การเก็บยาทั่วไป

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การเก็บยาทั่วไป

เก็บยาทั่วไปอย่างไรไม่ให้เสื่อมสภาพ?

สำหรับ “ยาทั่วไป” ที่ไม่มีการระบุให้เก็บแช่เย็นนั้น ก็ให้เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส หรือยาบางรายการก็จะระบุให้เก็บในอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิห้องปกติที่ไม่ถูกแสงแดดส่อง หรือใกล้ความร้อน 

อีกทั้งหลีกเลี่ยงการเก็บในบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ห้องน้ำ เนื่องจากปัจจัยที่ส่งผลต่อความคงตัวของยาได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น และแสง การเก็บรักษายาทั่วไปขณะเดินทาง ควรต้องหลีกเลี่ยงจาก 3 ปัจจัยดังกล่าวเช่นกัน

หลีกเลี่ยงการเก็บในที่อุณหภูมิสูงเกินที่กำหนด 

เช่น ในรถยนต์ค่ะ ซึ่งหากใครเคยนั่งอยู่ในรถยนต์ที่จอดไว้โดยไม่เปิดแอร์ หรือลดกระจกรถลง ก็คงจะรู้สึกคล้าย ๆ ว่าจะระลึกชาติถึงการเป็นไก่ถูกอบได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าใครจะแอบเถียงอยู่ในใจว่า 

เพราะฉะนั้น หากจำเป็นต้องเก็บยาขณะเดินทาง จะเห็นได้ว่าการวางยาในรถโดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่ร้อนเช่นใกล้เครื่องยนต์หรือถูกแสงแดด และเปิดแอร์ในรถ ก็พอจะทำได้ค่ะ แต่เมื่อถึงจุดหมายปลายทางก็ให้นำยาไปเก็บในที่ที่เหมาะสม ไม่ควรวางยาทิ้งไว้ในรถต่อนะคะ 

ก็คุณเภสัชกรบอกว่าไม่ให้เก็บในที่ร้อนไง ป้าก็เลยคิดว่าจะเอาไปแช่เย็นซะเลย เจ๋งไหมล่ะความคิดของป้า

หลีกเลี่ยงการเก็บยาที่ที่มีความชื้น 

การนำยาที่ไม่จำเป็นต้องแช่เย็นไปไว้ในตู้เย็น ก็เหมือนกับหนีเสือปะจระเข้ …หนีความร้อนไปหาความชื้น ยาก็เสื่อมสภาพได้เช่นกันค่ะ

จากการตรวจสอบยาเดิมที่ผู้ป่วยนำมาคืนเมื่อมาพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ดิฉันเคยพบอยู่ในบางครั้งว่าญาติผู้ป่วยที่ประสงค์ดี กลัวผู้ป่วยจะรับประทานยาผิดขนาดหรือไม่สะดวกในการรับประทานยา โดยเฉพาะยาที่ต้องหักแบ่งรับประทานครั้งละครึ่งเม็ด ก็เลยแกะยาออกจากแผงมาหักแบ่งไว้ให้เสร็จสรรพหมดทั้งซอง ดิฉันเห็นแล้วก็อยากจะชื่นชมในความหวังดีนะคะ แต่มันแสนจะปวดใจเมื่อคิดว่าโรงพยาบาลอุตส่าห์จัดซื้อยาแบบแผงซึ่งมักมีราคาแพงกว่ายาตัวเดียวกันที่เป็นเม็ดเปลือย เพื่อหวังว่าจะช่วยป้องกันแสงและความชื้นเวลาที่ผู้ป่วยนำยากลับบ้านไป แต่มาแกะออกทีเดียวหมดเนี่ย… ทำใจยากจัง 

อันที่จริง ความหวังดีนี้เป็นสิ่งที่ดีนะคะ แต่ปรับนิดหน่อยเพื่อความเหมาะสมเถอะค่ะ เช่น แทนที่จะหักแบ่งเม็ดยาทีเดียวหมด เปลี่ยนเป็นหักแบ่งไว้ล่วงหน้าครั้งละเม็ด หรือ 2-3 เม็ดจะดีกว่านะคะ ลดระยะเวลาที่ยาอาจสัมผัสแสงหรือความชื้นไปได้เยอะเชียวล่ะ 

นอกจากนี้เวลาเก็บยาก็ควรปิดซองยาให้สนิทด้วยค่ะ และเผื่อจะเป็นการเดินทางหรือการเก็บยาในช่วงฤดูฝน ก็น่าจะเก็บยาพ้นจากละอองฝนด้วย (อย่าขำว่าดิฉันก็ว่าไปเรื่อยนะคะ …ถ้าคุณผู้อ่านมาเห็นสภาพยาเดิมที่ผู้ป่วยนำมาคืนแล้ว จะพบอะไร ๆ ที่คาดไม่ถึงได้มากเชียวค่ะ) 

เก็บยาให้พ้นแสง 

เนื่องจากแสงอาจเร่งให้ยาสลายตัวเร็วขึ้น ยกตัวอย่างในการเดินทางที่วางซองยาไว้ตะกร้าหน้ารถจักรยานยนต์ หรือบริเวณที่วางของหน้ารถยนต์ …อย่างนี้ไม่ควรไม่ควรทำนะคะ และในการเก็บยาที่บ้าน ควรเก็บในภาชนะบรรจุเดิมค่ะ เช่นแผงยา หรือขวดพลาสติก/ขวดสีชา เนื่องจากยาบางตัวเสื่อมง่ายเมื่อถูกแสง ผู้ผลิตจึงได้คิดค้นบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมมาเก็บรักษายาให้คงสภาพแล้ว การเปลี่ยนภาชนะบรรจุอาจทำให้ยาถูกเก็บในสภาวะที่ไม่เหมาะสมเช่นที่ผู้ผลิตต้องการได้ค่ะ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Management of Drugs at Health Centre Level - Training Manual: 4. Drug procurement: 4.10 Drug storage: 4.10.1 Proper drug storage. World Health Organization (WHO). (https://apps.who.int/medicinedocs/en/d/Js7919e/7.10.html)
Storing your medicines. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000534.htm)
Can I take my medicine abroad?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/medicines/can-i-take-my-medicine-abroad/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)