บางคนจะภาวะติ่งเนื้อนี้เพียงแค่ติ่งเดียว แต่หลายคนอาจจะเป็นพร้อมกันหลายติ่งก็ได้ และมักจะเกิดขึ้นบ่อยกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
ภาวะติ่งเนื้อในลำไส้เกิดจากอะไร?
ติ่งเนื้อในลำไส้เกิดมาจากกระบวนการผลิตเซลล์ที่ผิดปกติ ผนังเยื่อบุลำไส้ใหญ่คอยฟื้นฟูตัวเองเรื่อย ๆ โดยจะมียีนที่ผิดปรกติเป็นตัวการที่ทำให้เซลล์เติบโตขึ้นมาบนผนังเยื่อบุเร็วเกินไป
ภาวะผิดปรกติเช่นนี้อาจมีแนวโน้มมาจากสายครอบครัวที่ทำให้มีโอกาสต่อภาวะติ่งเนื้อหรือมะเร็งในลำไส้ใหญ่มากขึ้นก็เป็นได้
อาการของภาวะติ่งเนื้อในลำไส้มีอะไรบ้าง?
ผู้ป่วยภาวะติ่งเนื้อในลำไส้ส่วนมากจะไม่ตระหนักถึงภาวะนี้เนื่องจากไม่ประสบกับอาการใด ๆ และการค้นพบส่วนมากมักจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญเสียมากกว่า
อย่างไรก็ตาม หากติ่งเนื้อดังกล่าวมีขนาดใหญ่ อาจทำให้เกิด: เลือดออกในลำไส้ตรงเล็กน้อย (มีเลือดปนอุจจาระ) มีเมือกขับออกมาจากทวารขณะที่คุณเปิดลำไส้ใหญ่ ท้องร่วงหรือท้องเสีย ปวดท้อง
สามารถตรวจพบภาวะติ่งเนื้อในลำไส้ได้อย่างไร?
ภาวะติ่งเนื้อในลำไส้มักจะถูกตรวจพบระหว่างการตรวจสอบลำไส้ด้วยเหตุผลอื่น ๆ อย่างเช่นระหว่างการตรวจสอบลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) หรือระหว่างการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
หากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อขนาดใหญ่ จะต้องมีการส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) หรือการสแกน CT เพื่อดูส่วนของลำไส้ใหญ่ทั้งหมดและทำการกำจัดติ่งเนื้อออก
ภาวะติ่งเนื้อในลำไส้รักษาอย่างไร?
มีหลากหลายวิธีที่ใช้เพื่อรักษาภาวะติ่งเนื้อ แต่ส่วนมากมักจะเป็นการรัดบ่วง (snaring) ติ่งระหว่างกระบวนการส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) การใช้บ่วงดังกล่าวจะเฉือนติ่งเนื้อออกจากเยื่อบุโดยที่ไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ
วิธีการข้างต้นจะเป็นการใช้เครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นสูงเข้าไปในทวารหนักขึ้นไปถึงลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า colonoscope โดยอุปกรณ์นี้จะมีสายลวดที่มีกระแสไฟฟ้าใช้เฉือนติ่งเนื้อออก
กรณีหายาก ติ่งเนื้ออาจต้องถูกรักษาด้วยการผ่าตัดออกพร้อมกับส่วนของลำไส้ กระบวนการนี้มักจะดำเนินการเมื่อติ่งเนื้อมีการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์หรือมีความใหญ่เป็นพิเศษ
หลังจากกำจัดติ่งเนื้อออกแล้ว แพทย์จะส่งตัวอย่างชิ้นเนื้อที่นำมาไปยังห้องปฏิบัติการณ์ โดยคุณอาจต้องไปขอรับคำปรึกษาหากว่า: ติ่งเนื้อถูกกำจัดออกทั้งหมดแล้ว มีความเสี่ยงที่ติ่งเนื้อจะงอกกลับมา มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเซลล์เนื้อร้ายของติ่งเนื้อนั้น ๆ
หากติ่งเนื้อมีร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงที่จะกลายเป็นเซลล์เนื้อร้าย คุณจำต้องเข้ารับการรักษาต่อ ๆ ไปขึ้นอยู่กับระดับและขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงที่ตรวจพบ โดยผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ให้คำแนะนำคุณต่อไป
ความคาดหวังที่มีต่อภาวะติ่งเนื้อในลำไส้
ผู้ป่วยหลายรายจำต้องเข้ารับการสอดกล้องคัดกรองหลาย ๆ ครั้งเพราะมีติ่งเนื้อกลับมา ภาวะติ่งเนื้อยังเป็นภาวะที่สืบทอดส่งกันในสายครอบครัว ซึ่งแม้จะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้คุณควรเข้ารับการตรวจคัดกรองลำไส้ตามช่วงเวลาที่กำหนด