กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะความดันโลหิตสูงกว่าปกติในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจในภายหลัง

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะความดันโลหิตสูงกว่าปกติในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจในภายหลัง

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้นหรือที่เรียกว่ากลุ่ม prehypertension นั้นจะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจในภายหลัง

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American College of Cardiology ได้กล่าวว่าผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติเล็กน้อยในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นนั้นมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจในภายหลัง โดยงานวิจัยนี้ได้ติดตามผู้เข้าร่วมวิจัยนานถึง 25 ปีและทำการตรวจติดตามสุขภาพของผู้เข้าร่วมวิจัยเช่นการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะรวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง และในช่วงก่อนจบการศึกษามีการตรวจทางภาพวินิจฉัยของหัวใจ จากการศึกษาดังกล่าว นักวิจัยพบว่าผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติเพียงเล็กน้อย (120/80 – 139/89) ในขณะที่อายุน้อยกว่า 30 ปีนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดปกติที่หัวใจโดยเฉพาะหัวใจห้องล่างซ้ายเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แล้วแพทย์จะต้องทำอย่างไร?

ในช่วงก่อนหน้านี้ ภาวะความดันโลหิตสูงหมายถึงการมีความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 ขึ้นไป แต่ในช่วงว 20 ปีที่ผ่านมา พบกว่าการมีระดับความดันโลหิตสูงกว่า 120/80 นั้นมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดสมองอุดตันที่เพิ่มขึ้น

ดังนั้นจึงมีการเรียกกลุ่มผู้ที่มีความดันอยู่ระหว่าง 120/80 และ 139/89 ว่า prehypertension

งานวิจัยนี้ได้กล่าวว่ากลุ่ม prehypertension นี้จะเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่หัวใจในภายหลัง โดยความผิดปกติดังกล่าวนั้นเห็นจากการทำ echocardiogram แต่คนส่วนใหญ่มักจะยังไม่มีอาการที่แสดงถึงความผิดปกติ

ฉันสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง?

คุณควรไปตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำแม้ว่าคุณจะมีความดันโลหิตต่ำกว่า 120/80 ก็ตามอย่างน้อยปีละครั้ง และอย่าทิ้งห่างกันเกินกว่า 2 ปี

คุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ ในปัจจุบันร้านขายยาบางแห่งมีบริการวัดความดันโลหิตฟรี

หากความดันโลหิตของคุณเกิน 120/80 คุณควรเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของคุณทันที เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาที่หัวใจและโรคเส้นเลือดสมองอุดตันได้เช่นกัน

หากคุณสูบบุหรี่ คุณควรเลิกสูบบุหรี่เป็นลำดับแรก นอกจากนั้นการรับประทานอาหารที่ดีและการออกกำลังกายก็ช่วยให้ความดันโลหิตของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติเช่นกัน

• คุณควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
• รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ และมันฝรั่งไม่นับว่าเป็นผัก
• อาหารอีกครึ่งหนึ่งนั้นควรทำมาจากโปรตีนที่มีประโยชน์หรือคาร์โบไฮเดรตจากธัญพืช
• ลดการรับประทานเกลือและใช้เกลือให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
• ดื่มน้ำเปล่าแทนการดื่มน้ำอัดลม
• ทำร่างกายให้ตื่นตัวอยู่เสมอตลอดทั้งวัน
• ออกกำลังกายระดับปานกลางอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน

แล้วอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต?

ผู้ที่อยู่ในกลุ่ม prehypertension บางคนอาจจะได้รับประโยชน์จากการเริ่มกินยาลดความดันซึ่งในปัจจุบันยังไม่รู้ว่ายาตัวใดที่จะได้ผลดีที่สุด และงานวิจัยในอนาคตอาจเน้นไปที่การหาพันธุกรรมและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่จะทำให้เป็นโรคนี้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Raised blood pressure. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/gho/ncd/risk_factors/blood_pressure_prevalence_text/en/)
High Blood Pressure in Young Adults, Teens. Healthline. (https://www.healthline.com/health-news/high-blood-pressure-ignored)
High blood pressure (hypertension). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/high-blood-pressure-hypertension/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

หากอยากรู้ว่า อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นไหน ทำงานอย่างไร ต้องไม่พลาดบทความนี้

อ่านเพิ่ม
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต

โรคไตสามารถป้องกันได้ หากรู้จักและเข้าใจอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม